Page 484 - แนวทางการพัฒนาการจัดระบบบริการสุขภาพ
P. 484
จุดเด่นของการจัดอบรม
๑. การประสานงาน การดำเนินงาน และการสนับสนุนจากเจ้าคณะจังหวัด รองเจ้าคณะจังหวัด
และคณะสงฆ์ ทั้งมหานิกายและธรรมยุต และสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดนครสวรรค์ กำแพงเพชร
และพิจิตร และประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดนครสวรรค์ ตั้งแต่ขั้นเตรียมการจนถึงเสร็จสิ้นโครงการ
2. มติที่ประชุมของคณะกรรมการดำเนินการจัดอบรม จัดให้มีกล่องชุดอุปกรณ์การแพทย์
(ประกอบด้วย เครื่องวัดความดันโลหิตอัตโนมัติ เครื่องเจาะน้ำตาล ปลายนิ้วพร้อมปากกา เข็มเจาะ
แถบตรวจน้ำตาลในเลือด ชุดการประเมินภาวะสุขภาพ ตามสบช. โมเดล ชุดปิงปอง ๗ สี และคำแนะนำ
การปฏิบัติตัว) ประจำวัด ๑ วัด ๑ ชุด สำหรับพระภิกษุที่เข้ารับการอบรม เพื่อนำไปใช้ในการดำเนินงาน
พระบริบาลภิกษุไข้หลังสำเร็จการอบรม ทั้งนี้ ได้รับบริจาคจากผู้มีจิตศรัทธาบริจาคซื้ออุปกรณ์การแพทย์เป็น
จำนวนเงินทั้งสิ้น ๔๖๗,๗๙๒.๘๐ บาท เพื่อมอบให้ประจำวัด ๑ วัด ๑ ชุด สำหรับพระภิกษุที่เข้ารับการอบรม
จำนวน ๒๔๔ ชุด
3. ความเป็นรูปธรรมที่ชัดเจนของการส่งเสริมให้อาจารย์และบุคลากรได้นำองค์ความรู้ไปให้บริการ
วิชาการแก่พระภิกษุ และสนับสนุนให้นักศึกษาได้ร่วมเรียนรู้จากประสบการณ์ตรงในการเป็นผู้ให้ความรู้ทางสุขภาพ
และเกิดการพัฒนาสมรรถนะนักศึกษาด้วยการฝึกให้ความรู้ทางสุขภาพ โดยมีจำนวนอาจารย์ที่เข้าร่วมเป็นวิทยากร
ถวายความรู้ ๖๔ คน และจำนวนนักศึกษา ๑๒๕ คน ร่วมถวายความรู้พระภิกษุ จำนวน ๒๐7 รูป รวมทั้ง
ผลของความสำเร็จของการดำเนินโครงการในครั้งนี้มาจากบุคลากรทุกคนทุกระดับของวิทยาลัยยึดถือ
วัฒนธรรมองค์กรเป็นแนวปฏิบัติในการทำงานร่วมกัน คือ ร่วมแรง ร่วมใจ เพื่อพัฒนาคุณภาพ
ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนา
๑. การสนับสนุนงบประมาณด้านอุปกรณ์การแพทย์จำนวนที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ เครื่องวัดความดันโลหิต
เครื่องเจาะน้ำตาลปลายนิ้วพร้อมปากกา เข็มเจาะ และแถบตรวจน้ำตาลในเลือด ปรอทแบบดิจิทัล
๒. การสนับสนุนงบประมาณด้านภัตตาหารและน้ำปานะ สำหรับพระภิกษุที่เข้ารับการอบรม
75