Page 20 - รพ.บุษราคัม
P. 20
เรื่องเล่า...โรงพยาบาลบุษราคัม
ระดมพล
ภายหลังการประชุมได้รับการมอบหมายจากท่านปลัดกระทรวงสาธารณสุขให้เป็น
ผู้อำนวยการโรงพยาบาลบุษราคัม หมอจ้อม-นายแพทย์กิตติศักดิ์ อักษรวงศ์ ก็เริ่มวาดภาพ
โรงพยาบาลสนามขนาดยักษ์ขึ้นมาในใจ
ด้วยประสบการณ์ชายวัย 54 ปีรู้ได้ทันทีว่า นี่ไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะทำให้สำเร็จ หากไม่
ขอความร่วมมือจากหน่วยงานต่าง ๆ ในกระทรวงสาธารณสุข
“หลังได้รับมอบหมายเรานั่งคิดว่าองค์ประกอบของโรงพยาบาลมีอะไรบ้าง คือถ้าเป็น
โรงพยาบาลทั่วไปมันไม่ยาก เนื่องจากเราเคยผ่านการเป็นผู้บริหารโรงพยาบาลมาก่อน
แต่เมื่อเป็นองค์ประกอบของโรงพยาบาลขนาดยักษ์ที่เป็นโรงพยาบาลสนาม แล้วมีภารกิจให้
ดูแลคนไข้โควิด 19 ที่มีอาการปานกลาง หรือพูดง่ายๆ ว่าสีเหลืองนี่ยอมรับเลยว่ายาก เพราะก่อน
หน้านั้นต้องบอกว่าโรงพยาบาลสนามที่สร้างขึ้นในประเทศไทยล้วนแล้วแต่รองรับผู้ป่วย
ที่อาการไม่รุนแรงหรือผู้ป่วยสีเขียวทั้งหมด แต่สิ่งที่เรากำลังจะทำคือภารกิจพิเศษที่มีความ
ซับซ้อนมากกว่า
การจะรองรับผู้ป่วยสีเหลืองแน่นอนว่าคุณต้องมีออกซิเจนเพราะบางทีถ้าเกิดเหตุ
ฉุกเฉินอะไรขึ้นมา เจ้าหน้าที่อาจช่วยได้ไม่ทัน ไม่นับว่าต้องมีเครื่องเอ็กซเรย์ปอดหรืออุปกรณ์
ทางการแพทย์ที่มีความซับซ้อนมากกว่าเดิม ไหนจะเรื่องอาคาร สถานที่ บุคลากร เตียง ระบบ
การจัดการอื่น ๆ อีก ยิ่งถ้าเราจำแนกผู้ป่วยสีเหลืองออกไปอีกก็จะรู้เลยว่าสิ่งที่จะต้องเตรียม
ให้พร้อมในระยะเวลาอันรวดเร็วมันมีหลายสิ่งหลายอย่างที่มากกว่าโรงพยาบาลสนามทั่วไปจริง ๆ
คนไข้ที่มีความเสี่ยงจะเป็นผู้ป่วยสีเหลือง ว่ากันง่าย ๆ เลยก็คือกลุ่มคน 607 หรือ
คนที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปบวกกับอีก 7 กลุ่มโรค ได้แก่ โรคเบาหวาน โรคมะเร็ง โรคอ้วน
โรคหลอดเลือดสมอง โรคไตวายเรื้อรัง โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคทางเดินหายใจเรื้อรัง
ซึ่งถ้าเป็นหญิงตั้งครรภ์อีกก็เป็นกลุ่มคน 608 เอาง่าย ๆ ว่าถ้าคุณอายุ 60 ปีแล้วตรวจพบเชื้อโควิด 19
คุณก็เข้าเกณฑ์ผู้ป่วยสีเหลืองแล้ว หรือถ้าคุณอายุไม่ถึง 60 ปีแต่ดันเป็นเบาหวานคุณก็เข้าเกณฑ์อยู่ดี
แล้วบางคนมีมากกว่า 1 โรค แบบนี้นี่เหลืองเข้ม หรือบางคนอาจมีฝ้าในปอดหรือที่เรียกว่าปอดติดเชื้อ
ก็ให้ออกซิเจนธรรมดาไม่ได้อีกก็ต้องมีออกซิเจนแบบไฮโฟล์ว เมื่อคิดหลาย ๆ อย่างแล้ว เราจึง
จัดการนัดฝ่ายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในการทำหน้าที่ทันที”
หมอจ้อมจำได้ว่า ท่านปลัดกระทรวงสาธารณสุขได้ประชุมและนัดมอบหมาย
ภารกิจในตอน 11 โมง หลังจากนั่งครุ่นคิดวางแผนทุกอย่างอยู่ราว 2 ชั่วโมง บ่ายโมงตรง
ในวันเดียวกันเขาจัดการนัดตัวแทนจากกรมต่าง ๆ ที่สังกัดกระทรวงสาธารณสุขเดินทางลงไป
ดูพื้นที่จริงที่จะสร้างเป็นโรงพยาบาลบุษราคัมขึ้นมาที่อิมแพ็ค อารีน่า เมืองทองธานี
โรงพยาบาลบุษราคัม กระทรวงสาธารณสุข 11