Page 476 - แนวทางการพัฒนาการจัดระบบบริการสุขภาพ
P. 476
จุดเด่นของการจัดอบรม
1. โครงการนี้สำเร็จจากความร่วมแรงร่วมใจกันระหว่างคณะผู้ดำเนินงานโครงการของวิทยาลัย
พยาบาลบรมราชชนนี ราชบุรี และภาคเครือข่ายของจังหวัดราชบุรีและจังหวัดสมุทรสงคราม ประกอบด้วย
เจ้าคณะจังหวัดราชบุรี และเจ้าคณะจังหวัดสมุทรสงคราม ทั้งฝ่ายมหานิกายและฝ่ายธรรมยุต สำนักงานพุทธ
ศาสนาจังหวัดราชบุรีและจังหวัดสมุทรสงคราม วัฒนธรรมจังหวัดราชบุรี สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดราชบุรี
และจังหวัดสมุทรสงคราม โรงพยาบาลราชบุรี ศูนย์อนามัยที่ 5 ราชบุรี ซึ่งได้เล็งเห็นความสำคัญของโครงการ
และให้การสนับสนุน เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้พระภิกษุ มีทักษะในการดูแลสุขภาพตนเองและให้การ
ช่วยเหลือพระภิกษุอื่นๆ ที่มีความเจ็บป่วยตามหลักพระธรรมวินัยและส่งเสริมบทบาทของพระภิกษุในการเป็น
ผู้นำด้านสุขภาวะของชุมชน
2. การจัดอบรมครั้งนี้ได้รับความเมตตาจากเจ้าคณะจังหวัดราชบุรี เจ้าอาวาสวัดหลวงพ่อสด ที่เห็น
ความสำคัญของโครงการ พร้อมทั้งให้การสนับสนุนเพื่อส่งเสริมให้พระภิกษุดูแลสุขภาพตามหลักพระธรรมวินัย
นอกจากนี้ยังสนับสนุนการจัดภัตตาหารเพล และสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับพระภิกษุระหว่างการจัดการ
อบรม เช่น ที่พักสำหรับพระภิกษุ ภัตตาหารเพลและน้ำปานะ ด้านสถานที่จัดอบรม ห้องอบรมมีขนาด
กว้างขวาง มีเครื่องปรับอากาศ ทำให้บรรยากาศในห้องอบรมปลอดโปร่งไม่แออัด ด้านสื่ออุปกรณ์
อิเล็กทรอนิกส์ มีจอโปรเจคเตอร์ขนาด 100 นิ้ว ไว้สำหรับใช้ในการบรรยายความรู้ให้พระภิกษุ ด้านบุคลากร
ได้รับความร่วมมือจากคณะอาจารย์ นักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ราชบุรี ในการถวาย
ความรู้แก่พระภิกษุ และได้รับความร่วมมือจากวัฒนธรรมจังหวัดราชบุรี ได้ส่งบุคลากรจำนวน 4 ท่าน มาดำเนิน
พิธีการในวันเปิดและปิดโครงการทั้ง 2 รุ่น
3. พระภิกษุที่ผ่านการอบรม มีความรู้ และทักษะตลอดจนมีความตระหนักในการดูแลสุขภาพของ
ตนเองและจะนำความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ในการช่วยเหลือพระภิกษุที่เจ็บป่วย รวมทั้งเผยแพร่ความรู้
เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพตนเองสำหรับประชาชนต่อไป
ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนา
1. งบประมาณสำหรับการจัดอบรมมีค่อนข้างจำกัด และไม่เพียงพอต่อการดำเนินโครงการ
2. ควรมีการจัดอบรมเป็นระยะเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ ทักษะของพระภิกษุสงฆ์และส่งเสริมสมรรถนะ
ของพระภิกษุในการการเป็นบุคคลต้นแบบในการดูแลสุขภาพ
67