Page 341 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 341
I1
ผลการใช้ ประกันไต.. เติมสุข ร่วมกับการ Shared Decision Making
ในการตัดสินใจเลือกวิธีการบำบัดทดแทนไตในผู้ป่วยไตเรื้อรังระยะที่ 5
คลินิกชะลอไตเสื่อมโรงพยาบาลอินทร์บุรี
นางชราพร ภาคีรุณ
โรงพยาบาลอินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี เขตสุขภาพที่ 4
ประเภท นวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์
ความสำคัญของปัญหา
ประเทศไทยมีนโยบาย PD First policy โดยผู้มีสิทธิบัตรทองถ้าจะต้องรับการบำบัดทดแทนไต
ต้องเลือกวิธีการล้างไตทางช่องท้องอันดับแรก ถ้าไม่มีข้อห้าม ก็ไม่สามรถไปฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมได้
และเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2565 มีนโยบายให้ผู้ป่วยสามารถเลือกวิธีการบำบัดทดแทนไตได้ โดยพิจารณา
ร่วมกับแพทย์ผู้ทำการรักษา (Shared Decision Making) เพื่อให้ผู้ป่วยเข้าถึงทุกบริการ ดังนั้นผู้ป่วยควร
พิจารณาเลือกวิธีการบำบัดทดแทนไตที่เหมาะสมกับตัวเอง เพราะหากเลือกวิธีที่ไม่เหมาะสมกับตัวเองก็อาจ
เกิดผลกระทบกับสุขภาพได้ ปัญหาที่พบในคลินิกชะลอไตเสื่อมคือ ผู้ป่วยไตเรื้อรังระยะที่ 5 ไม่ตัดสิ้นใจเลือก
วิธีการบำบัดทดแทนไต จึงทำให้มาฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมแบบฉุกเฉินคิดเป็นร้อยละ 3.4 ซึ่งวิธีการ
Shared Decision Making แบบเดิมคือ การให้ความรู้เรื่องโรคไต การปฏิบัติตัวด้านพฤติกรรมการควบคุม
อาหาร และการรับประทานยา ผ่านสื่อการสอน แต่ผู้ป่วยยังไม่ตัดสินใจ จนกว่าตนเองจะมาฟอกเลือดด้วย
เครื่องไตเทียมแบบฉุกเฉินจึงจะยอมรักษาต่อเนื่อง จากการสอบถามผู้ป่วยพบว่า กลัวเจ็บ กลัวเป็นภาระ
ลูกหลาน กลัวครอบครัวลำบาก รอให้ถึงสุดท้ายจริง ๆ ถึงจะยอมทำให้พยาบาลไตเทียมจัดการกับความคิด
ความเชื่อแบบนี้ยากมาก และพยาบาลไตเทียมได้นำคำตอบของผู้ป่วยดังกล่าว นำมาวิเคราะห์พร้อมกับหาทาง
แก้ไข ร่วมกับการทบทวนวรรณกรรม พบว่าพฤติกรรมของมนุษย์จะกลัวเรื่องการเปลี่ยนแปลงในชีวิตทุกๆด้าน
แต่การเปลี่ยนแปลงด้านสุขภาพจะเป็นเรื่องที่ให้ความสำคัญเป็นอันดับท้ายๆของชีวิต ดังนั้นวิธีการทำให้เกิด
ความเชื่อมั่น ลดความทุกข์ใจ โดยเพิ่มความเข้าใจที่ถูกต้อง และเพิ่มสิทธิประโยชน์ที่ควรได้รับอาจทำให้เกิด
แรงจูงใจและเห็นความสำคัญการกับเรื่องสุขภาพได้ดีขึ้น และตรงกับแนวคิดการประกัน ซึ่งเหตุผลที่ซื้อประกัน
เพราะ เราต้องการความมั่นคง ไม่เป็นภาระกับคนในครอบครัว แบ่งเบาภาระค่าใช้จ่าย และมั่นใจว่าครอบครัว
ไม่ลำบาก ประเด็นนี้ทำให้เกิดแรงบันดาลใจในการคิด แบบ ประกันไต..เติมสุข ขึ้นเพราะประกันไตแต่ละฉบับ
จะตอบความต้องการ และวิธีการบำบัดทดแทนไตได้แก่ การล้างไตทางช่องท้อง การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม
และการดูแลแบบประคับประคอง ดังนั้นประกันไต..เติมสุขร่วมกับการ Shared Decision Making จะช่วย
ลดการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมแบบฉุกเฉิน และเพิ่มการวางแผนในการบำบัดทดแทนไต บุคลากร
ทางการแพทย์ได้วางแผนในการดูแลรักษาได้ตามมาตรฐาน เพื่อการบริการที่มีดีและมีคุณภาพ
วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้ผู้ป่วยไตเรื้อรังระยะที่ 5 สามารถเลือกวิธีการบำบัดทดแทนไตได้เหมาะสมกับวิถีชีวิตของตนเอง
2. เพื่อให้แพทย์ พยาบาล ผู้ป่วยและครอบครัวสามารถร่วมกันวางแผน ในการดูแลผู้ป่วยได้อย่าง
เหมาะสม
วิธีการศึกษา
1. เตรียมข้อมูล (ค้นหาผู้ป่วย ไตเรื้อรังรยะ 5 จากคลินิกชะลอไตเสื่อม)
2. เตรียมแบบประเมินความพร้อมในการวางแผนการรักษาร่วมกัน