Page 111 - แผนปฏิบัติราชการ 2568
P. 111

- ๙๑ -

                         โครงการพัฒนาห้องฉุกเฉินคุณภาพและระบบรับส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉินไร้รอยต่อตามนโยบาย
                                       “One Province One ER” ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕68
                  ๑. หลักการและเหตุผล

                                การพัฒนาห้องฉุกเฉินคุณภาพและระบบรับส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉินไร้รอยต่อเป็นกระบวนการ
                  ที่มุ่งเน้นที่จะปรับปรุงและพัฒนาระบบด้านการบริการทางการแพทย์ให้มีประสิทธิภาพและมีคุณภาพสูงขึ้น
                  เพื่อให้ผู้ป่วยที่มีความเร่งด่วนได้รับการรักษาที่เหมาะสมและทันต่อเวลาทุกครั้งที่มีความจำเป็น โดยมีลักษณะ
                  การทำงานที่เน้นการปรับปรุงพื้นที่ห้องฉุกเฉินให้เหมาะสมกับการให้บริการและการดูแลผู้ป่วยโดยใช้เทคโนโลยี

                  ที่ทันสมัย เช่น การใช้ระบบ IT ในการจัดการข้อมูลผู้ป่วยและติดตามสถานะการรักษา การใช้อุปกรณ์
                  ทางการแพทย์ที่ทันสมัยเพื่อช่วยในการวินิจฉัยและรักษาอย่างมีประสิทธิภาพ การฝึกอบรมทีมแพทย์
                  และบุคลากรทางการแพทย์เพื่อเพิ่มความเชี่ยวชาญในการรับมือกับสถานการณ์ฉุกเฉิน และการจัดระบบรับส่ง
                  ต่อผู้ป่วยแบบไร้รอยต่อเพื่อลดเวลารอและเพิ่มความรวดเร็วในการตอบสนองต่อความเร่งด่วนของผู้ป่วย เพื่อให้

                  ประชาชนได้รับบริการอย่างเท่าเทียม ทั่วถึง ทันเวลาและปลอดภัย มีการพัฒนาเรื่องระบบการให้คำปรึกษา
                  ระหว่างห้องฉุกเฉิน โรงพยาบาลศูนย์และโรงพยาบาลลูกข่าย (Virtual ER) การพัฒนาห้องฉุกเฉินคุณภาพ
                  (ER คุณภาพ) และการพัฒนาระบบรับส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉินโดยใช้การบริหารจัดการรถพยาบาลแบบรวมศูนย์
                  (Ambulance Operation Center: AOC) การใช้เทคโนโลยีและการสื่อสารในการรับส่งต่อผู้ป่วยที่เหมาะสม

                  ในแต่ละพื้นที่ รวมถึงการธำรงรักษาบุคลากรการพัฒนาบุคลากรในการให้บริการผู้ป่วยฉุกเฉินและการรับส่งต่อ
                  ผู้ป่วยฉุกเฉินได้อย่างปลอดภัยและไร้รอยต่อ จึงได้จัดทำโครงการพัฒนาห้องฉุกเฉินคุณภาพและระบบรับส่งต่อ
                  ผู้ป่วยฉุกเฉินไร้รอยต่อตามนโยบาย “One Province One ER” ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ขึ้น เพื่อพัฒนา
                  ระบบบริการของสถานบริการแต่ละระดับให้ผู้เจ็บป่วยฉุกเฉินได้รับบริการดูแลรักษาอย่างเท่าเทียม ทั่วถึง

                  ทันเวลาและปลอดภัย

                  ๒. วัตถุประสงค์
                         2.1 เพื่อพัฒนาศักยภาพห้องฉุกเฉินของโรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป/โรงพยาบาลชุมชน
                  ให้สามารถรองรับผู้ป่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉินได้อย่างมีประสิทธิภาพ

                         2.2 เพื่อพัฒนาระบบบริหารจัดการการรับส่งต่อผู้ป่วยให้เชื่อมประสานกันเป็นเครือข่ายได้อย่าง
                  มีประสิทธิภาพและต่อเนื่อง
                         2.3 เพื่อพัฒนาบุคลากรผู้ปฏิบัติงานห้องฉุกเฉินและระบบรับส่งต่อผู้ป่วย

                  ๓. กลุ่มเป้าหมาย
                         3.1 ผลงานวิชาการหรือนวัตกรรมที่ได้รับการคัดเลือก
                         3.2 ผู้เข้าร่วมประชุมสัมมนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้การพัฒนาระบบบริการรับส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉินไร้รอยต่อ
                  จำนวน 200 คน ประกอบด้วย
                                   3.2.1 เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานห้องฉุกเฉินและศูนย์รับส่งต่อผู้ป่วยโรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป
                                   3.2.2 เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานรับส่งต่อผู้ป่วยระดับจังหวัด เขตสุขภาพ และส่วนกลาง

                  ๔. วิธีการดำเนินการ
                         4.1 ประชุมคณะกรรรมการอำนวยการพัฒนาระบบรับส่งต่อผู้ป่วยและคณะกรรมการด้านการพัฒนา
                  และจัดทำแนวทางการรับส่งต่อผู้ป่วย

                         4.2 ลงพื้นที่เยี่ยมติดตามการดำเนินงานพัฒนาระบบบริการสุขภาพด้านอุบัติเหตุและฉุกเฉิน
                  และระบบส่งต่อ



                                                                                        4.3 การประชุมสัมมนา…
   106   107   108   109   110   111   112   113   114   115   116