Page 26 - เล่มกลุ่มวัย 5 ปี 66-70 ver.6 160666 Edit
P. 26

๖) พัฒนาระบบบริการสุขภาพแม่และเด็ก และความเป็นเลิศทางการแพทย์ ส่งเสริมการพัฒนาระบบบริการ
                      ทางการสาธารณสุขเพื่อแม่และเด็กให้ได้มาตรฐานเดียวกันทั่วทั้งประเทศ และเทียบเคียงได้กับสากล
                      ระบบบริการสาธารณะเพื่อแม่และเด็กมีคุณภาพ ทันสมัยด้วยเทคโนโลยี การกระจายอย่างทั่วทุกภูมิภาค

                      เพื่อให้ระบบบริการสุขภาพปฐมภูมิมีความเข้มแข็งที่ดูแลแม่และเด็กได้อย่างทั่วถึง

                  กลุ่มวัยเรียน/วัยรุ่น (อายุระหว่าง 6 – 19 ปี)
                   ๑) ระดมพลังภาคี และเครือข่ายสุขภาพเพื่อร่วมเสริมสร้างเด็กวัยเรียน/วัยรุ่น ให้มี “พฤติกรรมสุขภาพ
                      ที่พึงประสงค์ มีสุขภาวะที่ดีตามวัย สมบูรณ์ทั้งกาย ใจ สติปัญญา สังคม และสร้างต้นแบบวัยเรียน
                      วัยรุ่นที่มีสุขภาพดีของการฉลาดรู้ทางสุขภาพ ที่มีวินัยในการออกกำลังกาย ได้รับโภชนาการดี และ

                      ไม่ยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด”
                   ๒) ส่งเสริม สนับสนุน และขับเคลื่อนการบริหารจัดการ และการพัฒนาสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการมีสุขภาพ
                      ดีของวัยเรียน วัยรุ่น การสร้างพื้นที่สาธารณะทางสุขภาพที่กลุ่มเป้าหมายเข้าถึงได้ง่าย สนับสนุนกิจกรรม
                      การสร้างเสริมสุขภาพ การเท่าทันภัยคุกคามทางสุขภาพ โดยเฉพาะสารเสพติด และการบ่มเพาะนิสัย

                      สุขภาพที่ต่อเนื่องจากวัยเด็ก
                   ๓) การนำเทคโนโลยีสารสนเทศ เทคโนโลยีดิจิทัล มาใช้เป็นกลไกสำคัญเพื่อการประสาน เชื่อมโยง
                      การสื่อสารสุขภาพสู่วัยรุ่น การสร้างพื้นที่บนแพลตฟอร์มดิจิทัล การสร้างสรรค์กิจกรรมสุขภาพดิจิทัลเพื่อ

                      การพัฒนาวัยเรียนวัยรุ่นให้เป็นประชากรสุขภาพดี
                   ๔) พัฒนาระบบบริการสุขภาพที่ทันสมัย ด้วยเทคโนโลยีทางการแพทย์ ความเชี่ยวชาญทางการแพทย์
                      เพื่อการรักษาโรค การฟื้นฟูสุขภาพวัยเรียน วัยรุ่น ที่มีคุณภาพ มาตรฐานในระดับสากล เพื่อสร้าง
                      ประชากรแห่งอนาคตที่มีคุณภาพที่สมบูรณ์ในสุขภาวะ

                  กลุ่มวัยทำงาน (อายุระหว่าง 15-59 ปี)

                   ๑) สร้างความรอบรู้ด้านสุขภาวะ การปรับพฤติกรรมสุขภาพสู่นิสัยสุขภาพ ให้เป็นวัฒนธรรมสุขภาวะของการ
                      ทำงานในวัยทำงาน ที่ตระหนักในคุณค่าความรอบรู้ทางสุขภาพ เท่าทันปัจจัยเสี่ยง จนสามารถ “จัดการ
                      สุขภาพตนเองได้ เสริมสร้างให้คนวัยทำงานมีสุขภาพที่ดี ทั้งทางกาย ใจ และสติปัญญา สภาวะ
                      แวดล้อมทางสังคม เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงเพื่อการสร้างสังคมสุขภาวะ เพื่อเตรียมพร้อมสู่สังคม

                      ผู้สูงอายุสุขภาพดี”
                   ๒) เสริมสร้างนโยบาย มาตรการกลไกเพื่อบูรณาการภาคีเครือข่ายภาครัฐ และการสร้างสภาพแวดล้อมการ
                      ทำงานให้เอื้อต่อการมีสุขภาพดี ด้วยกลไกทางกฎหมาย และสวัสดิการคุ้มครองสุขภาพ และการจัดการ
                      ข้อมูลกลางสารสนเทศสุขภาพของวัยทำงานที่ทันสมัย

                   ๓) การจัดบริการสุขภาพแก่วัยทำงานในหน่วยบริการสุขภาพที่มีคุณภาพ มีความเป็นเลิศทางการแพทย์และ
                      มาตรฐานในระดับสากล ด้วยความเชี่ยวชาญทางการแพทย์ และเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่เป็นเลิศ
                      ทางด้านอาชีวอนามัย เพื่อรองรับการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศให้เป็นประเทศพัฒนาแล้วที่มีวัยทำงาน
                      สุขภาพดี

                   ๔) การพัฒนาระบบสาธารณสุขที่ได้มาตรฐาน ทันสมัย ที่ประชาชนกลุ่มวัยทำงานเข้าถึงบริการได้ดีขึ้น
                      ตามบริบทของการทำงานทั่วทั้งประเทศ ใช้ชุมชน ที่ทำงาน เป็นฐานในการพัฒนาบริการสุขภาพ และ
                      สร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการยกระดับสุขภาวะของประชาชนวัยทำงาน

                   ๕) ระดมพลังวัยทำงาน สถานประกอบการ และภาคีเครือข่ายทางสุขภาพในการร่วมลดการเจ็บป่วย
                      ป่วยตายของวัยทำงานในด้านพฤติกรรมเสี่ยงโรค NCD  โรคมะเร็ง และโรคบาดเจ็บจากการทำงาน

            22
   21   22   23   24   25   26   27   28   29   30   31