Page 59 - คู่มือช่วยเหลือผู้หญิงตั้งครรภ์ไม่พร้อม
P. 59
หลังการปรึกษาทางเลือก ผู้ใช้บริการที่ประสบปัญหาท้องไม่พร้อมจ�านวนหนึ่งเลือกที่จะ
ตั้งครรภ์ต่อไป บางรายต้องการยุติการตั้งครรภ์ แต่ก็พบว่ามีอายุครรภ์เกินกว่าจะยุติได้อย่าง
ปลอดภัย ดังนั้น การดูแลวัยรุ่นและหญิงตั้งครรภ์ที่ไม่พร้อม จึงมีความละเอียดอ่อนมากกว่า
การดูแลผู้ตั้งครรภ์ที่มีความพร้อมทั่วไป ทั้งนี้พบว่า ความไม่พร้อมหรือไม่เต็มใจที่จะตั้งครรภ์
ท�าให้ผู้ใช้บริการจ�านวนหนึ่ง มีความเครียด ซึมเศร้า มีการท�าร้ายตนเอง หรือบางรายคิดถึง
การฆ่าตัวตาย โดยความรุนแรงของปัญหาทางใจนี้ ขึ้นอยู่กับสาเหตุของการตั้งครรภ์และ
ความสามารถในการรับมือกับปัญหาของแต่ละบุคคล โดยส่วนใหญ่ ผู้ใช้บริการเหล่านี้จึงมัก
ขาดการดูแลใส่ใจสุขภาพตัวเองตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์
การรู้ข้อมูลเบื้องต้นถึงสาเหตุการตั้งครรภ์ การไม่สามารถยุติการตั้งครรภ์ได้ ตลอดจนสภาวะ
แวดล้อมที่ผู้หญิงผู้ประสบปัญหาท้องไม่พร้อมต้องเผชิญ ก่อนที่จะมาถึงการตัดสินใจตั้งครรภ์ต่อไป
จึงมีความส�าคัญเพื่อจัดระบบบริการในโรงพยาบาล การดูแลจึงควรครอบคลุมทั้งกาย-ใจ และ
สังคมของผู้ใช้บริการ ให้สอดคล้องกับความต้องการและสภาพปัญหา โดยมีเป้าหมายเพื่อ
การตั้งครรภ์อย่างมีคุณภาพ ทารกที่คลอดออกมาได้รับการเลี้ยงดูอย่างเหมาะสมตามฐานะของ
ครอบครัวและชุมชน เพื่อมีชีวิตต่อไปอย่างมีคุณภาพ เป็นก�าลังส�าคัญในการพัฒนาประเทศ และ
ไม่เป็นภาระของสังคม
สถานบริการสุขภาพจึงต้องมีกระบวนการท�างาน เพื่อวางแผนการดูแลอย่างเป็นองค์รวม
ทั้งในด้านการดูแลสุขภาพที่สอดคล้องกับสภาพปัญหาอย่างต่อเนื่องระหว่างการตั้งครรภ์
ความช่วยเหลือด้านที่พักรอคลอด และการดูแลหลังคลอดที่สอดคล้องกับความต้องการ รวมทั้ง
ทางเลือกในการดูแลเลี้ยงดูทารกที่สอดคล้องกับศักยภาพที่เป็นจริงของผู้ประสบปัญหาท้องไม่พร้อม
โดยมีแนวทางการท�างาน ที่ครอบคลุมทั้งในด้านสุขภาพกาย-ใจ และสังคม สามารถแบ่งออกเป็น
ขั้นตอนต่างๆ ดังนี้
1. การประเมินผู้ใช้บริการ
2. การดูแลระหว่างการตั้งครรภ์
3. การดูแลหลังคลอดและการให้ค�าปรึกษาทางเลือก
4. การติดตามดูแลช่วยเหลือต่อเนื่อง (หลังตัดสินใจทางเลือก)
โดยมีผังภาพแนวทางการให้บริการดังต่อไปนี้
56 คู่มือการช่วยเหลือผู้หญิงตั้งครรภ์ไม่พร้อมของศูนย์พึ่งได้