Page 7 - ผลงานวิชาการระบบส่งต่อ 2567
P. 7
โครงการประชุมสัมมนาการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระบบรับส่งต่อผู้ป่วย ปีงบประมาณ 2567
พัฒนาแนวปฏิบัติการรับส่งต่อผู้ป่วยเด็ก Fast track
เครือข่ายบริการสุขภาพภูแท่นเกษตรสาร
แพทย์หญิงนฤมล บำเพ็ญเกียรติกุล
กลุ่มงานกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลภูเขียวเฉลิมพระเกียรติ
จังหวัดชัยภูมิ เขตสุขภาพที่ 9
ความสำคัญของปัญหาการวิจัย
โรงพยาบาลภูเขียวเฉลิมพระเกียรติ เป็นโรงพยาบาลทั่วไป ขนาด M1 ให้บริการผู้ป่วยที่มารับบริการ
ในเขตอำเภอภูเขียว และโรงพยาบาลลูกข่ายอีก 3 อำเภอ ได้แก่ โรงพยาบาลบ้านแท่น โรงพยาบาลเกษตรสมบูรณ์
และโรงพยาบาลคอนสาร เป็นเครือข่ายบริการสุขภาพภูแท่นเกษตรสาร นอกจากนั้นยังรับส่งต่อผู้ป่วย เพื่อมา
รับบริการโดยแพทย์เฉพาะทางสาขาต่าง ๆ ได้แก่ สาขาอายุรกรรม สาขากุมารเวชกรรม สาขาสูติ-นรีเวชกรรม
สาขาศัลยกรรม สาขาออร์โธปิดิกส์ สาขาจักษุ สาขาโสตศอนาสิก เป็นต้น สำหรับ สาขากุมารเวชกรรม โรงพยาบาล
ภูเขียวเฉลิมพระเกียรติ มีกุมารแพทย์ จำนวน 3 คน ให้บริการทั้งผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน มีการจัดระบบ
ให้บริการรับส่งต่อจากโรงพยาบาลลูกข่าย ทั้ง 3 อำเภอ หากเกินขีดความสามารถ จะถูกส่งต่อมารับการรักษา
ต่อเนื่องยังโรงพยาบาลภูเขียวเฉลิมพระเกียรติ เพื่อให้การรักษาเฉพาะทางโดยกุมารแพทย์ สถิติการให้บริการ
5 ปี ย้อนหลัง มีการรับส่งต่อมาจากโรงพยาบาลลูกข่าย ตั้งแต่ปี 2563-2567 ผู้ป่วยเด็กที่รับส่งต่อมายัง
โรงพยาบาลภูเขียวเฉลิมพระเกียรติ จำนวน 80, 66, 56, 87 และ 78 ราย ตามลำดับ ซึ่งจะเห็นได้ว่า สถิติ
ที่รับส่งต่อผู้ป่วยมาจะน้อยลงในช่วงปี 2564 และ 2565 เนื่องจากสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19
และมีจำนวนเพิ่มขึ้นในปี 2566-2567 พบว่ามีจำนวนผู้ป่วยเด็กที่รับส่งต่อจากโรงพยาบาลลูกข่ายจำนวนมาก
ขึ้น กระบวนการรับส่งต่อผู้ป่วยเด็กจากโรงพยาบาลลูกข่ายที่ผ่านมา พบปัญหาคือ ผู้ป่วยที่ส่งต่อมาจาก
โรงพยาบาลลูกข่าย จะต้องได้รับการประเมินและทำหัตถการต่าง ๆ ที่ห้องฉุกเฉินโรงพยาบาลภูเขียวเฉลิมพระเกียรติ
เนื่องจากห้องฉุกเฉินรับผู้ป่วยทุกประเภท มีผู้ป่วยจำนวนมาก ทำให้ผู้ป่วยเด็กที่ส่งต่อมาไม่ได้รับการประเมิน
และทำหัตถการในทันทีจากพยาบาลหอผู้ป่วยกุมารเวชกรรมที่มีความเชี่ยวชาญและกุมารแพทย์ ทำให้ผู้ป่วย
บางรายมีอาการทรุดลง ญาติไม่พึงพอใจ ห้องฉุกเฉินมีความแออัด ระยะเวลารอคอยนาน และพบข้อร้องเรียน
ดังนั้น ผู้ศึกษาในฐานะกุมารแพทย์ ที่รับผิดชอบการดูแลสุขภาพเด็กในเครือข่ายภูแท่นเกษตรสาร
จึงมีแนวทางการพัฒนาแนวปฏิบัติการรับส่งต่อผู้ป่วยเด็ก Fast track เครือข่ายบริการสุขภาพภูแท่นเกษตรสารขึ้น
เพื่อให้สามารถดูแลเด็กที่รับส่งต่อมาจากโรงพยาบาลลูกข่ายให้ได้รับการดูแลรักษาโดยกุมารแพทย์อย่างรวดเร็ว
และครอบคลุมมากยิ่งขึ้น
วัตถุประสงค์การศึกษา
1. พัฒนาแนวปฏิบัติการรับส่งต่อผู้ป่วยเด็ก เครือข่ายบริการสุขภาพภูแท่นเกษตรสาร ให้ได้รับบริการ
ที่สะดวกและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น
2. เพื่อประเมินประสิทธิภาพการพัฒนาแนวปฏิบัติการรับส่งต่อผู้ป่วยเด็ก เครือข่ายบริการสุขภาพ
ภูแท่นเกษตรสาร
3. เพื่อการมีส่วนร่วมในการพัฒนาแนวปฏิบัติของเครือข่ายบริการสุขภาพภูแท่นเกษตรสาร
วิธีการศึกษา
ในการศึกษาครั้งนี้ ผู้ศึกษาได้นำกระบวนการวิจัยและพัฒนา (research and development [R&D])
มาใช้ เพื่อพัฒนาแนวปฏิบัติการรับส่งต่อผู้ป่วยเด็ก ให้เกิดความสะดวกและรวดเร็วแบบ Fast track ประเมิน
3
โครงการประชุมสัมมนาการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระบบรับส่งต่อผู้ป่วย ปีงบประมาณ 2567