Page 3 - ผลงานวิชาการระบบส่งต่อ 2567
P. 3
คำนำ
กระทรวงสาธารณสุขได้มียุทธศาสตร์ด้านบริการเป็นเลิศ (Service Excellence)
ด้านการพัฒนาระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินครบวงจรและระบบการส่งต่อ มีแผนพัฒนาระบบ
บริการสุขภาพ (Service Plan) การจัดให้มีโรงพยาบาลรับผู้ป่วยส่งต่อ (Referral Hospital
cascade) เพื่อใช้ทรัพยากรในเครือข่ายที่มีจำกัดให้มีประสิทธิภาพสูงสุด ให้ประชาชนได้รับบริการ
อย่างเท่าเทียม ทั่วถึง ทันเวลาและปลอดภัย รวมถึงการสร้างสรรค์และเสนอแนะข้อเสนอ
เชิงนโยบาย และการขับเคลื่อนนโยบายการบริหารสาธารณสุขให้บรรลุผลสัมฤทธิ์โดยมุ่งเน้นให้เกิด
การพัฒนาระบบรับส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉิน โดยใช้การบริหารจัดการรถพยาบาลแบบรวมศูนย์
(Ambulance Operation Center: AOC) และให้มีการพัฒนาศูนย์ประสานการส่งต่อผู้ป่วย
ครอบคลุมทุกจังหวัดทุกเขตสุขภาพและส่วนกลาง เพื่อให้ผู้ป่วยที่ต้องได้รับการรักษาพยาบาลที่มี
ความยุ่งยากซับซ้อน และต้องใช้เทคโนโลยีขั้นสูงในการรักษาได้รับการดูแลที่มีคุณภาพเหมาะสม
ทั่วถึง ทันเวลาและปลอดภัย ตลอดเส้นทางการส่งต่อผู้ป่วย กองบริหารการสาธารณ์สุขได้เล็งเห็น
ถึงความสำคัญของการพัฒนาระบบบริการและการพัฒนาบุคลากรในการรับส่งต่อผู้ป่วย จึงได้
ดำเนินการประชุมสัมมนาการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระบบรับส่งต่อผู้ป่วย ปีงบประมาณ พ.ศ. 2567
เพื่อเป็นเวทีเผยแพร่ผลงานที่เป็น Best Practice ให้เกิดแลกเปลี่ยนประสบการณ์ร่วมกันทั้งภายใน
เขตสุขภาพ และระหว่างเขตสุขภาพ เพื่อนำแนวทางความรู้ไปพัฒนาระบบส่งต่อผู้ป่วยในพื้นที่
รับผิดชอบ สามารถเชื่อมประสานการดูแลผู้ป่วยกันเป็นเครือข่ายได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้ง
เพื่อให้เกิดความภาคภูมิใจ สร้างขวัญกำลังใจในการทำงานของบุคลากรด้านสุขภาพ
ดังนั้นจึงได้รวบรวมผลงานวิชาการจาก 12 เขตสุขภาพ และกรุงเทพมหานคร
ภายใต้หัวข้อ ยกระดับประสิทธิภาพการส่งต่อผู้ป่วย : สู่ระบบไร้รอยต่อ เพื่อการรักษาที่ต่อเนื่อง
และมีคุณภาพ "Enhancing Patient Referral Efficiency : Towards a Seamless for Continuous
and Quality Care" จัดทำเป็นหนังสือ E-book ผลงานวิชาการระบบรับส่งต่อผู้ป่วย (Referral
System) ปี พ.ศ. 2567 โดยมีผลงานวิชาการและนวัตกรรมจำนวนทั้งสิ้น 14 เรื่อง แบ่งเป็นผลงาน
วิชาการระบบรับส่งต่อผู้ป่วย "ดีเด่น" ปี พ.ศ.2567 จำนวน 3 เรื่อง และผลงานวิชาการระบบรับส่งต่อ
ผู้ป่วย ปี พ.ศ.2567 จำนวน 14 เรื่อง รวมถึงได้รวบรวมภาพถ่ายการนำเสนอผลวิชาการและบรรยากาศ
การดำเนินการประชุมสัมมนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ดังกล่าว เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาระบบบริการ
รับส่งต่อผู้ป่วยของสถานพยาบาล รวมถึงสร้างความภาคภูมิใจของบุคลากรที่ปฏิบัติงานด้านการรับส่งต่อ
ผู้ป่วย และเผยแพร่ผลงานเป็นที่ประจักษ์
คณะผู้จัดทำ หวังเป็นอย่างยิ่งว่าผลงานวิชาการระบบรับส่งต่อผู้ป่วยเล่มนี้จะมี
ประโยชน์เป็นแนวทางพัฒนาระบบบริการและการบริหารจัดการระบบรับส่งต่อผู้ป่วยตามบริบท
ของแต่ละพื้นที่นำไปสู่การพัฒนาอย่างมีประสิทธิภาพตามบริบทของพื้นที่ อันจะเกิดประโยชน์
ต่อประชาชนอย่างสูงสุดต่อไป
คณะผู้จัดทำ
กรกฎาคม 2567
ก
โครงการประชุมสัมมนาการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระบบรับส่งต่อผู้ป่วย ปีงบประมาณ 2567