Page 470 - แนวทางการพัฒนาการจัดระบบบริการสุขภาพ
P. 470

ตัวชี้วัด               ผลการดำเนินงาน      คิดเป็นร้อยละ     การบรรลุเป้าหมาย
                 3. ร้อยละของพระภิกษุที่เข้ารับการอบรม        พระที่มีความรู้และ  ๑๐๐.00   เกณฑ์ ร้อยละ ๙0
                 ที่มีความรู้และทักษะในการบริบาลพระภิกษุไข้ ทักษะการปฏิบัติ                 บรรลุ
                 ในระดับดีขึ้นไป                       ในระดับดีขึ้นไป                      ไม่บรรลุ

                                                       ๒๕๓ รูป              (N = ๒๕๓)
                 4. ค่าเฉลี่ยความพึงพอใจต่อโครงการ     ค่าเฉลี่ย = ๔.๗๑    พอใจมาก (3.51-4.50)
                                                       (เต็ม ๕ คะแนน)     พอใจมากที่สุด (๔.๕๑ ขึ้นไป)


               จุดเด่นของการจัดอบรม
                       ๑) ได้รับการสนับสนุนจากท่านผู้มีจิตศรัทธาร่วมทำบุญ ได้แก่ รุ่น ๑ ยอดรวม ๙๕,๖๐๐ บาท
               โอนโดยตรงเข้าบัญชีวัดบ้านแถว จ.พิษณุโลก รุ่น ๒ ยอดรวม ๑๑๗,๔๙๘ บาท โอนโดยตรงเข้าบัญชี วัดพระธาตุ

               ผาซ่อนแก้ว จ.พิษณุโลก รวมยอดเงินทำบุญ ๒๑๓,๐๙๘ บาท
                       ๒) สถานที่ในการจัดโครงการมีความพร้อมทุกด้าน ได้แก่ ห้องประชุม ที่พักของพระสงฆ์ โรงทาน
               พร้อมทั้งเครื่องเสียงและจอฉายภาพ กำลังคนของเจ้าหน้าที่ของวัด และจิตอาสามาร่วมแรงร่วมใจอย่าง

               ไม่เหน็ดเหนื่อย วัดมีระเบียบอย่างชัดเจนทำให้เกิดความเป็นระเบียบเรียบร้อย ห้องน้ำสะอาด และได้รับความ
               เมตตาและได้รับการสนับสนุนจากเจ้าอาวาสวัดทั้ง ๒ แห่ง รวมทั้งได้รับการสนับสนุนจากเจ้าคณะจังหวัด
               พิษณุโลก และจังหวัดเพชรบูรณ์ คณะสงฆ์เป็นอย่างดี
                       ๓) มีกลุ่มแอปพลิเคชัน Line ของพระสงฆ์ที่เข้าอบรม และมีการติดตามผลการจัดอบรม โดยพบว่า
               มีพระสงฆ์หลังกลับไปประจำวัดได้จัดซื้อเครื่องวัดสัญญาณชีพมาประจำที่วัด จิตอาสาช่วยโรงพยาบาลส่งเสริม

               สุขภาพตำบลใกล้วัดในการตรวจคัดกรองสุขภาพพระสงฆ์ที่วัด และมีปฐมพยาบาลพระสงฆ์และญาติโยมที่มาวัด

               ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนา
                       ๑) เนื่องจากโครงการมีเพียงงบประมาณส่วนวัสดุ ในการจัดโครงการครั้งต่อไป ควรมีแผนการจัดสรร
               งบประมาณด้านภัตตาหารของพระสงฆ์เป็นหลัก

                       ๒) การถวายภัตตาหารเช้าและเพล ควรเป็นลักษณะของบุพเฟ่ เนื่องจากการจัดเป็นโต๊ะจะต้องใช้
               กำลังคนค่อนข้างมาก ในการถวายและการเก็บล้างต่างๆ ๓) ตารางการจัดกิจกรรมของพระภิกษุในส่วนการฉัน
               ภัตตาหารเวลาจะไม่ตรงกับประชาชนทั่วไป จึงควรมีการวางแผนกับวิทยากรถึงการเดินทางมาถวายความรู้
               เพื่อบริหารจัดการเวลาให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น






















                                                           61
   465   466   467   468   469   470   471   472   473   474   475