Page 309 - แผนปฏิบัติราชการ 2568
P. 309

- ๒๖๕ -


                                           โครงการพัฒนาระบบบริการสุขภาพชาวต่างชาติ
                                                    ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568

                  ๑. หลักการและเหตุผล

                         การพัฒนาระบบบริการสุขภาพสำหรับชาวต่างชาติมีความสำคัญที่ช่วยให้บริการด้านสุขภาพ

                  ชาวต่างชาติเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพซึ่งต้องคำนึงถึงความหลากหลายทางวัฒนธรรมและภาษา การเข้าถึง
                  และความเป็นธรรมของบริการ ความร่วมมือระหว่างหน่วยงาน เช่น องค์กรสาธารณสุข องค์กรไม่แสวงหาผล
                  กำไร และหน่วยงานที่ให้บริการด้านสังคม การให้ข้อมูลด้านสุขภาพและการศึกษาโดยให้ข้อมูลที่ถูกต้อง
                  และเข้าใจง่ายเกี่ยวกับระบบบริการสุขภาพแก่ชาวต่างชาติ ซึ่งรวมถึงการให้ความรู้เกี่ยวกับบริการที่มีอยู่

                  สิทธิการรักษาพยาบาล และความรับผิดชอบ ตลอดจนการส่งเสริมหลักปฏิบัติด้านการดูแลสุขภาพเชิงป้องกัน
                  โดยต้องการบูรณาการระบบบริการสุขภาพสำหรับชาวต่างชาติเข้ากับโครงสร้างพื้นฐานด้านการดูแลสุขภาพ
                  ที่มีอยู่ขณะเดียวกันก็คำนึงถึงความต้องการและข้อกำหนดเฉพาะของประชากรกลุ่มนี้ด้วย เช่นเดียวกับ
                  แผนปฏิบัติราชการ ระยะ ๕ ปี (พ.ศ. 2566 – 2570) ของกองบริหารการสาธารณสุขที่ต้องการยกระดับ

                  บริการสุขภาพให้มีคุณภาพ มาตรฐาน เป็นศูนย์กลางทางการแพทย์และบริการสุขภาพมูลค่าสูงและพัฒนา
                  กลไกการบริการการสาธารณสุขเพื่อการอำนวยความสะดวกและส่งเสริมสนับสนุนหน่วยบริการสุขภาพ
                  พัฒนาการบริการสุขภาพเพื่อสร้างโอกาสทางรายได้

                         การเข้าถึงบริการสุขภาพ ยังเป็นปัญหาที่สำคัญ ชาวต่างชาติจำนวนมากไม่สามารถเข้าถึงบริการ
                  สุขภาพได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว เนื่องจากขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับระบบบริการสุขภาพของประเทศ

                  ไทย สถานบริการสุขภาพบางแห่งไม่มีความพร้อมในการรองรับผู้รับบริการชาวต่างชาติ ซึ่งในปัจจุบันมีหลาย
                  ประเทศที่พัฒนาระบบบริการสุขภาพเพื่อรองรับการบริการชาวต่างชาติเช่นกัน เช่น สิงคโปร์ มาเลเซีย อินเดีย
                  จีน ฯลฯ ประเทศไทยจึงต้องพัฒนาระบบบริการสุขภาพให้มีคุณภาพและมาตรฐาน โดยร่วมมือกับภาคส่วนที่
                  เกี่ยวข้อง ประเทศไทยควรจัดตั้งกลไกความร่วมมือระหว่างภาคส่วนต่างๆ เพื่อร่วมกันพัฒนาระบบบริการ

                  สุขภาพให้มีประสิทธิภาพ

                         โครงการพัฒนาระบบบริการสุขภาพชาวต่างชาติได้ดำเนินการปรับปรุงมาตรฐานในการประเมินหน่วย
                  บริหารและหน่วยบริการให้สอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบัน ในปีงบประมาณ 2567 ได้ดำเนินการ
                  ประเมินมาตรฐานการให้บริการชาวต่างชาติ (3S) ด้วยตนเอง ผลการประเมินของศูนย์ประสานงานสุขภาพ
                  ชาวต่างชาติ (ศสต.) จำนวน 32 แห่ง พบว่า อยู่ในระดับต้นแบบ 9 แห่ง ระดับดี 11 แห่ง ระดับมาตรฐาน 9 แห่ง

                  ไม่มีข้อมูล 2 แห่ง ศูนย์บริการสุขภาพชาวต่างชาติ (ศบต.) จำนวน 47 แห่ง อยู่ในระดับระดับต้นแบบ 20 แห่ง
                  ระดับดี 16 แห่ง ระดับมาตรฐาน 6 แห่ง ไม่มีข้อมูล 5 แห่ง โดยในปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 จะดำเนินการ
                  เพิ่มหน่วยบริการสุขภาพชาวต่างชาติให้ครอบคลุมพื้นที่ในแต่ละจังหวัดและยกระดับการบริการให้ได้มาตรฐาน
                  เพื่อให้ชาวต่างชาติที่มีกำลังในการซื้อสามารถเข้าถึงหน่วยบริการสุขภาพได้ง่ายยิ่งขึ้น











                                                                                               2.วัตถุประสงค์...
   304   305   306   307   308   309   310   311   312   313   314