Page 431 - แนวทางการพัฒนาการจัดระบบบริการสุขภาพ
P. 431
สรุปภาพรวมการจัดการอบรม โครงการพระบริบาลพระภิกษุ ๑ วัด ๑ รูป ทั่วไทย
ของสถาบันพระบรมราชชนก
วิทยาลัยในสังกัดคณะพยาบาลศาสตร์ และคณะสาธารสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรม
ราชชนกทั้ง ๓๙ แห่ง จัดกิจกรรมอบรมถวายความรู้แด่พระภิกษุ กลุ่มเป้าหมายจำนวน 9,๗๘๘ รูป เป็น
ระยะเวลา 3-๕ วัน (๓๐ ชั่วโมง) ระหว่างวันที่ ๗ กุมภาพันธ์ - ๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๖ เป็นการจัดใน
รูปแบบ On-site และ Online ได้รับงบสนับสนุนจากสถาบันพระบรมราชชนก และการจำหน่ายเสื้อยืด
จำนวน ๘,๒๑๒ ตัว
การประเมินผลตามตัวชี้วัดโครงการ
๑. มีพระภิกษุเข้ารับการถวายความรู้จากแผนการดำเนินไว้ที่กำหนดครบทั้ง ๗๗ จังหวัด จำนวน
9,๗๘๘ รูป ซึ่งสูงกว่ากลุ่มเป้าหมายที่ตั้งไว้ คิดเป็นร้อยละ ๑๐๔.๕๗
๒. ร้อยละ ๙๗.๑๒ ของพระภิกษุที่เข้าร่วมโครงการ มีองค์ความรู้และทักษะในการสร้างเสริมสุขภาพ
และป้องกันโรค เพิ่มขึ้นภายหลังได้รับการอบรม
๓. ร้อยละ 97.๒๗ ของพระภิกษุที่เข้าร่วมโครงการ มีความรู้และทักษะในการบริบาลพระภิกษุไข้ใน
ระดับดีขึ้นไป
๔. พระภิกษุที่เข้าร่วมโครงการมีความพึงพอใจต่อโครงการในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย ๔.๕๒) โดย
พระภิกษุมีความเห็นไปในทางเดียวกันว่า โครงการนี้เป็นโครงการที่มีประโยชน์ มีโอกาสฝึกปฏิบัติทักษะการ
ดูแลสุขภาพ จึงสามารถนำไปใช้ในการดูแลสุขภาพของตนเองและช่วยบริบาลพระภิกษุไข้ในวัด รวมถึงช่วย
แนะนำประชาชนในชุมชนได้
๕. สถาบันพระบรมราชชนกสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการทั้งสิ้น 4,741,990 บาท
(สี่ล้านเจ็ดแสนสี่หมื่นหนึ่งพันเก้าร้อยเก้าสิบบาทถ้วน)
บทเรียนสำคัญ
บทเรียนสำคัญที่พบจากการจัดโครงการครั้งนี้คือ พระภิกษุเป็นผู้มีความพร้อมและใฝ่รู้ที่จะรับการ
ถวายองค์ความรู้ด้านการดูแลสุขภาพ ทั้งนี้สาระความรู้ที่จัดถวายควรเป็นเรื่องสุขภาพใกล้ตัวและต้องจัดควบคู่
กับการฝึกทักษะปฏิบัติ เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจและนำความรู้ไปใช้ได้จริง อย่างไรก็ตาม ความรู้และ
ทักษะอาจลดลงเมื่อเวลาผ่านไป ดังนั้น เจ้าหน้าที่สาธารณสุขในพื้นที่ควรจัดถวายความรู้ด้านสุขภาพแด่
พระภิกษุเป็นระยะ เช่นเดียวกับการสร้างเสริมสุขภาพประชากรกลุ่มอื่น
22