Page 63 - คู่มือช่วยเหลือผู้หญิงตั้งครรภ์ไม่พร้อม
P. 63
ข้อควรระวัง: การตั้งครรภ์ที่ไม่พร้อมจะเผชิญภาวะความเสี่ยงทางสุขภาพหลายประการ
จึงต้องมีการเฝ้าระวังความเสี่ยงนั้นตลอดการตั้งครรภ์ มีการเน้นย�้านัดหมายการฝากครรภ์
รวมทั้งเฝ้าระวังการที่ผู้ใช้บริการอาจตัดสินใจไปยุติการตั้งครรภ์ที่ไม่ปลอดภัยได้ ดังนั้น จึงควร
มีการติดตามสภาพจิตสังคมของผู้ใช้บริการเป็นระยะๆ จนกระทั่งคลอดบุตร
สถานบริการสุขภาพ และบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการดูแลหญิงตั้งครรภ์ จึงควรจัดบริการ
ฝากครรภ์ที่เข้าใจธรรมชาติ และความต้องการของผู้หญิงที่ท้องไม่พร้อมจึงมีความส�าคัญ โดย
ค�านึงถึงประเด็นดังต่อไปนี้ 16
• มีทัศนคติที่ดี ท�าความเข้าใจปัญหา ให้เวลา ให้คุณค่า และ ให้เกียรติต่อผู้ใช้บริการ
ไม่ซ�้าเติม ไม่พูดจาต�าหนิหรือส่อเสียด
• ควรให้การดูแลต่อเนื่องโดยกลุ่มบุคลากรอย่างต่อเนื่องเพื่อสร้างความไว้วางใจ โดยอาจ
จัดเป็นคลินิกฝากครรภ์ส�าหรับวัยรุ่น หรือ ผู้หญิงที่ท้องไม่พร้อมโดยเฉพาะขึ้นอยู่กับ
บริบทของสถานบริการ
• จัดบริการที่มีลักษณะความเป็นส่วนตัว เป็นมิตร ปลอดภัย รู้สึกสบายใจ และเข้าถึงง่าย
• สร้างความเชื่อมั่น สร้างศักยภาพ ให้กับผู้ใช้บริการในการเดินไปข้างหน้าอย่างมั่นใจ
• ให้ข้อมูลที่เพียงพอ และให้ความมั่นใจในการรักษาความลับของผู้ใช้บริการ
• สร้างการมีส่วนร่วมของครอบครัวของผู้ใช้บริการ มีกระบวนการที่ท�าให้บุคคลในครอบครัว
ยอมรับและมีส่วนร่วมในการดูแล
• ในกรณีที่ผู้ใช้บริการอยู่ที่บ้านพักรอคลอด ควรประสานงานอย่างใกล้ชิดกับเจ้าหน้าที่
บ้านพักฯ เพื่อการดูแลอย่างรอบด้านร่วมกัน
• ร่วมกับฝ่ายอื่นๆ ในโรงพยาบาล หรือ หน่วยงานอื่นๆ จัดกิจกรรมเพื่อการเตรียมตัว
คลอด การเลี้ยงดูหลังคลอด การค้นหาศักยภาพของตนเอง การเตรียมตัวเป็นแม่เลี้ยงเดี่ยว
รวมทั้งการวางแผนชีวิตหลังคลอด ซึ่งมีความละเอียดอ่อนที่แตกต่างจากการจัดกิจกรรม
ให้กับผู้ใช้บริการที่ตั้งครรภ์ที่มีความพร้อม
• ควรให้ผู้ใช้บริการมีส่วนร่วมมากที่สุดในทุกขั้นตอนของการให้บริการ
16 เอมอร รตินธร, 2557
60 คู่มือการช่วยเหลือผู้หญิงตั้งครรภ์ไม่พร้อมของศูนย์พึ่งได้