Page 8 - คู่มือช่วยเหลือผู้หญิงตั้งครรภ์ไม่พร้อม
P. 8
ค�ำนิยม
ปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในประเทศไทยมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น ส่งผลกระทบใน
ทางลบต่อคุณภาพชีวิตที่ดีของประชากรไทย เพราะการพัฒนาประชากรควรเริ่มตั้งแต่การ
ตั้งครรภ์ที่ทั้งหญิงและชายมีความพร้อมและตั้งใจ โดยควรเตรียมความพร้อมก่อนการตั้งครรภ์
ดูแลครรภ์ขณะคลอด และหลังคลอดทั้งมารดาและทารก รวมทั้งการเลี้ยงดูภายใต้ครอบครัว
ที่มีความพร้อมเพื่อให้เด็กได้เติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพ โดยปราศจากความรุนแรงในครอบครัว
และมีสุขภาวะที่ดี การที่ผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ไม่พร้อม ไม่สามารถหาทางออกได้เมื่อประสบปัญหา
อีกทั้งยังถูกตีตราในเชิงศีลธรรมจากสังคม ท�าให้หลบซ่อนไม่เปิดเผยตนเองเพื่อขอความช่วยเหลือ
ส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนและสูญเสียชีวิตอันเนื่องมาจากการยุติการตั้งครรภ์ที่ไม่ปลอดภัย
ทางออกหนึ่งที่ส�าคัญของการแก้ปัญหานี้ คือ การสร้างแนวปฏิบัติในการดูแลช่วยเหลือของสถาน
บริการสุขภาพในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข เพื่อให้เกิดบริการที่เป็นมิตรและเข้าใจ ที่ผู้ประสบ
ปัญหาสามารถเข้าถึงได้อย่างรวดเร็วทันการ โดยมีเครือข่ายการให้ความช่วยเหลือรอบด้านและ
สอดคล้องกับสภาพปัญหาของผู้ใช้บริการ
กระทรวงสาธารณสุข ในฐานะที่เป็นหน่วยงานหลักของประเทศ ที่มีภารกิจที่ส�าคัญในการ
พัฒนาคุณภาพชีวิตประชากรไทยให้มีสุขภาพที่ดี ทั้งในด้านกาย ใจ และสังคม ตั้งแต่การเกิดที่
มีคุณภาพจากการตั้งครรภ์ที่มีความพร้อม และดูแลสุขภาพในทุกมิติในทุกช่วงของชีวิตของคนไทย
ทุกเพศทุกวัยอย่างมีคุณภาพ รวมทั้งดูแลเยียวยาจากการถูกกระท�าด้วยความรุนแรงต่างๆ ผมจึง
เห็นด้วยเป็นอย่างยิ่งที่ส�านักบริหารการสาธารณสุขและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ร่วมกันจัดท�า “คู่มือ
การช่วยเหลือผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ไม่พร้อมของศูนย์พึ่งได้” เพื่อเป็นแนวทางในการป้องกันและแก้ไข
ปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อมต่อไป หวังว่าศูนย์พึ่งได้ของโรงพยาบาลจะใช้คู่มือดังกล่าวในการ
บูรณาการการท�างานการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในโรงพยาบาลให้เกิดผล
สัมฤทธิ์ ในการช่วยเหลือผู้ประสบปัญหาได้ผ่านพ้นภาวะวิกฤติในชีวิตอันเกิดจากความผิดพลาด
หรือความไม่ตั้งใจ และสามารถใช้ชีวิตอยู่ในสังคมอย่างมีคุณภาพเพื่อเป็นก�าลังส�าคัญในการพัฒนา
ประเทศให้เจริญก้าวหน้าสืบไป
(นายณรงค์ สหเมธาพัฒน์)
ปลัดกระทรวงสาธารณสุข
คู่มือการช่วยเหลือผู้หญิงตั้งครรภ์ไม่พร้อมของศูนย์พึ่งได้ 5