Page 70 - เล่มกลุ่มวัย 5 ปี 66-70 ver.6 160666 Edit
P. 70
แผนปฏิบัติราชการที่ ๒
การจัดการสุขภาวะประชาชนกลุ่มวัยเรียน วัยรุ่นที่มีคุณภาพ สร้างนิสัยสุขภาพที่ยั่งยืน
๑. แนวคิดและหลักการ
เด็กวัยเรียนคืออนาคตสำคัญของชาติ และเป็นเป้าหมายสำคัญเด็กวัยเรียนเป็นช่วงชีวิตที่มีการเจริญเติบโต
พัฒนาทั้งด้านร่างกายสมองและจิตใจพร้อมที่จะเรียนรู้และปลูกฝังเจตคติที่ดี รวมถึงทักษะด้านสุขภาพและทักษะชีวิต
ด้านต่างๆ จึงจำเป็นต้องส่งเสริมให้เด็กวัยเรียนมีสุขภาพร่างกายแข็งแรงและเจริญเติบโตอย่างเต็มศักยภาพ ประเทศ
ไทยกำลังเผชิญกับปัญหาทุพโภชนาการในเด็กวัยเรียน ซึ่งพบภาวะเตี้ย ภาวะอ้วน ภาวะผอม และภาวะซีด ทั้งนี้ ภาวะ
เตี้ยมีสาเหตุมาจากการขาดอาหารเรื้อรัง ทำให้เด็กเตี้ย แคระแกร็น ภูมิต้านทานโรคต่ำ เจ็บป่วยบ่อยและมีสติปัญญาต่ำ
แตกต่างจากปัญหาภาวะอ้วนที่มีสาเหตุมาจากพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่มากเกินความต้องการของร่างกาย
มีกิจกรรมทางกายไม่เพียงพอ มีผลนำไปสู่การเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (Non-communicable Chronic Diseases :
NCDs) ปัญหาสุขภาพช่องปากของเด็กวัยเรียนก็เช่นเดียวกัน หากเด็กกินอาหารที่มีรสหวานเป็นประจำและแปรงฟัน
ไม่ถูกวิธี จะทำให้เกิดฟันผุได้
เด็กวัยรุ่นไทยส่วนใหญ่มีปัญหาเกี่ยวกับพฤติกรรมเสี่ยงด้านสุขภาพและอุบัติเหตุ จากข้อมูลการสำรวจของ
สำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่า ประชากรไทย อายุ 15 ปีขึ้นไป ดื่มแอลกอฮอล์และสูบบุหรี่เพิ่มขึ้น การตั้งครรภ์ในกลุ่ม
วัยรุ่นยังเป็นปัญหาและมีความรุนแรงมากขึ้นในสังคมไทย ส่งผลให้เด็กที่เกิดมีพัฒนาการไม่สมวัยและมีโอกาสสูงที่จะ
กลายเป็นเด็กด้อยโอกาสหรือถูกทอดทิ้ง กลายเป็นปัญหาสังคมตามมา จากข้อมูลกระทรวงสาธารณสุข
และรายงานของ UNICEF ระบุว่า อัตราการคลอดในวัยรุ่นอายุ 15 - 19 ปี ยังสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน
ขององค์การอนามัยโลกที่กำหนดไว้ที่ ร้อยละ 10 ซึ่งผลกระทบทางสุขภาพอาจเป็นอันตรายต่อชีวิต และยังทำให้เสีย
โอกาสทางการศึกษา หน้าที่การงาน รวมทั้งรายได้ในอนาคต การขาดความพร้อมในการเลี้ยงดูบุตร ส่งผลให้เด็กจำนวน
หนึ่งถูกทอดทิ้ง หรือเติบโตมาอย่างไม่มีคุณภาพ ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องจึงเข้ามาร่วมกันดำเนินงานป้องกันและแก้ไข
ปัญหาอย่างต่อเนื่อง (ที่มา: ยุทธศาสตร์การป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นระดับชาติ พ.ศ. 2560 - 2569
ตามพระราชบัญญัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ.๒๕๕๙, 2560)
กระทรวงสาธารณสุข โดยกรมอนามัย ได้ร่วมกับภาคีเครือข่ายลดปัญหาท้องวัยรุ่น โดยขับเคลื่อนการ
ดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นเป็นปัญหาสำคัญที่หลายประเทศ
เผชิญอยู่ องค์การสหประชาชาติจึงกำหนดให้การลดอัตราคลอดในวัยรุ่น เป็นหนึ่งในตัวชี้วัดเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
เพื่อให้คนมีชีวิตที่มีคุณภาพและมีสุขภาวะที่ดี ทุกเพศ ทุกวัย ภายในปี พ.ศ. 2573 ซึ่งการป้องกันและแก้ไขปัญหาการ
ตั้งครรภ์ในวัยรุ่นของประเทศไทย ได้มีพระราชบัญญัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ. 2559
ที่มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2559 เพื่อคุ้มครองสิทธิอนามัยการเจริญพันธุ์ในกลุ่มวัยรุ่น ได้แก่ สิทธิตัดสินใจ
ด้วยตนเอง สิทธิได้รับข้อมูลข่าวสารและความรู้ การได้รับการบริการอนามัยการเจริญพันธุ์ได้รับการรักษาความลับและ
ความเป็นส่วนตัว ได้รับการจัดสวัสดิการสังคมอย่างเสมอภาคและไม่ถูกเลือกปฏิบัติ ที่จำเป็นต้องอาศัยหน่วยงานทั้ง
ภาครัฐ เอกชน และประชาสังคมร่วมกันขับเคลื่อน
51