Page 33 - คู่มือช่วยเหลือผู้หญิงตั้งครรภ์ไม่พร้อม
P. 33

เลือกใช้วิธีการคุมก�าเนิดที่มีประสิทธิภาพและเหมาะสมกับตนเองเพื่อป้องกันท้องไม่พร้อมในอนาคต

            (ดูรายละเอียดทางเลือกคือการยุติการตั้งครรภ์ ในบทที่ 5)

            2.2 ตัวอย่างแนวทางการให้บริการ
                 การพัฒนาแนวทางให้ความช่วยเหลือผู้หญิงท้องไม่พร้อมที่ศูนย์พึ่งได้ตามหลักการดังที่กล่าว

            มาแล้ว  พัฒนาแนวทางการให้บริการอย่างเป็นรูปธรรม  เริ่มจากการพัฒนาศักยภาพบุคลากร
            ศูนย์พึ่งได้ และบุคลากรที่เกี่ยวข้องเพื่อเสริมสร้างความเข้าใจในเรื่องเพศภาวะและโครงสร้างเชิง
            อ�านาจที่ส่งผลต่อปัญหาท้องไมพร้อม  และพัฒนาทักษะการให้บริการปรึกษาทางเลือก  เพื่อให้

            บุคลากรเหล่านั้นได้มีทัศนคติในทางที่เข้าใจต่อปัญหา  และน�าไปออกแบบพัฒนาระบบให้เกิด
            บริการที่ตอบสนองได้ โดยได้มีการน�าร่องด�าเนินงานไปแล้วตั้งแต่ปี 2550 ในโรงพยาบาลในระดับ
            จังหวัด ศูนย์พึ่งได้จะอยู่ในความรับผิดชอบของกลุ่มงานสวัสดิการสังคม หรือ สังคมสงเคราะห์
            หรือ กลุ่มงานจิตเวช หรือเป็นการท�างานร่วมกันทั้งสองฝ่าย ส่วนในโรงพยาบาลชุมชนที่มีบุคลากร
            ไม่มากนัก  ศูนย์พึ่งได้ก็อาจด�าเนินงานโดยบุคลากรที่เกี่ยวข้อง  เช่น  พยาบาลจิตเวช  ท�างาน

            ร่วมกับบุคลากรอื่นๆ ในโรงพยาบาล เพื่อให้การช่วยเหลือเป็นไปได้อย่างราบรื่น
                 การช่วยเหลือวัยรุ่นและผู้หญิงที่ประสบปัญหาท้องไม่พร้อม ศูนย์พึ่งได้ก็อาจมีการบูรณการงาน

            กับแผนก/กลุ่มงานต่างๆ ในโรงพยาบาลที่มีกลุ่มเป้าหมายเดียวกัน หรือมีลักษณะปัญหาใกล้เคียงกัน
            เช่น คลินิกที่เป็นมิตรกับวัยรุ่น กลุ่มงานสูตินรีเวชกรรม กลุ่มงานเวชกรรมสังคม และศูนย์นเรนทร
            เป็นต้น ในส่วนนี้จึงกล่าวถึงตัวอย่างแนวทางในการให้ช่วยเหลือผู้ประสบปัญหาตั้งครรภ์ไม่พร้อม
            ในโรงพยาบาลที่ได้ด�าเนินการพัฒนาไปแล้ว  และยังคงให้บริการอยู่อย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน

            ได้แก่ โรงพยาบาลขอนแก่น โรงพยาบาลปทุมธานี โรงพยาบาลสมุทรปราการ โรงพยาบาลสวรรค์
            ประชารักษ์  โรงพยาบาลศรีสะเกษ  และโรงพยาบาลรัตภูมิ  จังหวัดสงขลา  เพื่อให้เห็นตัวอย่าง
            รูปธรรมในการจัดแนวทางการให้บริการเพื่อช่วยเหลือผู้หญิงท้องไม่พร้อมในรูปแบบต่างๆ และน�า
            ไปปรับใช้ได้ต่อไป

                 2.2.1 ศูนย์พึ่งได้ โรงพยาบาลขอนแก่น

                 โรงพยาบาลขอนแก่น ได้จัดตั้งศูนย์คุ้มครองเด็กและสตรี (ศูนย์พึ่งได้) น�าร่องแห่งแรกของ
            ประเทศไทย ในปี 2542 เพื่อรองรับนโยบายและมาตรการขจัดความรุนแรงต่อเด็กและสตรี จาก
            การที่เล็งเห็นว่าการตั้งครรภ์ไม่พร้อมเป็นความรุนแรงด้านหนึ่ง ในปี 2554 ศูนย์พึ่งได้ ร่วมกับ
            กลุ่มงานสูตินรีเวชกรรม โรงพยาบาลขอนแก่น จัดระบบบูรณาการช่วยเหลือเด็กและสตรีที่ประสบ

            ปัญหาความรุนแรงทางเพศและท้องไม่พร้อมให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น โดยได้จัดตั้งคณะกรรมการและมี
            แพทย์ผู้เชี่ยวชาญจากกลุ่มงานสูตินรีเวชกรรมเป็นประธาน หัวหน้ากลุ่มงานพยาบาลเป็นรองประธาน
            และหัวหน้าฝ่ายสวัสดิการและสังคมเป็นเลขานุการ

                 ผู้หญิงที่ประสบปัญหาท้องไม่พร้อม  อาจส่งต่อมาจากหน่วยงานต่างๆ  ภายในโรงพยาบาล
            หรือ หน่วยงานภายนอกโรงพยาบาล ทั้งหน่วยบริการปฐมภูมิ ชุมชน หรือ โรงเรียน ซึ่งจะมีการ
            ประเมินคัดกรองปัญหา  และส่งต่อมาที่ศูนย์พึ่งได้  ซึ่งจะท�างานร่วมกับกลุ่มงานสูตินรีเวชกรรม



      30       คู่มือการช่วยเหลือผู้หญิงตั้งครรภ์ไม่พร้อมของศูนย์พึ่งได้
   28   29   30   31   32   33   34   35   36   37   38