Page 128 - แผนปฏิบัติราชการ 2568
P. 128

- ๑๐๖ -


                         โครงการสนับสนุนเครือข่ายคลินิกโรคหืดและปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD & Asthma Clinic)
                                                    ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕68
                  ๑. หลักการและเหตุผล
                         โรคปอดอุดกั้นเรื้อรังเป็นสาเหตุสำคัญของอัตราการเจ็บป่วย และอัตราการตายของประชากรทั่วโลก
                  จากสถิติองค์การอนามัยโลกพบว่า ปัจจุบันมีผู้ป่วยที่เป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังประมาณ 210 ล้านคน

                  คิดเป็นร้อยละ 10 ของประชากรในวัยผู้ใหญ่ และคาดว่าเป็นสาเหตุการตายอันดับที่ 3 ของประชากรโลก
                  ในปี ค.ศ. 2030 และในปี ค.ศ. 2000 ผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังเสียชีวิต 2,750,00 คน เป็นอัตราการตาย
                  ร้อยละ 4.8 และเป็นสาเหตุการตายอันดับ 5 ของโรค รองจาก โรคหัวใจขาดเลือด โรคเส้นเลือดสมอง

                  การติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนล่าง และโรคเอดส์ อัตราการเสียชีวิตของคนไทยจากโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังเพิ่มขึ้น
                  1.3 เท่าในช่วง 15 ปี ที่ผ่านมา โดยมีอัตราการเสียชีวิตจากโรคปอดอุดกั้น เรื้อรัง 40 คน ต่อประชากร
                  100,000 คน ซึ่งผู้ป่วยที่เป็นโรคจะมีคุณภาพชีวิตที่ลดลงไม่สามารถทำงานหรือทำกิจกรรมได้เช่นคนปกติ
                  มีอาการโรคกำเริบบ่อยครั้ง มีอาการหายใจลำบาก เนื่องจากสมรรถนะภาพปอดลดลง ทำให้ต้องมารับการ

                  รักษาที่แผนกห้องฉุกเฉิน และนอนรับการรักษาในโรงพยาบาล และในที่สุดต้องใช้เครื่องหายใจ หรือรุนแรงถึง
                  ขั้นเสียชีวิตได้ ส่งผลให้สูญเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาจำนวนมาก ซึ่งเป็นภาระของผู้ป่วย และระบบบริการ
                  สาธารณสุข จากภาวะ Ac Exacerbation และอัตราการ Readmission โรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่เพิ่มสูงขึ้น
                  แต่หากมีการพัฒนาระบบบริการที่มีคุณภาพ มาตรฐานที่ครอบคลุมทั้งการวินิจฉัย การรักษาการฟื้นฟู

                  สมรรถภาพปอด การป้องกันการกำเริบเฉียบพลัน การเลิกบุหรี่ การดูแลที่บ้านและชุมชน ครอบคลุมด้วยการ
                  มีส่วนร่วมของเครือข่ายบริการสุขภาพในทุกระดับจะทำให้ลดอัตราป่วย อัตราการเกิด Ac Exacerbation และ
                  อัตราการ Readmission ของผู้ป่วย อีกทั้งลดภาระค่าใช้จ่ายทางด้านสุขภาพได้

                  ๒. วัตถุประสงค์

                         2.1 เพื่อพัฒนาระบบบริการระบบการดูแลผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังอย่างมีมาตรฐาน
                         2.2 เพื่อพัฒนาเครือข่ายคลินิกโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง
                         2.3 เพื่อพัฒนาศักยภาพบุคลากร/ผู้เกี่ยวข้องในการดูแลผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง

                  ๓. กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 903 แห่ง
                         3.1 โรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป ในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข

                       3.2 โรงพยาบาลชุมชนในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
                  ๔. วิธีการดำเนินการ

                         4.1 ประชุมคณะกรรมการ/อนุกรรมการ/คณะทำงานฯ
                             4.2 เยี่ยมเสริมพลังการดำเนินงานเครือข่ายคลินิกโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง
                         4.3 วิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงาน และสนับสนุนส่วนขาด เพื่อให้เกิดการพัฒนา

                             ดำเนินงานเครือข่ายคลินิกโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังอย่างมีประสิทธิภาพ
                         4.4 ประชุมวิชาการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้เครือข่ายคลินิกโรคหืดและปอดอุดกั้นเรื้อรังแบบง่าย
                         4.5 กำกับ ติดตามการดำเนินงานเครือข่ายคลินิกโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง





                                                                                                  ๕. ขั้นตอน…
   123   124   125   126   127   128   129   130   131   132   133