Page 98 - คู่มือช่วยเหลือผู้หญิงตั้งครรภ์ไม่พร้อม
P. 98
วางแผนงาน ก�าหนดทิศทาง และแนวทางในการด�าเนินงานร่วมกับเครือข่ายฯ ครอบคลุมทั้ง
ในด้านการป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พร้อม และ การดูแลช่วยเหลือเมื่อเกิดปัญหา อีกทั้งสามารถ
น�าข้อมูลผลการด�าเนินงานเสนอต่อคณะกรรมการที่เกี่ยวข้องต่างๆ ในจังหวัด เพื่อใช้ในการสร้าง
ความตระหนักต่อปัญหา และความก้าวหน้าในการด�าเนินงาน รวมทั้งวิเคราะห์ช่องว่างที่ต้องพัฒนา
เพื่อต่อยอดแก้ปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อมได้อย่างเป็นรูปธรรม
การท�างานเป็นเครือข่าย ยังท�าให้สามารถแสวงหาแหล่งสนุนในการด�าเนินงานต่างๆ ที่
เกี่ยวข้องกับการป้องกันดูแลในประเด็นท้องไม่พร้อม ซึ่งศูนย์พึ่งได้และเครือข่ายฯ ควรวิเคราะห์
โอกาสของแหล่งทุนสนับสนุนต่างๆ เพื่อน�ามาสนับสนุนการด�าเนินงาน แหล่งทุนต่างๆ สามารถ
จ�าแนกได้ดังต่อไปนี้
1) การช่วยเหลือสวัสดิการสังคมผู้ประสบปัญหาเฉพาะราย สามารถติดต่อขอ
ความช่วยเหลือได้ที่หน่วยงานต่างๆ อาทิเช่น
• ส�านักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด เป็นการช่วยเหลือผู้ประสบ
ปัญหาทางสังคมกรณีฉุกเฉิน และ การสงเคราะห์เด็กในครอบครัวยากจน เป็นต้น
(ดูรายละเอียดได้ในภาคผนวกที่ 4)
• ส�านักงานยุติธรรมจังหวัด ในกรณีที่ผู้ประสบปัญหาท้องไม่พร้อมเป็นผู้เสียหายที่ได้รับ
ความเสียหายจากการกระท�าผิดอาญาของผู้อื่น โดยการกระท�าอนาจาร หรือข่มขืนก็มี
สิทธิรับค่าตอบแทนจากรัฐ (ดูรายละเอียดได้ในภาคผนวกที่ 4)
• องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น มีงบประมาณสวัสดิการสังคม เพื่อให้ความช่วยเหลือผู้ด้อย
โอกาสในท้องถิ่นที่หน่วยงานรับผิดชอบ
2) การสนับสนุนงบประมาณเพื่อการด�าเนินงานป้องกันและดูแลการตั้งครรภ์ไม่พร้อม
ในแต่ละจังหวัด จะมีแหล่งสนับสนุนเงินทุนเพื่อด�าเนินกิจกรรมการพัฒนาที่สอดคล้องกับนโยบาย
ของจังหวัด ปัจจุบันการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่นจัดเป็นปัญหาในระดับชาติ ท�าให้จังหวัดต่างๆ
ให้ความส�าคัญต่อการสนับสนุนงบประมาณในการด�าเนินงาน การสนับสนุนดังกล่าวมีในทุกระดับ
ทั้งในระดับจังหวัด อ�าเภอ ต�าบล และชุมชน ดังนั้น เครือข่ายการท�างานด้านป้องกันและดูแลการ
ตั้งครรภ์ไม่พร้อมจึงควรวิเคราะห์แหล่งทุนในระดับจังหวัด โดยการท�าความเข้าใจวัตถุประสงค์
ขอบเขตการสนับสนุนของแต่ละแหล่งทุน เพดานเงิน และกรอบเวลาในการเสนอขอทุนที่อาจ
แตกต่างไปจากแผนปีงบประมาณในส่วนของทางราชการ พร้อมวางแผนกรอบเวลาการด�าเนินงาน
ให้สอดคล้อง และเตรียมพร้อมการบริหารจัดการโครงการให้สอดคล้องรองรับกับเงื่อนไขของ
แหล่งทุนได้ ตัวอย่างแหล่งทุนได้แก่
• งบพัฒนาจังหวัด การเสนอแผนงานโครงการผ่านไปทางผู้ว่าราชการจังหวัด
• กองทุนหลักประกันสุขภาพ ขอสนับสนุนผ่านส�านักงานสาธารณสุขจังหวัด หรือจาก
ส�านักงานหลักประกันสุขภาพระดับเขต เพื่อด�าเนินงานในด้านส่งเสริมสุขภาพและป้องกัน
โรคได้ ซึ่งรวมทั้งประเด็นการตั้งครรภ์ไม่พร้อม ส�าหรับกองทุนหลักประกันสุขภาพต�าบล
คู่มือการช่วยเหลือผู้หญิงตั้งครรภ์ไม่พร้อมของศูนย์พึ่งได้ 95