Page 118 - แผนปฏิบัติราชการ 2568
P. 118
- ๙๗ -
โครงการประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาระบบบริการสถานชีวาภิบาล
ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕68
๑. หลักการและเหตุผล
ประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มรูปแบบ โดยคาดการณ์ว่าในปี 2565 จะมี
ประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปคิดเป็นร้อยละ 20 ของประชากรทั้งหมด ส่งผลให้ความต้องการการดูแลผู้ป่วย
ประคับประคอง ผู้ป่วยระยะยาว และผู้สูงอายุเพิ่มสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ นอกจากนี้การเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง
ประชากรและรูปแบบการดำเนินชีวิตยังส่งผลให้อัตราการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) เพิ่มขึ้น ซึ่งนำไปสู่
ความจำเป็นในการดูแลระยะยาวและการดูแลแบบประคับประคอง การพัฒนาระบบบริการด้านสถานชีวาภิบาล
จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งในการรองรับความต้องการที่เพิ่มขึ้นนี้ สถานชีวาภิบาลที่มีคุณภาพจะช่วยยกระดับ
การดูแลผู้ป่วยแบบองค์รวม ลดภาระของโรงพยาบาล และเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยและครอบครัว
โดยมุ่งเน้นการดูแลทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ ในขณะเดียวกัน การใช้กัญชาทางการแพทย์
ได้รับ การยอมรับมากขึ้นในฐานะทางเลือกหนึ่งในการบรรเทาอาการของผู้ป่วยบางกลุ่ม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
ในการจัดการอาการปวด คลื่นไส้ อาเจียน และเพิ่มคุณภาพการนอนหลับ ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างมากสำหรับ
ผู้ป่วยระยะท้ายและผู้ป่วยที่ต้องการการดูแลแบบประคับประคอง การผนวกการใช้กัญชาทางการแพทย์
เข้ากับระบบการดูแลในสถานชีวาภิบาลจึงเป็นแนวทางที่มีศักยภาพในการพัฒนาคุณภาพการดูแลผู้ป่วย
โครงการนี้สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580) ในยุทธศาสตร์ที่ 3
ด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ และแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ประเด็นที่ 13
การเสริมสร้างให้คนไทยมีสุขภาวะที่ดี นอกจากนี้ยังสอดคล้องกับแผนปฏิบัติราชการของสำนักงาน
ปลัดกระทรวงสาธารณสุขและแผนปฏิบัติราชการของกระทรวงสาธารณสุข ในประเด็นการพัฒนาระบบบริการ
สุขภาพที่ทันสมัยและมีคุณภาพ ด้วยเหตุนี้ การจัดประชุมเพื่อพัฒนาระบบบริการด้านสถานชีวาภิบาลโดย
มุ่งเน้นการดูแลผู้ป่วยประคับประคอง ผู้ป่วยระยะยาว และผู้สูงอายุ พร้อมทั้งผนวกการใช้กัญชาทางการแพทย์
จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งในการเตรียมความพร้อมและพัฒนาศักยภาพของบุคลากรทางการแพทย์
และสาธารณสุข เพื่อรองรับความท้าทายด้านสุขภาพในอนาคตและยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนไทย
๒. วัตถุประสงค์
2.1 เพื่อพัฒนาระบบบริการด้านสถานชีวาภิบาลที่มีประสิทธิภาพ รองรับสถานการณ์การเข้าสู่สังคม
สูงวัยอย่างเต็มรูปแบบของประเทศไทย
2.2 เพื่อยกระดับการดำเนินงานสถานชีวาภิบาล ในการดูแลผู้ป่วยประคับประคอง ผู้ป่วยระยะยาว
และผู้สูงอายุ ให้ได้รับการดูแลอย่างมีคุณภาพ ได้มาตรฐาน
2.3 เพื่อบูรณาการการใช้แพทย์ทางเลือก การใช้กัญชาทางการแพทย์อย่างเหมาะสมและปลอดภัยใน
สถานชีวาภิบาล
2.4 เพื่อพัฒนาศักยภาพบุคลากรผู้ดำเนินงาน ผู้เกี่ยวข้องในการพัฒนาระบบริการด้านสถานชีวาภิบาลการ
พัฒนาบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขจะส่งผลต่อการยกระดับการดูแลสุขภาพของประชาชนทุกช่วงวัย
2.5 เพื่อขยายการดำเนินงานของสถานชีวาภิบาลให้ครอบคลุมและเพียงพอต่อการให้บริการผู้ป่วย
ประคับประคอง ผู้ป่วยระยะยาว และผู้สูงอายุ ตามบริบทของแต่ละพื้นที่
3. กลุ่มเป้าหมาย…