Page 40 - แผนปฏิบัติราชการ 2568
P. 40
- ๒๘ –
โครงการสร้างเสริมระบบการดูแลสุขภาพเพื่อรองรับผู้สูงอายุแบบบูรณาการ
ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕68
๑. หลักการและเหตุผล
สถานการณ์ผู้สูงอายุในประเทศไทยกำลังเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและมีความสำคัญอย่างมาก
ต่อการพัฒนาในทุกด้านของสังคมไทย ปัจจุบันประเทศไทยก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ (ageing society)
เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม ตลอดจนความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีการแพทย์และ
สาธารณสุข ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงประชากร อัตราการเกิด และอัตราการตายลดลงพร้อมกับอายุ
คาดเฉลี่ยที่ยืนยาวขึ้นของคนไทย ทำให้ประชากรผู้สูงอายุในประเทศไทยเพิ่มสูงขึ้น จากข้อมูลของ
กรมการปกครอง ระบุว่า ปัจจุบัน พ.ศ. 2567 ประเทศไทยมีประชากรที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปจำนวน 12.8
ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 19.4 ของจำนวนประชากรทั้งหมด และคาดการณ์ว่าภายในปี 2583
แนวโน้มประชากรผู้สูงอายุจะมีจำนวนเพิ่มขึ้นถึง 20.5 ล้านคน ในขณะเดียวกันก็มีผู้สูงอายุจำนวนมาก
ที่ต้องเผชิญกับโรคเรื้อรังและความเสื่อมทางกายภาพที่เกิดจากวัย จากข้อมูลสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข
พ.ศ. 2562 รายงานว่าโรคที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ ได้แก่ โรคหัวใจ โรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง
ซึ่งโรคเหล่านี้มีผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุและครอบครัวของพวกเขา การเพิ่มขึ้นของผู้สูงอายุ
จะส่งผลให้มีการใช้จ่ายด้านสุขภาพเพิ่มขึ้น ทั้งในระดับบุคคลและระดับชาติ
การเพิ่มขึ้นของประชากรสูงอายุส่งผลกระทบต่อระบบสาธารณสุขและการดูแลสุขภาพของประเทศ
ปัญหาด้านสุขภาพมีความแพร่หลายในกลุ่มผู้สูงอายุมากขึ้น ซึ่งส่งผลต่อคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่
ของผู้สูงอายุ รวมถึงครอบครัวที่จะต้องแบกรับภาระในการดูแล จากข้อมูลการคัดกรองสุขภาพผู้สูงอายุ 9 ด้าน
จำนวน 8,466,630 คน (HDC กระทรวงสาธารณสุข ณ วันที่ 30 ก.ย. 2567) พบความเสี่ยงด้านสุขภาพ
มากที่สุด คือ ด้านการมองเห็น ร้อยละ 6.41 รองลงมาคือด้านสุขภาพช่องปากร้อยละ 3.86 และด้าน
การเคลื่อนไหวร้อยละ 3.49 การต้องการบริการสุขภาพที่เฉพาะเจาะจงและการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุ
จะเพิ่มขึ้น ทำให้เกิดภาระทางการเงินและการบริหารจัดการทรัพยากรที่จำเป็นในการดูแลสุขภาพ ผลกระทบ
ทางเศรษฐกิจจากการเพิ่มขึ้นของประชากรสูงอายุยังเกี่ยวข้องกับการลดลงของแรงงานที่สามารถทำงานได้
ทำให้เกิดการขาดแคลนแรงงานในอนาคต นอกจากนี้ การดูแลผู้สูงอายุในครอบครัวเป็นภาระหนักสำหรับ
ครอบครัว โดยเฉพาะในครอบครัวที่มีรายได้น้อย ทำให้ครอบครัวต้องใช้ทรัพยากรในการดูแลผู้สูงอายุมากขึ้น
และอาจส่งผลต่อความมั่นคงทางการเงินของครอบครัว ในด้านสังคม การเปลี่ยนแปลงในโครงสร้างครอบครัว
และความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในครอบครัวจะส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในวิธีการดูแลและสนับสนุน
ผู้สูงอายุ จากประเมินสุขภาพของผู้สูงอายุและการมีผู้ดูแลของสำนักงานสถิติแห่งชาติ (2564) พบว่า ผู้สูงอายุ
ที่ได้รับการประเมินสุขภาพร้อยละ 89.6 อาศัยอยู่คนเดียวและไม่มีผู้ดูแล ทั้งนี้ การเพิ่มขึ้นของประชากร
สูงอายุต้องการการปรับปรุงและพัฒนาระบบบริการและโครงสร้างพื้นฐานให้สอดคล้องกับความต้องการ
ที่เพิ่มขึ้น เพื่อสร้างสังคมที่มีคุณภาพชีวิตที่ดีและยั่งยืนสำหรับทุกคน
กระทรวงสาธารณสุข เป็นหน่วยงานที่ดูแลสุขภาพคนไทยทั้งประเทศ การดำเนินงานรองรับ
ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี พ.ศ. 2561 - 2580 เรื่องการพัฒนาศักยภาพและคุณภาพของประชากรทุกช่วงวัย
เป็นปัจจัยท้าทายสำคัญต่อการพัฒนาประเทศ สอดคล้องกับนโยบายและทิศทางการดำเนินงานกระทรวง
สาธารณสุข ในการพัฒนาระบบสาธารณสุขให้เข้มแข็ง มีความมั่นคงทางสุขภาพยิ่งขึ้น โดยครอบคลุม
ทั้งมิติสุขภาพมิติสังคม มิติเศรษฐกิจ ด้วยแนวนโยบาย “สุขภาพคนไทยเพื่อสุขภาพประเทศไทย”
มุ่งเน้น...