Page 51 - งานนำเสนอ PowerPoint
P. 51
บทที่ บทที่ บทที่ บทที่ บทที่
1 2 3 4 5
การบ าบัดฟื้นฟูผู้ใช้ยาเสพติดโดยชุมชนเป็น าน (Community Based Treatment : CBTx) (9)
ชุมชนถือเป็นฐานที่มั่นทางยุทธศาสตร์ที่ส าคัญในการจัดการสุขภาพประชาชน (Population Health) การสาธารณสุขมูลฐาน
เป็นเครื่องมือที่ส าคัญในการบูรณาการให้รอบด้านครอบคลุมทุกมิติด้านสุขภาพด้านระบบการดูแลสุขภาพ (Health care system) ของ
ประชาชนกลุ่มนั้น ๆ แต่อาจมีผลไม่มากนักต่อการจัดการสุขภาพในภาพรวม ควรจะต้องพิจารณาให้ครอบคลุมถึงปัจจัยทางสังคม
อื่น ๆ ที่ผลต่อสุขภาพ (Social Determinant of Health) และโดยเฉพาะอย่างยิ่งประเด็นสุขภาพด้านการติดยาเสพติดที่มีเหตุปัจจัย
และความสัมพันธ์โดยตรงทั้งด้านร่างกาย จิตและสังคม และถือเป็นแนวทางปฏิบัติในการบ าบัดรักษาและการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยา
เสพติดที่ก าหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการบ าบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดเรื่อง ก าหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข การคัดกรอง
การบ าบัดรักษา การฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด และการประเมินผลการบ าบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด ที่เป็น
รูปแบบการด าเนินงานในการช่วยเหลือผู้ติดยาเสพติดเชิงบูรณาการ
การบ าบัดรักษาโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน (Community Based Treatment: CBTx) เป็นกระบวนการดูแลสุขภาพผู้ใช้
และผู้ติดยาเสพติดในชุมชนตั้งแต่เกิดจนตาย มีกระบวนการตั้งแต่การส่งเสริมป้องกัน บ าบัดรักษาและฟื้นฟูสภาพร่างกาย จิตใจ และ
สังคม ให้ครอบคลุมในทุกมิติของปัจจัยทางสังคมที่มีผลต่อสุขภาพอย่างยั่งยืน (Sustained recovery management approach)
เป็นการจัดการปัญหาสุขภาพที่บูรณาการการท างานร่วมกันของคนในชุมชนและภาคีเครือข่ายในการเฝ้าระวัง การค้นหา การสร้าง
แรงจูงใจและให้ค าปรึกษาแนะน าในปัญหาการใช้ยาเสพติด การบ าบัดรักษาและฟื้นฟูสภาพ ส่วนฝ่ายการแพทย์หรือสาธารณสุขใช้
วิทยาการทางการแพทย์และจิตวิทยาการเสพติดเพื่อการบ าบัดรักษาและฟื้นฟูสภาพผู้ใช้ยาในสถานพยาบาลหรือชุมชนตามความจ าเป็น
บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขมีบทบาทเป็นผู้ประสานงานในการบูรณาการปัจจัยทางสังคมอื่น ๆ ที่มีผลต่อสุขภาพที่เกี่ยวข้อง
ร่วมกับครอบครัว สมาชิกในชุมชน หน่วยงานภาครัฐและภาคประชาสังคมที่เกี่ยวข้อง มุ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ใช้และผู้ติดยา
เสพติดให้ใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันในสังคม ชุมชน อย่างไม่ก่อให้เกิดผลกระทบ ในระหว่างเส้นทางความพยายามในการลด ละ เลิกยาเสพติด
ที่อาจต้องด าเนินต่อไปตลอดชั่วชีวิตของคนคนนั้น (Life course model) โดยไม่ตีตรา ยึดหลักสิทธิมนุษยชน เห็นคุณค่าของความเป็น
เพื่อนมนุษย์ โดยตลอดกระบวนการดังกล่าวสามารถด าเนินการโดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในชุมชน ศักยภาพ และ
ทรัพยากรของชุมชน ไม่กระทบต่อการด าเนินชีวิตและไม่เสียค่าใช้จ่าย ควบคู่ไปกับบริบท และการเปลี่ยนแปลงของสังคม
ด้วยความต่อเนื่องและยั่งยืนโดยมีองค์ประกอบที่ส าคัญ ประกอบด้วย 3 ส่วน และมีบทบาทหน้าที่ ดังแผนภูมิด้านล่าง
แนวทางการด าเนินงานการบ าบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด
ตามประมวลกฎหมายยาเสพติด 46