Page 8 - ผลงานวิชาการระบบส่งต่อ 2567
P. 8
โครงการประชุมสัมมนาการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระบบรับส่งต่อผู้ป่วย ปีงบประมาณ 2567
ผลลัพธ์โดยการเปรียบเทียบความพึงพอใจ ก่อนและหลังการพัฒนา โดยมีระยะของการดำเนินงานแบ่งเป็น
3 ระยะ ดังนี้
1. ระยะเตรียมการ มีการเตรียมความพร้อมของทีมที่จะร่วมกันพัฒนา ทักษะการสืบค้นและการเก็บ
รวบรวมข้อมูล การสนทนากลุ่ม ทบทวนวรรณกรรมและติดต่อประสานงานกับโรงพยาบาลลูกข่าย
สร้างสัมพันธภาพ สอบถามความต้องการมีส่วนร่วม ชี้แจงวัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
2. ระยะดำเนินการ ปฏิบัติตามวงจร P-A-O-R (Plan – Acting - Observe – Reflecting) ประกอบด้วย
1) การวิเคราะห์สถานการณ์ (Situational analysis) การดำเนินการเคราะห์สถานการณ์ จัดลำดับ
ความสำคัญเร่งด่วน จากข้อมูลผู้ป่วย เวชระเบียน การประชุมกลุ่ม การสะท้อนปัญหาการส่งต่อผู้ป่วยเด็ก
จากโรงพยาบาลชุมชนทั้ง 3 แห่ง ประชุมระดมสมองเพื่อร่วมกำหนดประเด็นปัญหาและวางแผนการพัฒนา
แนวปฏิบัติการรับส่งต่อผู้ป่วยเด็ก Fast track เครือข่ายบริการสุขภาพภูแท่นเกษตรสาร
2) ผู้ศึกษานำเสนอข้อมูลต่อคณะกรรมการบริหารโรงพยาบาลและผู้เกี่ยวข้องเพื่อร่วมกันวิเคราะห์
ความต้องการการพัฒนา พิจารณาความเป็นไปได้และประชุมสนทนากลุ่ม จำนวน 2 ครั้ง เพื่อร่วมกันกำหนด
ประเด็นปัญหา เป้าหมาย ร่วมกันจนเป็นที่ยอมรับจากทีมสหวิชาชีพ ก่อนนำไปทดลองใช้กับโรงพยาบาลนำร่อง
1 โรงพยาบาล
3) ประชุมเชิงปฏิบัติการ ร่วมกับวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง จำนวน 1 ครั้ง เพื่อปรับปรุงรูปแบบตามสภาพ
ปัญหาและอุปสรรคที่พบ หรือตามข้อเสนอแนะให้เกิดความเหมาะสมและง่ายต่อการปฏิบัติ และนำไปทดลอง
ปฏิบัติ สังเกตและสะท้อนการปฏิบัติ และพัฒนาจนได้รูปแบบที่ครอบคลุมประเด็นการพัฒนา
3. ระยะติดตามและประเมินผล ผู้ศึกษาและทีมร่วมกันประเมินผลการพัฒนา ประกอบด้วย
1) ประเมินผลของวงจรเชิงปฏิบัติการ (P-A-O-R)
2) ประเมินผลลัพธ์จากข้อมูล แบบสอบถามความพึงพอใจ และถอดบทเรียน ร่วมแลกเปลี่ยน
เรียนรู้จากการสนทนาจากทีมผู้เกี่ยวข้องและมีส่วนได้เสีย
กลุ่มตัวอย่าง
การศึกษาครั้งนี้ กลุ่มตัวอย่างมี 2 กลุ่ม คือ
กลุ่มที่ 1 ญาติผู้ป่วยเด็กที่รับส่งต่อมาจากโรงพยาบาลลูกข่าย ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2565 – 31 มีนาคม 2567
จำนวน 120 ราย
กลุ่มที่ 2 แพทย์ พยาบาล และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องในการรับส่งต่อผู้ป่วยเด็ก จาก 4 โรงพยาบาล
จำนวน 20 ราย
การวิเคราะห์ข้อมูล
1) เชิงปริมาณจากแบบสอบถามความพึงพอใจของญาติและความพึงพอใจของเจ้าหน้าที่โรงพยาบาล
ลูกข่าย ประกอบด้วย แพทย์ พยาบาลวิชาชีพ ที่มีส่วนได้เสียในการรับส่งต่อผู้ป่วย จาก 4 โรงพยาบาลคือ
โรงพยาบาลภูเขียวเฉลิมพระเกียรติ โรงพยาบาลบ้านแท่น โรงพยาบาลเกษตรสมบูรณ์ และโรงพยาบาล
คอนสาร จำนวน 20 คน โดยใช้สถิติการแจกแจงความถี่ ร้อยละค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
2) เชิงคุณภาพที่ได้จากการสนทนากลุ่ม (Focus groupdiscussion) โดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
(content analysis) โดยกุมารแพทย์ 3 คน แพทย์ใช้ทุนโรงพยาบาลภูเขียวและเครือข่าย 4 คน และ
พยาบาลวิชาชีพ จาก 4 โรงพยาบาล จำนวน 8 คน
4
โครงการประชุมสัมมนาการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระบบรับส่งต่อผู้ป่วย ปีงบประมาณ 2567