Page 206 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 206
E15
V Scan : ลดความเสี่ยงก่อความรุนแรงในชุมชน
นางปนัดดา ธีระเชื้อ และบุคลากรกลุ่มงานจิตเวชและยาเสพติด
โรงพยาบาลสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ เขตสุขภาพที่ 1
ประเภท ผลงานนวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์
ความสำคัญของปัญหา
ปัจจุบันปัญหาการก่อความรุนแรงในสังคมถือเป็นปัญหาที่นับวันจะทวีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น
สามารถเกิดขึ้นได้ทุกที่กรมสุขภาพจิต มีการคาดการณ์ว่ามีกลุ่มเสี่ยงคลุ้มคลั่งที่ยังไม่ได้รับการดูแลรักษากว่า
125,994 คน ในปี 2564-2566 มีผู้ป่วยที่ก่อความรุนแรงต่อตนเองและผู้อื่นที่เข้ามารับบริการที่ห้องฉุกเฉิน
โรงพยาบาลสันทราย มีจำนวน 50, 81, 67 ราย ตามลำดับ และกลุ่มผู้ป่วยจิตเวชและยาเสพติด ประเภทที่มี
ความเสี่ยงสูงก่อความรุนแรง (SMI-V) ในอำเภอสันทราย ที่พบเป็นปัญหามากที่สุดคือ SMI-V 1 โดยในปี 2564-
2566 พบการพยายามฆ่าตัวตายจำนวน 37, 35, 33 ราย คิดเป็น 27.77, 26.74, 23.49 ต่อแสนประชากร และ
ฆ่าตัวตายสำเร็จจำนวน 14, 12, 18 ราย คิดเป็น 10.51, 9.17, 12.81 ต่อแสนประชากร ตามลำดับ ซึ่งอัตรา
การฆ่าตัวตายสำเร็จสูงกว่าเป้าหมายคือ 8 ต่อแสนประชากร รองลงมาคือ SMI-V 2 ก่อเหตุรุนแรงในครอบครัว
และชุมชน จากผู้ป่วยจิตเวชที่กินยาไม่ต่อเนื่องมีอาการกำเริบซ้ำ และจากผู้ใช้ยาและสารเสพติด เช่น ดื่มสุรา
เสพยาบ้า โดยในปี 2564-2566 ทางชุมชนนำส่งเข้ารักษา จำนวน 4, 5, 7 ราย ตามลำดับ ส่วนประเภทที่มี
ความเสี่ยงสูงก่อความรุนแรง SMI-V 3 และ 4 ไม่พบในพื้นที่
อำเภอสันทราย พบปัญหาการคัดกรองกลุ่มเสี่ยงยังไม่ครอบคลุม จะเห็นได้จากในปี 2566 ผู้ป่วยจิตเวช
ผู้ใช้สารเสพติดก่อความรุนแรงที่ทางตำรวจและปกครองนำส่ง จำนวน 7 รายมีผู้ทำร้ายตนเอง 33 ราย และ
ฆ่าตัวตายสำเร็จ 18 ราย โดยมากกว่า ร้อยละ 50 ของกลุ่มผู้ป่วยดังกล่าวมีสัญญาณเตือนก่อน ซึ่งหากคน
ใกล้ชิดในครอบครัว ชุมชน สังเกตสัญญาณเตือนได้และส่งผู้ป่วยเข้ารับการรักษา ก็จะลดความเสี่ยงต่อการก่อ
ความรุนแรงได้ ดังนั้นกลุ่มงานจิตเวชและยาเสพติด โรงพยาบาลสันทราย จึงมีแนวคิดพัฒนาแนวทาง
ปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยจิตเวชและยาเสพติดที่มีความเสี่ยงสูงต่อการก่อความรุนแรง (SMI-V) และจัดทำสื่อ
ประชาสัมพันธ์ที่เข้าถึงง่าย ให้มีความเชื่อมโยงตั้งแต่การคัดกรอง การค้นหาโดยใช้สัญญาณเสี่ยงในชุมชน
การส่งต่อเข้าสู่โรงพยาบาล การประเมิน การวางแผนให้การรักษา และการติดตามต่อเนื่องเพื่อป้องกันอาการ
กำเริบ ไม่ก่อความรุนแรงต่อตนเองหรือผู้อื่นซ้ำ
วัตถุประสงค์การศึกษา
1. เพื่อให้ประชาชนและกลุ่มเสี่ยงได้รับการคัดกรอง ส่งต่อเพื่อเข้ารับการวินิจฉัย เฝ้าระวังและดูแล
นําเข้าสู่กระบวนการรักษาที่เหมาะสม
2. เพื่อให้ผู้ป่วยจิตเวชและยาเสพติดสามารถอยู่ในชุมชนได้นานขึ้น ไม่กลับมาป่วยซ้ำ (remission)
กำเริบซ้ำ (relapse) หรือไม่ก่อความรุนแรงซ้ำทั้งต่อตนเองและผู้อื่น และมีการจัดการเคสรายกรณี (Case
Manager)
3. มีแนวทางปฏิบัติเพื่อการคัดกรอง ดูแลช่วยเหลือผู้ป่วยจิตเวชและยาเสพติดที่มีความเสี่ยงสูงต่อการ
ก่อความรุนแรง (SMI-V) ทั้งในชุมชนและโรงพยาบาล
วิธีการศึกษา
1. กำหนดปัญหาการดูแลผู้ป่วยจิตเวชและยาเสพติดที่มีความเสี่ยงสูงต่อการก่อความรุนแรงเป็น
ประเด็นปัญหาของอำเภอสันทราย ในการประชุมคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.)
ปี 2567