Page 94 - รพ.บุษราคัม
P. 94
เรื่องเล่า...โรงพยาบาลบุษราคัม
“การทำงานในขณะที่ใส่ชุด PPE ไปด้วยนี่เหนื่อยมากนะ ล้างห้องน้ำปกติก็สภาพ
เหนื่อยอยู่แล้ว แต่ล้างขณะใส่ชุด PPE นี่จะเป็นลม แล้วคนทั้งฮอลล์ใช้ลองคิดดูว่ามันจะมีเป็น
แบบไหน บางคนใช้แล้วไม่กดอุจจาระนี่ลอยเต็มโถเลย ผู้ป่วยบางคนไปห้องน้ำ
ไม่ทันก็ถ่ายเรี่ยราดตามพื้น เราก็ต้องคอยเก็บ มีถึงขนาดถ่ายบนอ่างน้ำ เราก็ต้องทำความสะอาด”
“ยอมรับว่าช่วงแรก ๆ ทั้งรังเกียจแล้วก็โมโหนะ ที่เราต้องมาคอยเก็บกวาดทำความสะอาด
อะไรแบบนี้ ขึ้นชื่อว่าอุจจาระปัสสาวะ มันก็เป็นสิ่งสกปรกอยู่แล้ว ของพ่อแม่เรา บางทีเรายัง
ไม่อยากจะเช็ดเลย ยังทำใจอยู่ตั้งนาน แล้วนี่ของคนป่วย ไหนจะขยะที่เต็มไปด้วย
เชื้อโควิด 19 อีก แต่เมื่อเวลาผ่านไปก็พยายามมองทุกอย่างด้วยความเข้าใจมากขึ้น เราคิดว่า
ถ้าเราไม่ทำแล้วใครจะทำ จะให้หมอให้พยาบาลมาทำเหรอ งานเขาก็เยอะมากพออยู่แล้ว
ทำไมต้องไปเพิ่มภาระให้เขาอีก”
“โควิด 19 มันเป็นวิกฤตของบ้านเมืองเราควรจะช่วยกันมากกว่า อีกอย่างผู้ป่วย
บางคนเขาก็อาจจะไปห้องน้ำไม่ทันจริงๆ เขาป่วยเขาก็ทุกข์ น่าเห็นใจมากพออยู่แล้ว
เราทำอะไรให้เขาได้ก็ควรทำ มากกว่าควรจะมานั่งรังเกียจหรือโมโห ขณะที่เรื่องการขับถ่าย
ที่ไม่เป็นระเบียบเราก็ปรึกษาบอกผู้ใหญ่บ้านให้ตักเตือนและคอยเป็นหูเป็นตา มันก็ดีขึ้น”
แม่บ้านวัยเกือบ 40 ปี บอกว่าเธอเข้ามาที่โรงพยาบาลบุษราคัมก็เพราะว่าต้องการงาน
และมีรายได้ตอบแทน ทว่าเมื่ออยู่ไปนานวันเข้าจากงานและเงินก็เริ่มกลายเป็นการทำด้วยหัวใจ
“เราทำงานก็ได้ค่าตอบแทนเหมือนเดิมนั่นแหละ เพียงแต่เราไม่ได้คิดเรื่องเงินมาก
ไปกว่าการได้ช่วยเหลือผู้ป่วยแล้ว ผู้ป่วยบางคนเขาไปห้องน้ำไม่ได้ เราก็เช็ดให้เลย
เราคิดว่าหากเป็นพ่อแม่เรา เราจะไม่ยอมให้เขานอนจมอยู่แบบนี้แน่ๆ เมื่อคิดได้ใจมันก็
พร้อมช่วย เมื่อเวลาผ่านไปจากของสกปรกทั้งหลายไม่ว่าจะเป็นขยะ หรือสิ่งที่ผู้ป่วย
ทุกคนขับถ่ายออกมา เราเริ่มคิดไปว่ามันไม่ใช่ของน่ารังเกียจแล้ว แต่กลับมองว่ามันเป็น
สิ่งธรรมดา จากนั้นก็เริ่มใช้หัวใจทำงาน ไม่รู้ใครจะมองว่ายังไงนะ แต่สุดท้ายเรามองว่า
การมาเป็นแม่บ้านที่โรงพยาบาลบุษราคัมถือเป็นงานที่ดี”
เหตุผลที่ตติยาทิ้งท้ายไว้มีด้วยกันอยู่ 2 ข้อ
ข้อแรก เป็นงานที่หล่อเลี้ยงชีวิต
ข้อสอง เป็นงานที่หล่อเลี้ยงหัวใจ
โรงพยาบาลบุษราคัม กระทรวงสาธารณสุข 85