Page 9 - แนวทางการขอใช้ที่ศาสนสมบัติของหน่วยงาน
P. 9
9
“ศาสนสมบัติแบ่งออกเป็นสองประเภท
(1) ศาสนสมบัติกลาง ได้แก่ ทรัพย์สินของพระศาสนาซึ่งมิใช่ของวัดใดวัดหนึ่ง
(2) ศาสนสมบัติของวัด ได้แก่ ทรัพย์สินของวัดใดวัดหนึ่ง
การดูแลรักษาและจัดการศาสนสมบัติกลาง ให้เป็นอ านาจหน้าที่ของส านักงาน
พระพุทธศาสนาแห่งชาติ เพื่อการนี้ให้ถือว่าส านักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ เป็นเจ้าของ
ศาสนสมบัติกลางนั้นด้วย
การดูแลรักษาและจัดการศาสนสมบัติของวัด ให้เป็นไปตามวิธีการที่ก าหนด
ในกฎกระทรวง”
3. ศาสนสมบัติกลาง (ศบก.) และวัดร้าง
3.1 ศาสนสมบัติกลาง
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 ได้ให้ความหมายศาสนสมบัติกลางไว้
ดังนี้ ศาสนสมบัติกลาง หมายถึง ทรัพย์สินของพระศาสนาโดยส่วนรวม ส่วนใหญ่ ได้แก่ ที่ดิน
อาคาร และดอกผลที่เกิดจากที่ดินและอาคารนั้นๆ รวมทั้งที่ดินวัดร้างทั่วประเทศที่ทางการได้ประกาศ
ยุบเลิกวัดแล้ว
3.2 วัดร้าง
วัดร้าง หมายถึง วัดที่ไม่มีพระภิกษุอยู่อาศัย
พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 32 ทวิ บัญญัติว่า
“วัดใดเป็นวัดร้างที่ไม่มีพระภิกษุอยู่อาศัย ในระหว่างที่ยังไม่มีการยุบเลิกวัด ให้ส านักงาน
พระพุทธศาสนาแห่งชาติ มีหน้าที่ปกครองดูแลรักษาวัดนั้น รวมทั้งที่วัด ที่ธรณีสงฆ์ และทรัพย์สิน
ของวัดนั้นด้วย
การยกวัดร้างขึ้นเป็นวัดมีพระภิกษุอยู่จ าพรรษา ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ และวิธีการ
ที่ก าหนดในกฎกระทรวง”
3.3 การดูแล รักษา และจัดการศาสนสมบัติกลาง และวัดร้าง
การดูแล รักษา และจัดการศาสนสมบัติกลาง ให้เป็นอ านาจหน้าที่ของส านักงาน
พระพุทธศาสนาแห่งชาติ เพื่อการนี้ให้ถือว่าส านักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ เป็นเจ้าของ
ศาสนสมบัติกลางนั้นด้วย