Page 26 - รพ.บุษราคัม
P. 26

เรื่องเล่า...โรงพยาบาลบุษราคัม


          เขาคิดในราคาหลักล้านต่อวัน ก็ลดเหลือแค่วันละ 160,000 บาท ทำให้เราหมดปัญหา
          เรื่องการหาสถานที่ในการตั้งโรงพยาบาล
                 แต่ปัญหาที่ท้าทายสำหรับเรามาก ๆ ในเวลานั้นก็คือ การหาทุกสิ่งทุกอย่างให้เร็วที่สุด
          เนื่องจากสถานการณ์มันรอไม่ได้ แล้วโจทย์ของเรามีหลายข้อมาก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเตียงจะหา
          ที่ไหน เครื่องช่วยหายใจ ออกซิเจน เราจะเอามาจากที่ใดได้บ้าง ไหนจะกล้องวงจรปิดอีก
          ห้องอาบน้ำก็ต้องสร้างใหม่ ฯลฯ ซึ่งเราก็ต้องรีบติดต่อประสานงานเพื่อที่จะทำให้สำเร็จ
          โรงพยาบาลจะได้เปิดรองรับผู้ป่วยให้ได้เร็วที่สุด
                 จำได้ว่าวันที่ 3 - 4 พฤษภาคม 2564 เริ่มมีการพูดคุย วันที่ 5 พฤษภาคม 2564
          มีการประชุม และวันที่ 6 พฤษภาคม 2564 ได้วางแผนว่าใครทำอะไร พอวันที่ 7 พฤษภาคม 2564
          กองแบบแผน กรมสนับสนุนบริการสุขภาพก็เริ่มก่อสร้างแล้ว ซึ่งในระหว่างนั้นเราต้องหาของ
          เตรียมไว้แล้ว”
                 หมออวบและกองบริหารการสาธารณสุขทำทุกวิถีทางเพื่อทำโจทย์ทุกข้อให้กลายเป็น
          ความจริง วัสดุบางอย่างได้รับการอนุเคราะห์จากภาคเอกชน บางอย่างใช้วิธีการสั่งซื้อ และ
          บางอย่างก็ใช้วิธีขอยืมจากโรงพยาบาลในพื้นที่ที่การระบาดของโควิดยังไปไม่ถึง
                 “เตียงทั้งหมดเราได้รับความเอื้อเฟื้อจากบริษัท ปัญจพล ไฟเบอร์ คอนเทนเนอร์ จำกัด
          ซึ่งเป็นเตียงกระดาษที่มีคุณภาพดี ส่วนเครื่องช่วยหายใจและอุปกรณ์ทางการแพทย์ต่าง ๆ
          ด้วยความที่ต้องเปิดโรงพยาบาลให้ได้เร็วที่สุด ในช่วงแรกเราก็อาศัยยืมเอาจากโรงพยาบาล
          ในภูมิภาคต่าง ๆ ที่เขายังไม่มีความจำเป็นต้องใช้ แล้วส่วนหนึ่งเราก็สั่งซื้อด้วย เมื่อถึงเวลา
          ได้ของมาเราก็ค่อยส่งมอบคืน
                 ขณะที่เรื่องกล้องวงจรปิด เราใช้วิธีเช่าเอาแล้วก็ใช้ร่วมกับของทางอิมแพ็ค อารีน่า
          เมืองทองธานี ที่มีอยู่ส่วนหนึ่ง เช่นเดียวกับห้องน้ำที่ทางอิมแพ็ค อารีน่า เมืองทองธานี
          เขามีรองรับให้อยู่แล้ว แต่ในส่วนของห้องอาบน้ำนั้น เราได้คุยกับทางแสนสิริแล้วเขาก็เอื้อเฟื้อ
          มาสร้างห้องอาบน้ำให้เลย โดยไม่คิดเงินแม้แต่บาทเดียว ถึงจำนวน 365 ห้อง”
                 มิเพียงแต่ได้รับความร่วมมือจากองค์กรต่าง ๆ แต่หมออวบยังประสานไปยัง
          หน่วยงานราชการไม่ว่าจะเป็นทหาร ตำรวจ หรือโรงพยาบาลแม่ข่าย ซึ่งทุก ๆ หน่วยงานก็ต่าง
          ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีเพื่อให้โรงพยาบาลบุษราคัมเกิดขึ้นจริงให้ได้
                 “นอกจากเรื่องของวัสดุอุปกรณ์ที่ได้จากภาคเอกชนและโรงพยาบาลในภูมิภาคของ
          กระทรวงสาธารณสุขแล้ว เรายังประสานไปยังหน่วยงานราชการอื่น ๆ ด้วย ยกตัวอย่าง
          เราขาดแคลนในด้านกำลังคน เราก็ติดต่อไปยังกองทัพไทย หน่วยทหารพัฒนา ทางกองทัพก็
          ส่งพี่ ๆ ทหารมาช่วยงานเรา ตลอดระยะเวลาตั้งแต่เริ่มสร้างโรงพยาบาลจนไปถึงในช่วงที่
          เปิดให้การรักษา อย่างเตียงทั้งหมด 1,000 กว่าเตียงในเฟสแรกที่จะเปิดโรงพยาบาล

                                       โรงพยาบาลบุษราคัม กระทรวงสาธารณสุข       17
   21   22   23   24   25   26   27   28   29   30   31