Page 79 - คู่มือช่วยเหลือผู้หญิงตั้งครรภ์ไม่พร้อม
P. 79

ตารางที่ 11  แนวทางในการสังเกต เพื่อประเมินความรู้สึกและให้ข้อมูลก่อนยุติการตั้งครรภ์

                  ความรู้สึกที่มักพบในผู้ป่วย             แนวทางการสังเกต/ให้ข้อมูล

             1.  กลัวคนรอบข้างรู้และถูกประณาม •  พูดคุยเพื่อให้ผู้ป่วยเข้าใจว่า ผู้หญิงมีสิทธิในร่างกาย
             2.  รู้สึกบาปที่ท�าลายตัวอ่อนในท้อง    ของตนเอง มีสิทธิได้รับบริการที่ปลอดภัย และ
             3.  กลัวถูกจับเนื่องจากท�าผิดกฎหมาย    หน้าที่ของแพทย์และพยาบาล คือ ให้ความช่วย
             4.  กลัวคนในครอบครัว/สามีจะรับไม่ได้   เหลือที่ปลอดภัย
             5.  เกรงว่าใบรับรองแพทย์เขียนว่า    •  ให้ความมั่นใจว่าข้อมูลการรักษาจะถูกเก็บไว้ใน

                “ท�าแท้ง”                           แฟ้มประวัติคนไข้และเป็นความลับ
             6.  เกรงว่าจะเบิกค่ารักษาพยาบาลจาก  •  ในบางครั้ง  ผู้ให้บริการอาจต้องมีการสื่อสารกับ
                ประกันสุขภาพไม่ได้  และตนเองก็      คนในครอบครัวหรือสามี เพื่อให้เข้าใจผู้ป่วยและ
                ไม่มีเงินจ่าย                       สามารถให้การสนับสนุนเยียวยาทางจิตใจได้

             7.  สับสน  กลัวอย่างไม่มีสาเหตุไม่  •  ให้ตระหนักว่าผู้ป่วยอาจมีปัญหาเรื่องความรุนแรง
                ต้องการกลับบ้าน  ไปพบเพื่อนที่      ในครอบครัวเกิดขึ้นได้ ควรส่งต่อให้การปรึกษา
                ท�างานหรือโรงเรียน                  และให้ความช่วยเหลือ




                 2) วิธีการยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัย
                   เทคโนโลยีทางการแพทย์ในปัจจุบันสามารถช่วยให้การยุติการตั้งครรภ์เป็นไปอย่างปลอดภัย
            มากขึ้น โดยองค์การอนามัยโลก  ได้ก�าหนดให้การยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัย ตามอายุครรรภ์
                                        20
            สามารถท�าได้ด้วยวิธีการต่อไปนี้ 21
                 การดูดเนื้อรกจากโพรงมดลูก (Manual Vacuum Aspiration: MVA) วิธีการนี้สามารถ

            ท�าได้จนถึงอายุครรภ์ 10-12 สัปดาห์ อุปกรณ์ที่ใช้งานดังกล่าว มีลักษณะเป็นหลอดพลาสติกขนาด
            ต่างๆ ประกอบคู่กับกระบอกดูดสุญญากาศ เมื่อแพทย์สอดหลอดพลาสติกเข้าไปในโพรงมดลูก
            สามารถดูดชิ้นเนื้อออกจากโพรงมดลูกได้  ซึ่งสามารถท�าให้เกิดการแท้งสมบูรณ์ได้เกือบร้อยละ
            100  กระทรวงสาธารณสุข  และ  ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย  ได้การจัดอบรม
            สูตินรีแพทย์ให้มีทักษะในการใช้ MVA อย่างกว้างขวาง ปัจจุบัน สถานพยาบาลทั้งภาครัฐ และ

            เอกชนที่ให้บริการยุติการตั้งครรภ์ที่อายุครรภ์ไม่เกิน  12  สัปดาห์  จะใช้วิธีการนี้ในการยุติการ
            ตั้งครรภ์ ซึ่งสามารถให้บริการได้โดยไม่ต้องมีการพักค้างคืน

                 การใช้ยายุติการตั้งครรภ์ (Medical Abortion) ยาที่ใช้ในการยุติการตั้งครรภ์มี 2 ขนาน
            คือ Mifepristone (หรือที่รู้จักกันในชื่อ RU486) และ Misoprostol (หรือที่รู้จักกันในชื่อการค้า
            Cytotec®) ในประเทศไทย Mifepristone ปัจจุบัน (สิงหาคม 2557) ยังอยู่ในระหว่างการขึ้น




                   20 World Health Organization (WHO), 2012
                   21 คณะอนุกรรมการประชาสัมพันธ์ด้านสุขภาพสตรี ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย, 2553


      76       คู่มือการช่วยเหลือผู้หญิงตั้งครรภ์ไม่พร้อมของศูนย์พึ่งได้
   74   75   76   77   78   79   80   81   82   83   84