Page 203 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 203
E12
การพัฒนารูปแบบบริการขยายคลินิกเมทาโดนเคลื่อนที่สู่รพ.สต.และสสช. แบบไร้รอยต่อ
โรงพยาบาลเทพรัตนเวชชานุกูล เฉลิมพระเกียรติ ๖๐พรรษา จังหวัดเชียงใหม่
นายนฤทธิ์ คิดสม
โรงพยาบาลเทพรัตนเวชชานุกูล เฉลิมพระเกียรติ ๖๐พรรษา จังหวัดเชียงใหม่ เขตสุขภาพที่ 1
ประเภท วิชาการ
ความสำคัญของปัญหา
คลินิกเมทาโดน โรงพยาบาลเทพรัตนเวชชานุกูล เฉลิมพระเกียรติ ๖๐ พรรษา ได้เปิดให้บริการ
ผู้เสพฝิ่นและเฮโรอีนแบบผู้ป่วยนอกตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2556 ซึ่งมีผู้รับบริการคลินิกเมทาโดนใน ปี พ.ศ.2561
จำนวน 151 ราย หยุดเสพต่อเนื่องหลังจำหน่ายจากการบำบัด 3 เดือน คิดเป็นร้อยละ 58 ,ปี พ.ศ. 2562
(ได้ขยายลงสู่รพ.สต. จำนวน 1 แห่ง) จำนวน 244 ราย หยุดเสพต่อเนื่องหลังจำหน่ายจากการบำบัด 3 เดือน
คิดเป็นร้อยละ 61 และ ปี พ.ศ. 2563 ( ได้ขยายลงสู่ รพ.สต. จำนวน 3 แห่ง) จำนวน 383 ราย หยุดเสพ
ต่อเนื่องหลังจำหน่ายจากการบำบัด 3 เดือน คิดเป็นร้อยละ 64 แสดงให้เห็นว่าการขยายคลินิกเมทาโดนลงสู่
รพ.สต.ทำให้แนวโน้มของผู้เสพที่เข้ารับการบำบัดมีเพิ่มสูงขึ้น ทั้งนี้เนื่องจากมีผู้เสพทั้งในและนอกอำเภอ
ต้องการเข้าถึงบริการเพิ่มมากขึ้น แต่อัตราการหยุดเสพต่อเนื่องหลังจำหน่ายจากการบำบัด 3 เดือน ยังอยู่
ระดับคงที่ไม่เพิ่มขึ้น เนื่องจากการขยายคลินิกเมทาโดนเคลื่อนที่นั้น ยังไม่ครอบคลุมผู้ป่วยในพื้นที่อำเภอ
แม่แจ่มและพื้นที่อำเภอใกล้เคียงคือ คือ อำเภอแม่สะเรียงและอำเภอขุนยวมยังไม่มีบริการในคลินิกเมทาโดน
ส่วนอำเภอแม่ลาน้อย, อำเภอกัลยาณิวัฒนา, อำเภอจอมทอง และอำเภอแม่วาง ไม่มีการออกบริการคลินิก
เมทาโดนเคลื่อนที่เชิงรุก ทำให้ผู้ป่วยเสพฝิ่น/เฮโรอีนส่วนหนึ่งต้องการบำบัดรักษาแต่ไม่ได้รับการบำบัดรักษา
ดังนั้นใน ปี พ.ศ. 2566 จึงได้ปรับให้มีเพิ่มบริการเชิงรุก ค้นหาผู้รับบริการรายใหม่และขยายคลินิกเมทาโดนลง
สู่ รพ.สต.มากขึ้น และขยายลงสู่สถานบริการสารณสุขชุมชน (สสช.)ร่วมด้วย
วัตถุประสงค์
เพื่อศึกษาผลของการดำเนินงานคลินิกเมทาโดนเชิงรุกใน รพ.สต. และ สสช.
เป้าหมายในการดำเนินงาน
1. เพิ่มการเข้าถึงบริการของผู้เสพทั้งในและนอกอำเภอไม่ต่ำกว่าร้อยละ 10
2. ผู้รับบำบัดสามารถหยุดเสพต่อเนื่องหลังจำหน่ายจากการบำบัด 3 เดือนมากกว่าร้อยละ 70