Page 25 - เล่มกลุ่มวัย 5 ปี 66-70 ver.6 160666 Edit
P. 25

5) ข้อมูลสุขภาพเป็นของประชาชน และเพื่อประชาชนพัฒนาข้อมูลดิจิทัลสุขภาพของประชาชน
                  ที่มีมาตรฐานและธรรมาภิบาล เชื่อมโยงเป็นฐานข้อมูลขนาดใหญ่ของประเทศ ประชาชนได้ประโยชน์ในการ
                  ดูแลสุขภาพตนเอง สามารถใช้บริการสาธารณสุขได้ทุกที่ อย่างต่อเนื่อง และรัฐใช้เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนา

                  ระบบสาธารณสุขอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
                  ๓.2 จุดยืนการพัฒนาแผนปฏิบัติราชการบริหารการสาธารณสุขเพื่อการส่งเสริมและพัฒนาบริการสุขภาพ
                        กลุ่มวัย (พ.ศ. ๒๕๖๖ – ๒๕๗๐)
                         จุดยืนและตำแหน่งทางยุทธศาสตร์ในทุกกลุ่มวัย โดยมุ่งเน้นการเสริมสร้างความตระหนักในคุณค่าของ

                  การมีสุขภาพดี วัฒนธรรมสุขภาพที่เข้มแข็ง และการเพิ่มขีดความสามารถในการจัดการสุขภาพในทุกกลุ่มวัย
                  แบบเข้าถึงในระดับครอบครัว และบุคคลในกลุ่มเสี่ยง กลุ่มเฉพาะเพื่อให้มีขีดความสามารถในการจัดการตนเอง
                  ให้มีสุขภาพดี ลดปัญหาสุขภาพที่เป็นปัญหาของประเทศในแต่ละกลุ่มวัยได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วยตนเอง
                  และกลไกครอบครัว ชุมชน และการบูรณาการร่วมกับองค์กรภาคี และจุดยืนยังเน้นการพัฒนาระบบบริการทาง

                  การแพทย์สู่ความเป็นเลิศ และมีบุคลากรทางการแพทย์ที่เพียงพอ เชี่ยวชาญในการให้บริการทางสุขภาพ และมี
                  ความสุขในการบริการ และยังเน้นการพัฒนาข้อมูลสารสนเทศทางด้านสุขภาพ การสร้างสรรค์นวัตกรรมการ
                  บริการสุขภาพที่เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของแต่ละกลุ่มวัย และทิศทางการพัฒนาการสาธารณสุข
                  ตามยุทธศาสตร์ ๒๐ ปี โดยมีเป้าหมายสำคัญในการเพิ่มประสิทธิภาพการบริการเพื่อเข้าถึงประชาชน เพื่อลด

                  ความเหลื่อมล้ำ การยกระดับประเทศไทยให้มีผลงานที่โดดเด่นในระดับโลกที่ประสบความสำเร็จในการจัดการ
                  ระบบสุขภาพที่ยั่งยืนเพื่อประชาชนในทุกกลุ่มวัย การเป็นศูนย์กลางการจัดบริการทางการแพทย์มูลค่าสูง
                  การขับเคลื่อนนโยบายสาธารณสุขของประเทศที่สอดรับกับบริบทภายในประเทศและทิศทางการพัฒนาของ

                  สังคมโลกที่สอดคล้องกับสถานการณ์สุขภาพของประเทศไทยในปัจจุบันและอนาคต ทั้งนี้ยังได้กำหนดจุดยืน
                  ตำแหน่งการพัฒนาในรายกลุ่มเป้าหมายทุกกลุ่มวัย ดังนี้

                  กลุ่มสตรี และเด็กปฐมวัย (อายุระหว่าง ๐ ≤ ๖ ปี)
                   ๑) การใช้กลไกเชิงนโยบาย การผสานทรัพยากร การสาธารณสุข ทั้งในระดับประเทศและพื้นที่เพื่อบูรณาการ

                      ทุกภาคส่วนให้มีความเข้มแข็งใน “การบรรลุเป้าหมายการเพิ่มประชากรที่มีคุณภาพ บนระบบการ
                      บริการที่มีคุณภาพทั่วทั้งประเทศ เสริมสร้างค่านิยมวัฒนธรรม และการให้ความสำคัญกับสุขภาพของ
                      แม่และเด็กของชาติที่เข้มแข็ง ”

                   ๒) เสริมสร้างศักยภาพแม่มีความพร้อมในการตั้งครรภ์ เป็นแม่ที่ตั้งครรภ์อย่างมีคุณภาพ มีความฉลาดรู้ทาง
                      สุขภาพในการดูแลตนเองก่อนตั้งครรภ์ ขณะตั้งครรภ์ การเลี้ยงดูลูก และครอบครัว ชุมชน ท้องถิ่นมีส่วนร่วม
                      ในการสร้างภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการสุขภาพดีของแม่และเด็ก
                   ๓) เสริมสร้างปฏิบัติการเชิงรุกที่เข้าถึงแม่และเด็ก เพื่อหยุดยั้งวิกฤติปัญหาที่คุกคามสุขภาพแม่และเด็ก

                      เพื่อบรรลุเป้าหมายลดอัตราการป่วยและเสียชีวิตของแม่และเด็กทั่วทุกพื้นที่ทั้งประเทศ และส่งเสริมการ
                      พัฒนาเด็กสมบูรณ์ทั้งในด้านปัญญา อารมณ์ สังคม
                   ๔) ส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนานโยบายสาธารณสุข และการผสานเชื่อมโยงหน่วยงานสาธารณสุขทุกระดับ
                      เพื่อให้แม่และเด็กทั่วทั้งประเทศในทุกพื้นที่เข้าถึงบริการคุณภาพอย่างทั่วถึง ไร้รอยต่อ และลดความเหลื่อมล้ำ

                   ๕) ยกระดับคุณภาพทางพัฒนาเด็กด้านปัญญา และอารมณ์ และการอภิบาลเด็ก ส่งเสริม สนับสนุนองค์กร
                      ปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อการพัฒนานิเวศน์สุขภาพเพื่อเด็กมีสุขภาพดี และสนับสนุนวิทยาการ เทคโนโลยี
                      เพื่อการพัฒนาระบบการบริหารจัดการศูนย์เด็กเล็กให้มีมาตรฐานเพื่อให้บรรลุเป้าหมายเด็กมีสุขภาพดี
                      มีนิสัยสุขภาพ และความฉลาดรู้ทางสุขภาพที่เหมาะสม


                                                                                                          21
                                                                                                           1
   20   21   22   23   24   25   26   27   28   29   30