Page 9 - คู่มือการบริหารงบประมาณแผนงานบูรณาการป้องกัน ปราบปรามและบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด
P. 9
ส�านักงานปลัดกระทรวงสาธรณสุข 7
บทนำ� บทที่ ๑
แนวโน้มสถานการณ์ปัญหายาเสพติดในปี ๒๕๖๐ ด้านการใช้ยาเสพติด (Demand) ประเทศไทย
ยังคงประสบปัญหาส�าคัญ คือ ปัญหาการเสพและการใช้ยาเสพติดในกลุ่มเด็กและ เยาวชน กลุ่มผู้ใช้แรงงาน
ในสถานประกอบการที่ยังไม่มีมาตรฐานระบบการป้องกันและควบคุมที่ดีการแพร่ระบาด ในหมู่บ้านชุมชน
ซึ่งน�ามาสู่ปัญหาความเดือดร้อนให้แก่ประชาชนทั่วไป จะเห็นได้จากผลการบ�าบัดรักษาในปีที่ผ่านมา ผู้เข้ารับ
การบ�าบัดรักษาทุกระบบ รวม ๑๗๗,๗๓๑ คน ซึ่งผู้เข้ารับการบ�าบัดรักษามีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ส่วนใหญ่ยังคงเป็น
กลุ่มเด็กและเยาวชน อายุ ๑๕-๒๔ ปี
จากการประชุมสมัชชาสหประชาชาติสมัยพิเศษว่าด้วยปัญหายาเสพติดโลก ค.ศ. ๒๐๑๖ หรือ
UNGASS ๒๐๑๖ (United Nation General Assembly Special Session) ระหว่างวันที่ ๑๙-๒๑ เมษายน ๒๕๕๙
ณ ศูนย์การประชุมสหประชาชาติ นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา ได้มีแนวทางการพัฒนาทางเลือก โดยที่ประชุม
ให้ความส�าคัญกับการใช้แนวทางการพัฒนาทางเลือกในการแก้ไขปัญหายาเสพติดเพื่อให้เกิดความยั่งยืน
โดยให้มีการพัฒนาสภาพแวดล้อมและปัจจัยพื้นฐานในการด�ารงชีวิต เพื่อให้เป็นการแก้ไขปัญหาอย่างครบวงจร
ซึ่งปัจจัยที่จะมีส่วนให้เกิดความส�าเร็จในการด�าเนินการคือความร่วมมือจากภาครัฐและจากทุกภาคส่วน
ปัจจัยภ�ยในประเทศ
๑) รัฐบาลให้ความส�าคัญกับการก�าหนดกรอบทิศทางยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศในระยะยาว
เพื่อพัฒนาประเทศไปสู่ “คว�มมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน” ตามร่างกรอบยุทธศาสตร์ชาติระยะ ๒๐ ปี (พ.ศ.๒๕๖๐ -
๒๕๗๙) เพื่อให้ส่วนราชการและหน่วยงานต่างๆ ใช้เป็นแนวทางในการจัดท�าแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ
ประกอบด้วย ๖ ยุทธศาสตร์ได้แก่ แผนปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ปี ๒๕๖๐ (๑) ยุทธศาสตร์
ด้านความมั่นคง (๒) ยุทธศาสตร์ด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน (๓) ยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนา
และเสริมสร้างศักยภาพคน (๔) ยุทธศาสตร์ด้านการสร้างโอกาสความเสมอภาคและเท่าเทียมกันทางสังคม
(๕) ยุทธศาสตร์ด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (๖) ยุทธศาสตร์ด้านการ
ปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ ทั้งนี้แผนการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด อยู่ใน
ยุทธศาสตร์ที่ ๑ ยุทธศาสตร์ด้านความมั่นคง
๒) การปรับปรุงระบบงบประมาณและเป้าหมายการเบิกจ่ายงบประมาณประจ�าปี มติคณะรัฐมนตรี
เมื่อวันที่ ๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙ ให้ส่วนราชการจัดท�างบประมาณรายจ่าย ประจ�าปีงบประมาณ ออกเป็น ๕ กลุ่ม
ได้แก่ ๑. มิติภารกิจรายจ่ายพื้นฐาน (Function) ๒. มิติรายจ่ายยุทธศาสตร์ (Agenda) ๓. มิติรายจ่ายภารกิจพื้นที่
ท้องถิ่น ภูมิภาค จังหวัด กลุ่มจังหวัด (Area) ๔. งบกลาง รายการเงินส�ารอง จ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจ�าเป็น
หรืองบภัยพิบัติหรือเร่งด่วน ๕. รายจ่ายชดใช้เงินกู้และดอกเบี้ย