Page 2 - แนวทางการพัฒนาการจัดระบบบริการสุขภาพ
P. 2
บทน ำ
พระพุทธศาสนา รวมถึงศาสนนิกายต่าง ๆ มีบทบาทส าคัญอย่างยิ่งในการด าเนินวิถีชีวิต
ของคนไทยมาช้านาน ทั้งในด้านสังคม ศิลปวัฒนธรรม ประเพณีที่งดงาม ด้านการศึกษา เป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ
ส่งผลให้สังคมสงบสุข ร่มเย็น โดยมีพระสงฆ์และผู้น าทางศาสนา เป็นสื่อกลางในการสืบทอด เผยแพร่
พระธรรมค าสั่งสอนของพระพุทธเจ้าและผู้น าทางศาสนนิกาย ให้น าไปสู่วิถีการปฏิบัติที่ดีงามของบุคคลสืบไป
จากข้อมูลพื้นฐานทางพระพุทธศาสนา ส านักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ พ.ศ.2565 มีข้อมูลจ านวนวัด
ทั่วประเทศ 42,887 วัด มีพระภิกษุ 207,875 รูป สามเณร 33,493 รูป ซึ่งโดยส่วนใหญ่ของพระภิกษุ
มีแนวโน้มเป็นพระภิกษุสูงอายุ (อายุ 60 ปีขึ้นไป) พบปัญหาทางสุขภาพ มีโรคประจ าตัว เจ็บป่วยด้วยโรค
ไม่ติดต่อเรื้อรังที่ส าคัญ เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ภาวะไขมันในเลือดสูง ไตวายเรื้อรัง ข้อเข่าเสื่อม
เป็นต้น ซึ่งตามธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์แห่งชาติ พุทธศักราช 2566 ฉบับล่าสุด จัดท าขึ้นตามข้อ 37
หมวด 5 แห่งธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์แห่งชาติ พ.ศ. 2560 และมติมหาเถรสมาคมครั้งที่ 14/2566
เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 เห็นชอบให้คณะสงฆ์ทุกระดับใช้ธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์แห่งชาติ
พุทธศักราช 2566 เป็นกรอบแนวทาง เป้าหมาย และยุทธศาสตร์การสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกัน ควบคุมโรค
และการดูแลสุขภาวะพระสงฆ์ ชุมชน และสังคม ตามหลักพระธรรมวินัย บนหลักการทางธรรมน าทางโลก
กระทรวงสาธารณสุข มีหน่วยงานที่มีบทบาทหน้าที่ในการส่งเสริมสุขภาพ การเฝ้าระวัง ป้องกัน
และควบคุมโรค รวมถึงการดูแลรักษาพยาบาลและฟื้นฟูสภาพ ตลอดจนการจัดกิจกรรมรณรงค์ส่งเสริม
เรื่องการดูแลสุขภาพถวายแด่พระภิกษุสงฆ์และสามเณรในโอกาสส าคัญต่าง ๆ เป็นระยะ และเพื่อให้เกิด
ความต่อเนื่อง มีการบูรณาการร่วมกันระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ ในภาพรวมของกระทรวงสาธารณสุขในการ
จัดระบบบริการสุขภาพส าหรับพระภิกษุสงฆ์และสารเณรอย่างครอบคลุม เชื่อมโยงระหว่างสถานพยาบาล วัด
และชุมชน ได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น จึงได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาการจัดระบบบริการสุขภาพ
ส าหรับพระภิกษุสงฆ์ สามเณร และผู้น าทางศาสนา มีการจัดท าข้อตกลงความร่วมมือการดูแลสุขภาพพระภิกษุสงฆ์
สามเณร และผู้น าทางศาสนา และด าเนินการโครงการดูแลสุขภาพพระภิกษุสงฆ์ สามเณร และผู้น าทางศาสนา
เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ
28 กรกฎาคม 2567 โดยมีกิจกรรมหลักที่ส าคัญ จ านวน 8 กิจกรรม ได้แก่ 1) วัดส่งเสริมสุขภาพและ
พระนักเทศน์ 2) การตรวจสุขภาพและการส่งเสริมสุขภาพที่พึงประสงค์ของพระภิกษุสงฆ์ 3) การอบรมพระ
คิลานุปัฏฐาก 4) การจัดระบบบริการรักษาพระภิกษุสงฆ์ สามเณร และผู้น าทางศาสนา โดยการตรวจประเมิน
การจัดระบบบริการรักษาพระภิกษุสงฆ์ที่อาพาธตามหลักพระธรรมวินัยในโรงพยาบาลสังกัดกระทรวง
สาธารณสุข ให้ได้รับบริการที่มีคุณภาพทั่วถึงเพิ่มมากขึ้น 5) กุฏิชีวาภิบาลและสถานชีวาภิบาล 6) การเพิ่ม
สิทธิประโยชน์พระสงฆ์ในการเข้ารับบริการสุขภาพ 7) ฐานข้อมูลสุขภาพพระสงฆ์ 8) การดูแลสุขภาพ
พระภิกษุสงฆ์ ณ ดินแดนพุทธภูมิ
แนวทางการพัฒนาการจัดระบบบริการสุขภาพ ส าหรับพระภิกษุสงฆ์ สามเณร และผู้น าทาง
ศาสนา ฉบับนี้จัดท าขึ้นเพื่อรวบรวมเอกสาร คู่มือ หลักเกณฑ์ แนวทางปฏิบัติต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในเรื่องของ
การจัดบริการสุขภาพ เพื่อเผยแพร่ให้ทุกหน่วยงาน/สถานบริการสาธารณสุข ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค
ทุกเขตสุขภาพ ได้น าไปใช้ประโยช์ หรือประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับบริบทของแต่ละหน่วยงาน/สถานบริการ