Page 343 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 343
I3
อภิปรายผลการวิจัย
จากตารางแสดง ผลการใช้ประกันไต.. เติมสุข ร่วมกับการ Shared Decision Making
ผู้ป่วย ไตเรื้อรังระยะ 5 จากคลินิกชะลอไตเสื่อม จำนวน 75 ราย ตัดสินใจเลือก วิธีการบำบัด
ทดแทนไตจำนวน 56 ราย เลือกวิธีการบำบัดทดแทนไตด้วยวิธีการล้างไตทางช่องท้องจำนวน 20 ราย ผู้ป่วย
1 ราย เปลี่ยนวิธีการรักษาจากล้างไตทางช่องท้องไปฟอกเลือดด้วยเครืองไตเทียม จำนวน 1 รายเนื่องจาก
เหตุผลทางการแพทย์ จึงเหลือผู้ป่วย 19 รายคิดเป็นร้อยละ 57.57 และผู้ป่วยไตเรื้อรังระยะ 5 ที่เลือกวิธีการ
ล้างไตทางช่องท้องที่ผ่านการลงนามใน consent form แล้ว รอการวางสายล้างไตทางช่องท้องจำนวน 13 ราย
คิดเป็นร้อยละ 39.39 ผู้ป่วย ไตเรื้อรังระยะ 5 ที่เลือกวิธีการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมจำนวน 18 ราย
ฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมจำนวน 9 ราย คิดเป็นร้อยละ 50 และรอเข้าสู่กระบวนการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม
จำนวน 9 ราย คิดเป็นร้อยละ 50 ผู้ป่วยเลือก Palliative จำนวน 5 ราย เข้าสู่กระบวนการ Palliative ทั้งหมด
5 ราย คิดเป็นร้อยละ100 ผู้ป่วยรอการตัดสินใจ จำนวน 19 รายเนื่องจากกระบวนการ Shared Decision
Making ยังไม่ครบตามกรอบแนวคิด ในกระบวนการต้องมีญาติหรือครอบครัวร่วมในการตัดสินใจ ประสานงาน
กับ รพ.สต. ในการติดตามเยี่ยมผู้ป่วย ผ่าน line FCT Inburi หรือโปรแกรม smart COC
สรุปและข้อเสนอแนะ
สรุป ผลการใช้ประกันไต.. เติมสุข ร่วมกับการ Shared Decision Making สามารถช่วยให้ผู้ป่วยไต
เรื้อรังระยะที่ 5 เข้าใจข้อดี ข้อเสียของการบำบัดทดแทนไตแต่ละวิธี และสามารถเลือกวิธีการบำบัดทดแทนไต
ได้ตามความเหมาะสมกับตนเอง และไม่เป็นภาระกับครอบครัว มีคุณภาพชีวิตที่ดี และบุคคลากรมีการวางแผน
เรื่องการดูแลได้ตามมาตรฐาน
ข้อเสนอแนะ แบบประกันไต.. เติมสุข ร่วมกับการ Shared Decision Making สามารถนำไปประยุกต์ใช้
กับผู้ป่วยฟื้นฟูระยะกลาง เพื่อสร้างแรงจูงใจในการฟื้นฟูสภาพร่างกายและจิตใจ