Page 38 - คู่มือช่วยเหลือผู้หญิงตั้งครรภ์ไม่พร้อม
P. 38

ข้อมูลที่ได้จากการพูดคุยกับผู้ใช้บริการทั้งหมดจะถูกบันทึกเก็บไว้ในแบบบันทึกผู้ใช้บริการ

               ปรึกษาทางเลือกส�าหรับเด็กและผู้หญิงที่ท้องไม่พร้อม  ข้อมูลเหล่านี้จะเป็นประโยชน์ในการที่จะ
               น�ามาวิเคราะห์ปัญหาและวางแผนในการท�างานเพื่อป้องกันปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อมต่อไป
               นอกจากนี้ยังได้มีการบันทึกข้อมูลลงในโปรแกรม 1300 ศูนย์ช่วยเหลือสังคม ในระดับโรงพยาบาล

               ซึ่งเป็นทั้ง Front line 1 และ Front line 2 จะบันทึกเมื่อมีการให้บริการปรึกษาและส่งต่อผู้ใช้
               บริการไปยังเครือข่ายเรียบร้อยแล้ว โดยจะบันทึกข้อมูลเพิ่มเติมหลังจากมีการติดตามการเข้ารับ
               บริการ




                    2.2.3 ศูนย์พึ่งได้ โรงพยาบาลปทุมธานี
                    ศูนย์พึ่งได้ โรงพยาบาลปทุมธานี เปิดบริการมาตั้งแต่เดือนกันยายน พ.ศ. 2545 โดยเป็น

               ศูนย์พึ่งได้น�าร่องของในยุคแรกๆ ที่กระทรวงสาธารณสุขมีนโยบายในการช่วยเหลือเด็กและสตรี
               ที่ถูกกระท�าด้วยความรุนแรง อยู่ในความรับผิดชอบของฝ่ายสวัสดิการสังคม ต่อมาศูนย์พึ่งได้ให้
               ความสนใจในการช่วยเหลือผู้หญิงในภาวะวิกฤตกรณีท้องไม่พร้อม  และเปิดบริการปรึกษา
               ทางเลือกในปี พ.ศ. 2551 โดยยังคงใช้โครงสร้างการด�าเนินงานเดิม แต่ได้มีการจัดตั้งคณะท�างาน

               ขึ้นมา 1 ชุด เพื่อเป็นทีมคัดกรองผู้หญิงที่อาจเข้าข่ายตั้งครรภ์ไม่พร้อมจากทั้งคนไข้ในและคนไข้
               นอกของโรงพยาบาล  โดยมีผู้หญิงที่ประสบปัญหาท้องไม่พร้อมจ�านวนหนึ่งเข้ามารับบริการเอง
               หลังเริ่มด�าเนินงานให้บริการปรึกษาทางเลือกให้กับผู้ใช้บริการที่คัดกรองจากภายในโรงพยาบาล
               เป็นหลัก  จนกระทั่งศูนย์พึ่งได้จัดระบบบริการตามทางเลือกและบริการต่างๆ  ที่สอดคล้องกับ

               ทางเลือกรองรับที่ชัดเจน ในปี 2555 ศูนย์พึ่งได้ ได้บูรณาการงานบริการปรึกษาในวัยรุ่นเข้าด้วยกัน
               โดยความเห็นของคณะท�างานบูรณาการของโรงพยาบาลปทุมธานี ซึ่งมีกุมารแพทย์เป็นประธาน
               และมีสูตินรีแพทย์เป็นรองประธาน  เนื่องจากเห็นว่าศูนย์พึ่งได้มีความพร้อมเรื่องสถานที่ที่เป็น
               สัดส่วน เหมาะกับการให้ค�าปรึกษาวัยรุ่นและครอบครัวอีกทั้งมีฐานการท�างานในรูปแบบสหวิชาชีพ

               กับหน่วยงานภายนอกหลายหน่วยงาน ซึ่งประเด็นปรึกษาส่วนใหญ่เป็นเรื่องเพศ และปัญหาภายใน
               ครอบครัว รวมทั้งปัญหาความสัมพันธ์ต่างๆ จึงได้ให้บริการปรึกษาร่วมกับกลุ่มงานที่เกี่ยวข้องคือ
               กลุ่มงานกุมารเวช กลุ่มงานสูตินรีเวช กลุ่มงานจิตเวช และกลุ่มงานเวชกรรมสังคม โดยเปิดเป็น
               คลินิกให้ค�าปรึกษาที่เป็นมิตรกับวัยรุ่น และใช้ห้องปรึกษาเดียวกันกับศูนย์พึ่งได้

                      เมื่อระบบบริการและบุคลากรมีความพร้อมในการให้บริการเชิงคุณภาพได้เป็นอย่างดี
               โรงพยาบาลปทุมธานี จึงได้ขยายการส่งต่อผู้ประสบปัญหาท้องไม่พร้อม จากโรงพยาบาลชุมชน

               หน่วยบริการปฐมภูมิ  โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพต�าบล  และอาสาสมัครสาธารณสุข  รวมทั้ง
               เครือข่ายที่ท�างานในระดับจังหวัด เช่น โรงเรียน ส�านักงานสาธารณสุขจังหวัด พัฒนาสังคมและ
               ความมั่นคง ต�ารวจ และอื่นๆ ดังแสดงในผังภาพที่ 3

                      ในขั้นตอนของการปรึกษาทางเลือก มีการให้ข้อมูลทางเลือกทั้งในกรณีตั้งครรภ์ต่อ เพื่อ
               แนะน�าการฝากครรภ์และสวัสดิการสังคมอื่นๆ ที่สอดคล้องกับความต้องการ โดยผู้ประสบปัญหา




                                                          คู่มือการช่วยเหลือผู้หญิงตั้งครรภ์ไม่พร้อมของศูนย์พึ่งได้  35
   33   34   35   36   37   38   39   40   41   42   43