Page 207 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 207
E16
2. จัดทำแนวทางปฏิบัติเพื่อการคัดกรอง ดูแลช่วยเหลือผู้ป่วยจิตเวชและยาเสพติดที่มีความเสี่ยงสูงต่อ
การก่อความรุนแรง (SMI-V) ในชุมชน
3. จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์รูปแบบการ์ด V scan (Violence scan) ขนาด 2x3.5 นิ้ว ให้ความรู้เรื่อง
5 สัญญาณเตือนก่อความรุนแรงและสัญญาณเตือนฆ่าตัวตาย แจกจ่ายให้หน่วยงาน ผู้นำชุมชน สื่อต่างๆ ใน
พื้นที่ ผ่านการประชุมคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.)
4. พัฒนาศักยภาพเครือข่ายแกนนำในชุมชน, อสม., สถานศึกษา มหาวิทยาลัยในพื้นที่ ให้มีความรู้ใน
การค้นหา คัดกรองกลุ่มเสี่ยง การส่งต่อเข้ารับการรักษา และการติดตามต่อเนื่อง
5. จัดทำแนวปฏิบัติในการดูแลผู้ป่วยจิตเวชและยาเสพติดในสถานพยาบาล เช่น ER, OPD, Ward
6. การซ้อมแผนเผชิญเหตุผู้ป่วยจิตเวชและยาเสพติดที่ก่อความรุนแรง ในวันที่ 5 เมษายน 2567
ผลการศึกษา
1. มีแนวทางปฏิบัติเพื่อการคัดกรอง ดูแลช่วยเหลือผู้ป่วยจิตเวชและยาเสพติดที่มีความเสี่ยงสูงต่อการ
ก่อความรุนแรง (SMI-V) ในชุมชน
2. มีแนวทางปฏิบัติเพื่อการคัดกรอง ดูแลช่วยเหลือผู้ป่วยจิตเวชและยาเสพติดที่มีความเสี่ยงสูงต่อการ
ก่อความรุนแรง (SMI-V) ในโรงพยาบาล
3. จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์รูปแบบการ์ดให้ความรู้เรื่อง 5 สัญญาณเตือนก่อความรุนแรง (V Scan)
และสัญญาณเตือนฆ่าตัวตาย
อภิปรายผล
ในปีงบประมาณ 2567 (ข้อมูล เดือนตุลาคม 2566- มีนาคม 2567) พบว่า
1. ชุมชน ญาติ และ รพ.สต. มีการคัดกรองกลุ่มเสี่ยงก่อความรุนแรง ส่งเข้ารับการรักษา จำนวน 27 ราย
2. ผู้ป่วยอาการกำเริบ นำส่งเข้ารับการรักษาโดยกู้ชีพและเจ้าหน้าที่ตำรวจ จำนวน 13 ราย
3. หน่วยงานในโรงพยาบาลคัดกรองกลุ่มเสี่ยงก่อความรุนแรง ส่งรับบริการที่แผนกจิตเวช จำนวน 108 ราย
4. ผู้ทำร้ายตนเอง (SMI-V 1) เข้าถึงบริการและรับการรักษา จำนวน 35 ราย เพิ่มขึ้นจากปี 2566 ร้อยละ
34.29 ในช่วงเวลาเดียวกัน
5. ผู้ที่ก่อความรุนแรงในชุมชนหลังได้รับการรักษา และจำหน่ายกลับไปอยู่ที่บ้านได้รับการติดตามดูแล
เฝ้าระวังโดยครอบครัว และแกนนำในชุมชนต่อเนื่อง ไม่มีอาการกำเริบซ้ำ และมีการจัดการเคสรายกรณี (Case
Manager) จำนวน 1 ราย
สรุปและข้อเสนอแนะ
จากการใช้กลไกของ พชอ. ในการขับเคลื่อน ทุกภาคส่วนให้ความสำคัญในการเฝ้าระวัง ค้นหา
โดยใช้การ์ดความรู้เรื่อง 5 สัญญาณเตือนก่อความรุนแรง (V Scan) ซึ่งพกพาสะดวก สามารถช่วยเหลือนำกลุ่ม
เสี่ยงก่อความรุนแรงเข้าสู่กระบวนการบำบัดรักษาได้เพิ่มมากขึ้น และมีการติดตามเฝ้าระวังหลังจำหน่ายจาก
สถานพยาบาล โดยชุมชนอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นผลดีที่จะช่วยลดการเกิดความรุนแรงในระดับที่รุนแรงขึ้นต่อไป