Page 111 - คู่มือช่วยเหลือผู้หญิงตั้งครรภ์ไม่พร้อม
P. 111

คุณสมบัติทางสังคมของผู้ขอรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม
            1.  เป็นครอบครัวที่สมบูรณ์ ครอบครัวอบอุ่น ความสัมพันธ์ในครอบครัวดี
            2.  ต้องมีสุขภาพสมบูรณ์ทั้งร่างกายและจิตใจ
            3.  ต้องมีฐานะการครองชีพที่มั่นคง มีทรัพย์สินและรายได้ที่แน่นอน ไม่มีหนี้สิน และมีปัญหาเรื่องค่าใช้จ่าย
               การเลี้ยงดูหรือสนับสนุนการศึกษาของเด็ก
            4.  ต้องมีที่อยู่อาศัยเป็นหลักแหล่ง ถูกสุขลักษณะ อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดี ไม่อยู่ห่างไกลจากชุมชนมากเกินไป
            5.  ต้องมีเวลาให้กับเด็กที่จะรับเป็นบุตรบุญธรรม ให้ความส�าคัญ และเอาใจใส่เด็กอย่างใกล้ชิด
            6.  ต้องมีเหตุผลในการขอรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมที่เหมาะสม ไม่เชื่อถือเรื่องโชคลาง รับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม
               อย่างเปิดเผยและจริงใจ ไม่ได้รับการคัดค้านจากสมาชิกในครอบครัว ญาติพี่น้อง
            7.  ต้องไม่มีบุตร  หรือเด็กในความอุปการะมากเกินไป  เพื่อให้บุตรบุญธรรมได้รับความรักและการเอาใจใส่
               อย่างเต็มที่
            8.  ไม่เคยมีประวัติกระท�าความผิดตามกฎหมาย หรือมีพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรง ต่อบุคคลอื่นหรือประพฤติ
               ผิดศีลธรรมและจารีตประเพณีอันดีงาม
            9.  ต้องมีวุฒิภาวะเหมาะสมที่จะอุปการะเลี้ยงดู อบรมสั่งสอนให้บุตรบุญธรรมประพฤติตนเป็นคนดี


            เอกสารประกอบการพิจารณาของฝ่ายผู้ขอและคู่สมรส
            1.  ส�าเนาบัตรประจ�าตัวประชาชน หรือ ส�าเนาบัตรข้าราชการ คนละ 1 ฉบับ
            2.  ส�าเนาทะเบียนบ้าน คนละ 1 ฉบับ
            3.  ส�าเนาทะเบียนสมรส 1 ฉบับ หรือส�าเนาทะเบียนการหย่า หรือส�าเนาใบมรณบัตร (กรณีคู่สมรสเสียชีวิต)
            4.  หลักฐานการเปลี่ยนชื่อหรือนามสกุล คนละ 1 ฉบับ
            5.  ใบรับรองแพทย์แสดงว่ามีร่างกายและจิตใจสมบูรณ์ คนละ 1 ฉบับ (ไม่เกิน 6 เดือน)
            6.  รูปถ่ายหน้าตรง ขนาด 2 นิ้ว เท่านั้น คนละ 1 รูป (ถ่ายไว้ไม่เกิน 6 เดือน)
            7.  หากผู้ขอมีบุตรอายุไม่ต�่ากว่า 15 ปี บุตรต้องมาลงนามยินยอมให้บิดามารดารับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมต่อ
               หน้าพนักงานเจ้าหน้าที่ และแนบส�าเนาบัตรประชาชนของบุตร คนละ 1 ฉบับ หากบุตรไม่สามารถมาลง
               นามได้ ให้ผู้ขอรับเด็กท�าบันทึกระบุเหตุผลที่บุตรไม่สามารถมาลงนามให้ความยินยอม และให้บุตรนั้นท�า
               บันทึกแสดงความยินยอมให้บิดามารดารับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม ต่อผู้ว่าราชการจังหวัด
            8.  หากคู่สมรสไม่ขอรับเด็กเป็นบุตรด้วย  คู่สมรสต้องมาลงนามแสดงความยินยอมให้ผู้ขอรับเด็กเป็นบุตร
               บุญธรรมฝ่ายเดียวต่อหน้าพนักงานเจ้าหน้าที่ ในกรณีที่คู่สมรสไม่อาจให้ความยินยอมเนื่องจากหายไปจาก
               ภูมิล�าเนา หรือถิ่นที่อยู่ และหาตัวไม่พบเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 1 ปี ต้องมีค�าสั่งอนุญาตของศาลแทนการให้
               ความยินยอมของคู่สมรสนั้น
            9.  กรณีผู้ขอรับเด็ก (มีสัญชาติไทย ไม่ได้ CITIZEN หรือ GREENCARD) ท�างานและอาศัยอยู่ต่างประเทศ
               ให้น�าส�าเนาหนังสือเดินทาง หนังสืออนุญาตท�างาน หนังสือรับรองการท�างานและรายได้ และท�าหนังสือ
               ขอความร่วมมือเยี่ยมบ้านในต่างประเทศโดยต้องระบุสถานทูต หรือสถานกงสุลไทยที่ใกล้ที่อยู่ของตน และ
               ยินยอมจ่ายค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดขึ้น ในการติดตามเยี่ยมบ้าน และติดตามการทดลองเลี้ยงดูเด็ก (กรณี
               ต้องทดลองเลี้ยงดูเด็กตามกฎหมาย)  ถึงผู้ว่าราชการจังหวัด  และอธิบดีกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ
               (หลักฐานที่เป็นภาษาต่างประเทศ ต้องแปลเป็นภาษาไทย โดยแปลอย่างถูกต้อง และได้รับการรับรอง)
            10. หากผู้ขอรับเด็กมีคู่สมรส ซึ่งไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน แต่อยู่กินร่วมกันฉันท์สามีภรรยา คู่สมรสนั้นไม่
               สามารถขอรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมร่วมได้  และต้องลงนามในเอกสารค�าร้องขอรับเด็ก  พร้อมมีเอกสาร
               หลักฐานดังกล่าวข้างต้น

            เอกสารประกอบการพิจารณาของบิดามารดาเด็ก
            1.  ส�าเนาบัตรประจ�าตัวประชาชนหรือส�าเนาบัตรข้าราชการ คนละ 1 ฉบับ
            2.  ส�าเนาทะเบียนบ้าน คนละ 1 ฉบับ
            3.  ส�าเนาทะเบียนสมรสหรือส�าเนาทะเบียนการหย่าและบันทึกการหย่าซึ่งระบุว่าฝ่ายใดเป็นผู้มีอ�านาจปกครอง
               บุตร หรือส�าเนาใบมรณบัตร (กรณีคู่สมรสเสียชีวิต) จ�านวน 1 ฉบับ
     108       คู่มือการช่วยเหลือผู้หญิงตั้งครรภ์ไม่พร้อมของศูนย์พึ่งได้
   106   107   108   109   110   111   112   113   114   115   116