Page 164 - แผนปฏิบัติราชการ 2568
P. 164

- ๑๓๖ -

                           โครงการ พัฒนาและสนับสนุนข้อมูลข่าวสารด้านเวชภัณฑ์ ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕68
                  ๑. หลักการและเหตุผล
                         ยาและเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยาเป็นทรัพยากรในระบบสาธารณสุขที่มีความสำคัญต่อคุณภาพชีวิต

                  ของประชาชนและระบบบริการสาธารณสุขของประเทศในทุกระดับ และเป็นค่าใช้จ่ายถึงร้อยละ 35-40
                  ของค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพของสถานพยาบาล ดังนั้น การจัดการด้านบริหารเวชภัณฑ์ที่ดีจะช่วยให้การบริหาร
                  การเงินการคลังมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุด ซึ่งการบริหารจัดการที่ดีและมีประสิทธิภาพจะช่วย
                  สนับสนุนการจัดให้มีเวชภัณฑ์ที่ปลอดภัย มีคุณภาพดี ราคาเหมาะสมอย่างเพียงพอสำหรับให้บริการแก่ผู้ป่วย

                  และประชาชน  และมีกระบวนการทำงานที่โปร่งใสตรวจสอบได้ รวมทั้งสามารถควบคุมการใช้จ่ายงบประมาณ
                  อย่างสมประโยชน์ การดำเนินการเหล่านี้ต้องอาศัยข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ มีการปรับปรุงแก้ไข
                  ให้ทันสมัยอยู่เสมอ เพื่อประกอบการตัดสินใจคัดเลือก จัดหา กระจายและใช้เวชภัณฑ์ นอกจากนี้ ในส่วน
                  ของผู้บริหารและกำหนดนโยบายด้านสาธารณสุข ข้อมูลข่าวสารด้านเวชภัณฑ์ก็มีความจำเป็นสำหรับ

                  การควบคุมกำกับ แก้ไขปัญหา และการวางแผนพัฒนาสุขภาพของประชาชนในทิศทางที่เหมาะสม สำหรับ
                  ประชาชนผู้รับบริการก็ควรที่จะสามารถเข้าถึงข้อมูล และมีส่วนร่วมเฝ้าระวังและตรวจสอบความโปร่งใส
                  ของการบริหารเวชภัณฑ์ด้วย และที่สำคัญนโยบายยังเน้นย้ำไว้ว่า การสร้างและพัฒนาระบบสาธารณสุข
                  ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น สามารถรองรับสถานการณ์ฉุกเฉินและโรคอุบัติใหม่ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต รวมทั้ง

                  สร้างความมั่นคงทางวัคซีนของประเทศในระยะยาว
                         ปัญหาของระบบข้อมูลข่าวสารด้านเวชภัณฑ์ปัจจุบันในประเทศไทยยังคงมีปัญหาอยู่หลายประการ
                  ปัญหาเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อผู้ป่วย แพทย์ เภสัชกร ผู้ผลิตเวชภัณฑ์ และหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง ปัญหา
                  ที่สำคัญประการแรก คือ ความถูกต้องของข้อมูลและข่าวสาร ทั้งนี้ ข้อมูลและข่าวสารด้านเวชภัณฑ์

                  มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ส่งผลให้ข้อมูลและข่าวสารที่เผยแพร่อาจไม่ถูกต้องหรือล้าสมัย ตัวอย่างเช่น
                  ข้อมูลเกี่ยวกับราคาอ้างอิงยาซึ่งเป็นชุดข้อมูลราคาจัดซื้อที่นำเสนอในรูปแบบการวิเคราะห์เชิงสถิติ อาจ
                  คลาดเคลื่อนได้หากจำนวนข้อมูลที่ได้รับมามีน้อยเกินไป หรือมีปัจจัยต่างๆ ที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลง
                  ของข้อมูล ซึ่งเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา และส่งผลต่อเนื่องไปยังการนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ด้านการกำหนดราคา

                  กลาง ราคามาตรฐาน การจัดซื้อยาของโรงพยาบาล เป็นต้น ปัญหาประการที่สอง คือ การเข้าถึงข้อมูลและ
                  ข่าวสาร โดยที่ข้อมูลและข่าวสารด้านเวชภัณฑ์ควรเข้าถึงได้ง่ายและสะดวกแก่ผู้ใช้งานแต่ละกลุ่ม
                  ตามความสำคัญและจำเป็น ในปัจจุบันข้อมูลและข่าวสารด้านเวชภัณฑ์ส่วนใหญ่เผยแพร่ผ่านเว็บไซต์หรือ

                  สื่อออนไลน์ ส่งผลให้ผู้ใช้งานบางกลุ่ม เช่น ผู้ป่วย หรือผู้สูงอายุที่มีทักษะการใช้งานเทคโนโลยีต่ำจะไม่สามารถ
                  เข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้อย่างสะดวกโดยตรง และจำเป็นต้องมีผู้มีความรู้หรือผู้ปฏิบัติในสายงานด้านสาธารณสุข
                  สื่อสารอีกทอดหนึ่ง ปัญหาประการที่สาม คือ การแลกเปลี่ยนข้อมูลและข่าวสาร ข้อมูลข่าวสารด้านเวชภัณฑ์
                  ควรมีการแลกเปลี่ยนระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ข้อมูลและข่าวสารมีความถูกต้องและทันสมัย
                  อยู่เสมอ นอกจากนี้ การดำเนินงานที่เกี่ยวข้องในเรื่องข้อมูลและข่าวสารยังมีความท้าทายในอนาคต กล่าวคือ

                  ควรมีความยืดหยุ่น สามารถรองรับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีและข้อมูลข่าวสารที่ทันสมัย ควรมี
                  ความซับซ้อน สามารถประมวลผลข้อมูลข่าวสารที่ซับซ้อนได้อย่างรวดเร็วมีประสิทธิภาพ, ควรมีความครอบคลุม
                  สามารถตอบสนองความต้องการข้อมูลข่าวสารที่หลากหลาย

                         จากปัญหาดังกล่าวและความท้าทายในอนาคต ศูนย์ข้อมูลข่าวสารด้านเวชภัณฑ์ได้ปรับปรุงและ
                  เปลี่ยนระบบการส่งและรับข้อมูลบริหารเวชภัณฑ์ยาเป็นลำดับแรก โดยได้วางแผนการพัฒนา ปรับปรุง และ
                  เปลี่ยนระบบแบบ phasing โดยมีเป้าหมายการใช้งานระบบใหม่ (ด้วยการส่งรับข้อมูลรูปแบบ Application
                  Program Interchange (API)) อย่างเต็มรูปแบบใน ๓ ปีงบประมาณโดยในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๘

                  นี้นับเป็นปีที่ ๒ ซึ่งมีเป้าหมายที่จะขยายการดำเนินงานจากโครงการนำร่องในปีแรก เป็นการดำเนินงาน

                                                                                               เต็มรูปแบบ…
   159   160   161   162   163   164   165   166   167   168   169