Page 51 - คู่มือช่วยเหลือผู้หญิงตั้งครรภ์ไม่พร้อม
P. 51

3.2 แนวทางการให้บริการปรึกษาทางเลือกในกรณีต่างๆ

                 ผู้ใช้บริการที่ประสบปัญหาท้องไม่พร้อม อาจมารับบริการปรึกษาทางเลือกด้วยสถานะของ
            การตัดสินใจที่มีมาก่อนที่จะเข้ารับบริการแตกต่างกันไปหลายรูปแบบ บางรายกังวลว่าจะตั้งครรภ์
            บางรายยังสับสนกับปัญหาที่เกิดขึ้นและไม่ทราบว่าจะเลือกทางออกอย่างไร จ�านวนมากที่มาด้วย
            ความต้องการยุติการตั้งครรภ์ หรือ พบส่วนหนึ่งที่ตัดสินใจตั้งครรภ์ต่อแล้วมาขอค�าปรึกษาและ
            ความช่วยเหลือ แนวทางการให้การปรึกษาในกรณีต่างๆ ดังกล่าว จึงมีรายละเอียดที่ไม่เหมือนกัน

            โดยมีเป้าหมายของการให้บริการปรึกษา ข้อมูลที่ควรให้ ข้อพึงระวัง และการปิดบริการปรึกษาที่
            แตกต่างกัน ดังต่อไปนี้

                 3.2.1 กังวลว่าจะตั้งครรภ์
                 กรณีนี้ผู้ใช้บริการมาปรึกษาความกังวลต่อการตั้งครรภ์ เนื่องจากมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกัน
            หรือใช้วิธีที่ประสิทธิภาพต�่า  เช่น  หลั่งภายนอก  นับระยะปลอดภัย  ใช้ยาคุมฉุกเฉิน  เป็นต้น

            บางรายอาจคุมก�าเนิดแต่ผิดพลาด เช่น ถุงยางอนามัยแตก ลืมกินยา หรือ ลืมฉีดยาคุมก�าเนิด
            มีจ�านวนมากที่ยังไม่ทราบการตั้งครรภ์ แต่พบว่าประจ�าเดือนขาด

                 แนวทางการปรึกษาในกรณีนี้  มีเป้าหมายที่การลดความกังวล  โดยการตรวจการตั้งครรภ์
            เพื่อให้ทราบผลที่แน่ชัด ทั้งนี้ หากผลการตรวจพบว่าตั้งครรภ์ ก็ด�าเนินตามแนวทางการปรึกษา
            ทางเลือกต่อไป แต่หากพบว่าไม่ตั้งครรภ์ ควรแนะน�าวิธีการคุมก�าเนิดที่มีประสิทธิภาพเพื่อป้องกัน
            การตั้งครรภ์ไม่พร้อมในอนาคต

                 3.2.2 ผู้ประสบปัญหาอายุน้อยและทางเลือกไม่ตรงกับผู้ปกครอง

                 กรณีนี้ผู้ใช้บริการมีอายุต�่ากว่า 18 ปี จ�าเป็นต้องมีผู้ปกครองมาร่วมรับทราบและรับผิดชอบ
            ด้วย ไม่ว่าทางเลือกจะเป็นการยุติการตั้งครรภ์ หรือตั้งครรภ์ต่อไป ซึ่งทางเลือกของผู้ใช้บริการที่
            อายุน้อยกับผู้ปกครองอาจไม่สอดคล้องกันได้ ส�าหรับผู้ประสบปัญหาที่มีอายุต�่ากว่า 18 ปี และ
            พบว่ามีวุฒิภาวะในการตัดสินใจในระดับหนึ่ง ควรเคารพการตัดสินใจของผู้ประสบปัญหาเป็นหลัก

            และมีกระบวนการเสริมพลัง (Empower) ให้สามารถสื่อสารกับผู้ปกครองได้ดียิ่งขึ้น
                 เป้าหมายของการบริการปรึกษาในกรณี คือ สองฝ่ายได้มีการหารือกันเพื่อให้ทางเลือกเป็น

            ที่ยอมรับของทั้งสองฝ่ายภายใต้ข้อมูลที่รอบด้าน  โดยแนวทางการให้ปรึกษาอาจแยกให้บริการ
            ปรึกษา ผู้ประสบปัญหา และ ผู้ปกครอง หลังจากนั้นน�าทั้งสองมาเข้าสู่กระบวนการปรึกษาร่วมกัน
            การตัดสินใจทางเลือกจึงขึ้นอยู่กับสัมพันธภาพ  และบริบทการเลี้ยงดูแลภายในครอบครัวนั้นๆ
            รวมทั้งการยอมรับความเห็นของผู้ประสบปัญหาและผู้ปกครอง นอกจากนี้ในบางบริบทอาจต้องมี
            บุคคลอ้างอิงที่ได้รับการยอมรับของครอบครัวหรือชุมชน  เพื่อให้ความคิดเห็นเพิ่มเติมในการ

            ตัดสินใจ  รวมทั้งใช้ทีมสหวิชาชีพในการร่วมกันประเมินผู้ใช้บริการและครอบครัวในแง่มุมต่างๆ
            อย่างรอบด้าน







      48       คู่มือการช่วยเหลือผู้หญิงตั้งครรภ์ไม่พร้อมของศูนย์พึ่งได้
   46   47   48   49   50   51   52   53   54   55   56