Page 20 - เล่มกลุ่มวัย 5 ปี 66-70 ver.6 160666 Edit
P. 20
ยุทธศาสตร์ที่ 1 ด้านส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค และคุ้มครองผู้บริโภคเป็นเลิศ (Promotion, Prevention
& Protection Excellence)
ยุทธศาสตร์ที่ 2 ด้านบริการเป็นเลิศ (Service Excellence)
ยุทธศาสตร์ที่ 3 ด้านบุคลากรเป็นเลิศ (People Excellence)
ยุทธศาสตร์ที่ 4 บริหารเป็นเลิศด้วยธรรมาภิบาล (Governance Excellence)
➢ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๓ (พ.ศ. ๒๕๖๖ - ๒๕๗๐)
ในระยะของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566 – 2570) ซึ่งเป็น
แผนพัฒนาฯ ฉบับแรกที่เริ่มต้นกระบวนการยกร่างกรอบแผนภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ และจะมีผลในการใช้เป็น
กรอบเพื่อกำหนดแผนระดับปฏิบัติการในช่วง 5 ปีที่สองของยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ยังคงน้อมนำปรัชญา
ของเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นหลักปรัชญานำทางในการขับเคลื่อนและวางแผนการพัฒนาประเทศ ให้เกิด
ประสิทธิผลในการขับเคลื่อนพลวัตการพัฒนาประเทศในมิติต่าง ๆ ไปสู่เป้าหมายตามยุทธศาสตร์ชาติได้อย่าง
เป็นรูปธรรม ในช่วงเวลาที่ต้องเผชิญกับความท้าทายจากภายนอกและภายในประเทศที่มีความผันแปรสูง
และมีแนวโน้มจะทวีความรุนแรงมากขึ้นในอนาคต ทั้งที่เป็นผลสืบเนื่องมาจากสถานการณ์แพร่ระบาดของ
โรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 และโครงสร้างในประเทศที่ยังคงมีข้อจำกัดภายในที่รอการปรับปรุงแก้ไข
ในหลายมิติ การกำหนดทิศทางการพัฒนาประเทศในระยะต่อไปจึงจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับการทำ
ความเข้าใจถึงปัจจัยภายนอกและภายใน ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงของปัจจัยทั้งหมดที่ส่งผลต่อ และมีอิทธิพล
กับโครงสร้างและองคาพยพของประเทศในทุกมิติ เพื่อนำมาประมวลผลและกำหนดกรอบทิศทางการพัฒนา
ประเทศที่ควรมุ่งไปในอนาคตให้มีความสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable
Development Goals: SDGs)
ภายใต้กระแสแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น อาทิ ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีอย่างพลิกผัน
การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรสู่สังคมสูงวัย และภาวะโลกร้อนจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
ร่วมกับปัจจัยเร่งจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด -19 ที่ก่อให้เกิดความผันผวนของสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ
สังคมและสิ่งแวดล้อมแก่หลายประเทศทั่วโลก รวมถึงประเทศไทยนั้น พบว่าแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว
สามารถนำมาซึ่งโอกาสและความเสี่ยงที่จะช่วยผลักดันให้การพัฒนาประเทศไทยในระยะต่อไปให้เกิดผลสำเร็จ
หรือเป็นอุปสรรค หน่วงรั้งการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศให้ไม่สามารถบรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ ขึ้นอยู่กับ
บริบทหรือศักยภาพและขีดความสามารถของประเทศในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น โดยโอกาส
ที่สำคัญสำหรับประเทศไทย ซึ่งมีที่มาจากแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงในระดับโลก พบว่ามีที่มาจากความก้าวหน้า
และความแพร่หลายของเทคโนโลยีเป็นหลัก
เพื่อให้สามารถขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศในช่วงระยะเวลาของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 13
(พ.ศ. 2566 – 2570) ให้เกิดผลสัมฤทธิ์ในทิศทางที่จะนำไปสู่การบรรลุเป้าหมายตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี
ได้อย่างเป็นรูปธรรม ภายใต้เงื่อนไขความท้าทายทั้งหลายดังกล่าว จึงจำเป็นที่ประเทศจะต้องเสริมสร้างให้เกิด
ความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในระดับโครงสร้างของประเทศบนพื้นฐานของความเข้มแข็ง สมดุล และยั่งยืน
เพื่อก้าวข้ามปัญหาอุปสรรคเดิมให้ประเทศไทยมีสมรรถนะเพียงพอต่อการบริหารจัดการความเสี่ยง พร้อมทั้ง
เร่งเพิ่มศักยภาพในการสร้างสรรค์ประโยชน์จากโอกาสที่เกิดขึ้นได้อย่างเหมาะสมและทันท่วงที และเน้นการ
พัฒนาให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางทางการแพทย์และสุขภาพมูลค่าสูง การพัฒนาคุณภาพสู่ Smart medical
Smart health care โดยการนำเทคโนโลยีมาใช้ เพื่อเป้าหมายการเป็นจุดหมายปลายทางของการบริการทาง
การแพทย์ บริการด้านความสวยความงาม และการบริการส่งเสริมสุขภาวะ
16