Page 80 - คู่มือช่วยเหลือผู้หญิงตั้งครรภ์ไม่พร้อม
P. 80
ทะเบียน โดยส�านักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข ส่วน Misoprostol
เป็นยาควบคุมพิเศษ วิธีการยุติการตั้งครรภ์ด้วยยา แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ
1. การใช้ยา Mifepristone (RU486) ร่วมกับ Misoprostol ในช่วงอายุครรภ์ก่อน
9 สัปดาห์ ซึ่งมีอัตราการแท้งสมบูรณ์ได้มากกว่าร้อยละ 95 ตั้งแต่ปี 2554 เป็นต้นมา
ประเทศไทยได้มีการน�าวิธีการใช้ยาร่วมนี้ มาให้บริการน�าร่องใน 4 โรงพยาบาล เพื่อ
ก�าหนดแนวทางในการให้บริการที่เหมาะสม ซึ่งผลในเบื้องต้นพบว่าประสิทธิภาพของ
การใช้ยาคือร้อยละ 97.0 ต่อมาได้ขยายการศึกษาออกไปในระยะที่ 2 ในปี 2556
22
มีโรงพยาบาลที่เข้าร่วมโครงการ 5 แห่ง ล่าสุดในเดือนสิงหาคม 2557 ทางกรมอนามัย
กระทรวงสาธารณสุข ได้ขยายการน�าร่องในระยะที่ 3 โดยให้โรงพยาบาลในสังกัด
กระทรวงสาธารณสุขที่สนใจสมัครเข้าร่วมอบรม มีโรงพยาบาลที่สนใจทั่วประเทศ
เข้าร่วมโครงการจ�านวนมาก
2. การใช้ยา Misoprostol เพียงอย่างเดียว ในกรณีที่อายุครรภ์อยู่ในช่วง 12-20 สัปดาห์
สามารถท�าให้เกิดการแท้งสมบูรณ์ได้มากกว่าร้อยละ 80 ขึ้นไป โดยมีโรงพยาบาล
ในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขจ�านวนหนึ่ง ใช้วิธีการนี้ในการยุติการตั้งครรภ์
ในปี 2557 ประเทศไทยโดยกระทรวงสาธารณสุข ได้ร่วมกับประเทศต่างๆ ทั่วโลก ศึกษา
สูตรและการใช้ยายุติการตั้งครรภ์ที่เหมาะสมในอายุครรภ์ 10-14 สัปดาห์ ซึ่งผลการศึกษาจะเป็น
แนวทางในระดับโลกที่องค์การอนามัยโลกจะได้จัดท�าเป็นแนวทางให้กับนานาประเทศต่อไป
การขูดมดลูก (D&C: Dilatation and Curettage) หรือ การใช้อุปกรณ์ทางการแพทย์
เพื่อน�าเอาเนื้อเยื่อของมดลูกออกมา องค์การอนามัยโลกได้ระบุไว้ในวิธีทางการแพทย์เพื่อการยุติ
การตั้งครรภ์ว่าเป็นวิธีการที่ล้าสมัย และควรจะถูกแทนที่ด้วยวิธีการดูดเนื้อรกจากโพรงมดลูก
(MVA) หรือวิธีการใช้ยา ปัจจุบันกระทรวงสาธารณสุข โรงเรียนแพทย์ และราชวิทยาลัย
23
สูตินรีแพทย์ ก็มีความพยายามที่ยกเลิกวิธียุติการตั้งครรภ์ด้วยการขูดมดลูก จากรายงานของ
ส�านักอนามัยการเจริญพันธุ์ในปี 2555 พบว่ามีการยุติการตั้งครรภ์ด้วยวิธีนี้อยู่ถึงร้อยละ 16
5.3 แนวทางการส่งต่อบริการยุติการตั้งครรภ์
สิ่งที่สถานพยาบาลสามารถด�าเนินการได้ในกรณีที่ไม่มีบริการยุติการตั้งครรภ์ในโรงพยาบาล
คือ การส่งต่อไปยังหน่วยงานที่ให้บริการยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัย แนวทางในการส่งต่อเพื่อยุติ
การตั้งครรภ์นี้ ได้มีประกาศราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย เกี่ยวกับการยุติการตั้งครรภ์
24
ม.157 ในปี 2554 สาระส�าคัญคือข้อแนะน�าบุคลากรในการส่งต่อยุติการตั้งครรภ์ในกรณี
เกินขีดความสามารถในการให้บริการของโรงพยาบาล โดยระบุไว้ดังต่อไปนี้
22 U Jaisamrarn et. al., 2013
23 World Health Organization (WHO), 2012
24 รายวิทยาลัยสูตินรีแพทย์, 2554
คู่มือการช่วยเหลือผู้หญิงตั้งครรภ์ไม่พร้อมของศูนย์พึ่งได้ 77