Page 48 - แนวทางการขอใช้ที่ศาสนสมบัติของหน่วยงาน
P. 48
48
กระบวนการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน มีดังนี้
ส่วนราชการที่ขอผาติกรรมจะประสานกับ ส านักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติและจังหวัด
เพื่อไปด าเนินการ โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินดังกล่าวให้กับส่วนราชการนั้น ๆ และด าเนินการแก้ไขหลักฐาน
ทางทะเบียน พร้อมทั้งรับเงินค่าผาติกรรมส่วนที่เหลือ (ถ้ามี)
กรณีที่วัดร้างหรือที่ศาสนสมบัติกลาง
ส านักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติมีอ านาจด าเนินการจดทะเบียนแบ่งเวนคืน
กรณีที่ธรณีสงฆ์หรือที่ดินที่ตั้งวัด
มีขั้นตอนด าเนินการดังนี้
(1) วัดในกรุงเทพมหานคร
วัดท าหนังสือถึงส านักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ มอบอ านาจให้ไปด าเนินการ
จดทะเบียนแบ่งเวนคืน
(2) วัดในส่วนภูมิภาค
(2.1) ประสานกับจังหวัด ในกรณีที่วัดที่ถูกเวนคืน ตั้งอยู่ในเขตเทศบาล
หรือสุขาภิบาลให้เจ้าอาวาสมอบอ านาจให้ส านักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดไปด าเนินการจดทะเบียน
แบ่งเวนคืน
(2.2) กรณีที่ดินวัดที่ถูกเวนคืนนั้นตั้งอยู่นอกเขตสุขาภิบาล ให้เจ้าอาวาสคัดเลือก
ทายก ทายิกาแห่งวัดนั้น จ านวน 2 หรือ 3 ท่าน เพื่อมอบอ านาจให้ไปด าเนินการแบ่งเวนคืน
เอกสารประกอบการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ (เวนคืน) มีดังนี้
(1) หนังสือส าคัญแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดิน (ที่ดินที่มีโฉนดที่ดินและหนังสือรับรองการท า
ประโยชน์ที่ดิน เช่น น.ส.4 จ., น.ส.4 ก., น.ส.3 ก., น.ส.3 และ น.ส.3 ข. เป็นต้น)
(2) หนังสือมอบอ านาจจากวัด (เฉพาะกรณีที่ธรณีสงฆ์และที่ดินที่ตั้งวัด)
(3) ส าเนาทะเบียนบ้านและส าเนาบัตรประจ าตัวประชาชนของผู้รับมอบอ านาจ
(4) ทะเบียนบ้านของวัด (เฉพาะกรณีที่ธรณีสงฆ์และที่ดินที่ตั้งวัด)
(5) ส าเนาใบสุทธิเจ้าอาวาส, ใบแต่งตั้งสมณศักดิ์ (ถ้ามี) (เฉพาะกรณีที่ธรณีสงฆ์และ
ที่ดินที่ตั้งวัด)
(6) ส าเนาใบตั้งวัด และส าเนาใบพระราชทานวิสุงคามสีมา (กรณีที่ได้รับพระราชทาน
วิสุงคามสีมา) (เฉพาะกรณีที่ธรณีสงฆ์และที่ดินที่ตั้งวัด)
(7) ถ้าไม่มีหลักฐานในข้อ 6 ให้ขอหนังสือรับรองสภาพวัดได้ที่ส านักงานพระพุทธศาสนา
แห่งชาติ (เฉพาะกรณีที่ธรณีสงฆ์และที่ดินที่ตั้งวัด)
(8) ส าเนาพระราชกฤษฎีกาก าหนดเขตที่ดินในบริเวณที่จะเวนคืนที่ตั้งวัด ที่ธรณีสงฆ์
ซึ่งส านักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติจะจัดส่งให้ ผู้รับมอบอ านาจจากวัดตามข้อ 1 หรือข้อ 2
จะน าหลักฐานข้อ 1 - 8 ไปยื่นที่ส านักงานที่ดินพื้นที่ซึ่งที่ดินวัดนั้นตั้งอยู่ เพื่อด าเนินการจดทะเบียน