Page 178 - แผนปฏิบัติราชการ 2568
P. 178
- ๑๔๗ -
การพัฒนาระบบห้องปฏิบัติการทางการแพทย์จำเป็นต้องเป็นไปตามกฎหมายและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง เช่น
กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล กฎหมายความปลอดภัยของอาหาร เป็นต้น ดังนั้นจำเป็นต้องมีการติดตาม
การเปลี่ยนแปลงของกฎหมายและกฎระเบียบอยู่เสมอ อย่างไรก็ตาม การพัฒนาระบบห้องปฏิบัติการทาง
การแพทย์เป็นสิ่งสำคัญ เพื่อยกระดับคุณภาพการให้บริการทางการแพทย์ และตอบสนองต่อความต้องการของ
ประชาชนที่เพิ่มมากขึ้น ดังนั้น จำเป็นต้องมีการร่วมมือกันจากทุกภาคส่วน เพื่อร่วมกันก้าวข้ามความท้าทาย
ต่างๆ และส่งเสริมการพัฒนาระบบห้องปฏิบัติการทางการแพทย์อย่างยั่งยืนความท้าทายเหล่านี้อาจส่งผล
กระทบต่อการพัฒนาระบบห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ในหลายด้าน เช่น ประสิทธิภาพของการตรวจ
วิเคราะห์ อาจลดลงหากห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ไม่สามารถปรับตัวให้ทันกับเทคโนโลยีใหม่ๆ ค่าใช้จ่ายใน
การรักษาพยาบาล อาจเพิ่มขึ้นหากห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ไม่สามารถพัฒนาระบบงานได้อย่างมี
ประสิทธิภาพ ความปลอดภัยของผู้ป่วย อาจลดลงหากห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ไม่สามารถควบคุมคุณภาพ
ของการตรวจวิเคราะห์ได้อย่างเหมาะสมดังนั้น จำเป็นต้องมีการวางแผนและเตรียมความพร้อมอย่างรอบคอบ
เพื่อรับมือกับความท้าทายต่างๆ และส่งเสริมการพัฒนาระบบห้องปฏิบัติการทางการแพทย์อย่างยั่งยืน
กองบริหารการสาธารณสุขจึงจัดทำโครงการพัฒนาระบบงานบริการและฐานข้อมูลห้องปฏิบัติการทาง
การแพทย์สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 – 2570 โดยมุ่งหวังให้การบริการ
ห้องปฏิบัติการทางการแพทย์กระทรวงสาธารณสุขทุกเขตสุขภาพได้รับการพัฒนาระบบการให้บริการด้าน
ห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ การพัฒนาฐานข้อมูลราคาอ้างอิงของวัสดุวิทยาศาสตร์การแพทย์ (Lab code) ลด
ความแออัดการรอตรวจทางห้องปฏิบัติการและลดระยะเวลาการรอคอยผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการทางการ
แพทย์ (Out Lab) การสั่งตรวจทางห้องปฏิบัติการทางการแพทย์อย่างสมเหตุผล (Rational Laboratory Use,
RLU) ลดค่าใช้จ่ายช่วยให้บุคลากรทางการแพทย์ใช้แนวทาง RLU ประกอบการตัดสินใจในการสั่งตรวจแล็
บได้อย่างเหมาะสมต่อผู้ป่วยเฉพาะราย สนับสนุนการดำเนินงานเฝ้าระวังความปลอดภัยจากการใช้โลหิต
(Hemovigilance) ให้มีความรวดเร็ว สะดวก เข้าถึงง่ายและสอดคล้องตามนโยบายของกระทรวงสาธารณสุข
และการดำเนินงานต่อไปเพื่อความต่อเนื่องของการพัฒนาระบบห้องปฏิบัติการทางการแพทย์กระทรวง
สาธารณสุขต้องการให้มีการพัฒนาฐานข้อมูลราคาอ้างอิงของวัสดุวิทยาศาสตร์การแพทย์ให้มีความเป็นปัจจุบัน
ตามการผันผวนของค่าเงิน ค่าครองชีพ ค่าสินค้าอุปโภค-บริโภค และภาวะเศรษฐกิจของประเทศ การเข้าถึง
ข้อมูลราคาอ้างอิงสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ง่าย และรวดเร็ว ใช้อ้างอิงตามหลักการจัดซื้อจัดจ้างตามระเบียบพัสดุ
ได้ทั้งหลักวิชาการและหลักการปฏิบัติ มีมาตรฐาน มีมาตรฐานราคาอ้างอิงวัสดุวิทยาศาสตร์การแพทย์ใน
รูปแบบเดียวกันทั่วประเทศ ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการจัดทำรายงานการจัดซื้อจัดจ้างวัสดุวิทยาศาสตร์
การแพทย์และสามารถเปิดเผยต่อสาธารณะได้ ดำเนินการควบคุมมาตรฐานการบริการตรวจทาง
ห้องปฏิบัติการของหน่วยงานที่เป็นเครือข่ายการดำเนินการ(Out Lab) เพื่อลดความแอดอัดของผู้รับบริการ
และลดระยะเวลาการรอคอยผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ
๒. วัตถุประสงค์
1 เพื่อพัฒนาระบบการบริการห้องปฏิบัติการทางการแพทย์
2 เพื่อแก้ปัญหาความแอดอัดของผู้รับบริการ
3 เพื่อลดระยะเวลาการรอคอยผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการทางการแพทย์
4 เพื่อให้การสั่งตรวจทางห้องปฏิบัติการทางการแพทย์อย่างสมเหตุผล (Rational Laboratory Use,
RLU) ลดค่าใช้จ่าย ช่วยให้บุคลากรทางการแพทย์ใช้แนวทาง RLU ประกอบการตัดสินใจในการสั่ง
ตรวจแล็บได้อย่างเหมาะสมต่อผู้ป่วยเฉพาะราย
5 เพื่อสนับสนุนการเฝ้าระวังความปลอดภัยของการใช้โลหิต
3 กลุ่มเป้าหมาย...