Page 19 - แนวทางการพัฒนาการจัดระบบบริการสุขภาพ
P. 19

โครงการพระสงฆ์กับการพัฒนาสุขภาวะ

            หลักการและเหตุผล

                    สถาบันพระพุทธศาสนา อยู่คู่สังคมไทยมาอย่างช้านาน คนไทยร้อยละ 95 นับถือศาสนาพุทธ ซึ่งใช้หลักการ
            ทางพระพุทธศาสนาเป็นแนวทางการดำเนินชีวิต จนกลายเป็นรากฐานทางประเพณี และวัฒนธรรมอันเป็นเอกลักษณ์
            มรดกของชาติไทย เนื่องจากวัดเป็นศูนย์กลางของชุมชน และเป็นสถานที่ที่มีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมสุขภาพประชาชน
            ปัจจุบันประเทศไทย มีวัดทั้งหมด จำนวน 43,471 วัด (ที่มา : กองพุทธศาสนสถาน สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ

            ณ 13 มิถุนายน 2566) และพระสงฆ์สามเณร จำนวน 288,956 รูป  (ข้อมูลจากรายงานประจำปี 2665 สำนักงานพระพุทธศาสนา
            แห่งชาติ ณ 31 ธันวาคม 2565) กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ขับเคลื่อนการดำเนินงานพระสงฆ์กับการพัฒนา
            สุขภาวะ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2562 จนถึงปัจจุบัน จากผลการสำรวจพฤติกรรมสุขภาพพระสงฆ์ ปี พ.ศ.2566 จำนวน 25,340 รูป
            พบว่า พระสงฆ์ที่มีพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ทั้ง 7 ด้าน มีเพียงจำนวน 4,500 รูป คิดเป็นร้อยละ 18 และมีพฤติกรรม

            สุขภาพที่ไม่พึงประสงค์ จำนวน 20,840 รูป คิดเป็นร้อยละ 82 (ข้อมูลสำนักอนามัยผู้สูงอายุ ณ วันที่ 30 กันยายน 2566)
            มีการขับเคลื่อนการดำเนินงานวัดส่งเสริมสุขภาพผ่านเกณฑ์ จำนวน 18,171 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 42.78 จากวัดทั่วประเทศ
            และมีพระคิลานุปัฏฐาก (พระอาสาสมัครส่งเสริมสุขภาพประจำวัด - อสว.) จำนวน 13,114 รูป (ข้อมูลจากสำนักอนามัย
            ผู้สูงอายุ ณ 30 กันยายน 2566) และได้ดำเนินการดูแลสุขภาพพระสงฆ์ รวมถึงเสริมสร้างทักษะการดำรงชีวิต การเรียนรู้

            และการพัฒนาตลอดช่วงชีวิต พร้อมทั้งพัฒนาสุขภาวะ โดยบูรณาการการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อมร่วมกับ
            ศิลปวัฒนธรรมในความเป็นวัด โดยใช้หลัก 5 ร. คือ ร่มรื่น ร่มเย็น ร่วมสร้าง ร่วมจิต (วิญญาณ) และร่วมพัฒนา ดังนั้น การ
            ส่งเสริมสนับสนุนให้วัดเข้าสู่กระบวนการการดำเนินงานวัดส่งเสริมสุขภาพ จะทำให้เกิดการพัฒนาระบบบริการ

            ด้านสุขภาพที่มีคุณภาพในการดูแลสุขภาพพระสงฆ์ และเป็นการพัฒนาเครือข่ายพระสงฆ์ เพื่อเป็นแกนนำในการดูแล
            สุขภาพของประชาชนและพระสงฆ์กันเอง ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี มีสุขภาวะที่สมบูรณ์ทั้งกาย จิต ตลอดจนการจัดการ
            สิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการมีสุขภาพดี ส่งผลให้พระสงฆ์แข็งแรง วัดมั่นคง ชุมชนเป็นสุขตามวิถีชีวิตและบริบทสังคมไทย และ
            เพื่อเป็นการพัฒนาขยายผลต่อยอดไปยังศาสนาอื่นๆ
                    จากสถานการณ์สุขภาพพระสงฆ์ดังกล่าว รัฐบาลจึงเล็งเห็นความสำคัญของสุขภาพพระสงฆ์ ซึ่งสอดคล้องมติมหา

            เถรสมาคม ที่ 191/2560 และมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 5 ให้มีการขับเคลื่อนงาน “พระสงฆ์กับการพัฒนาสุขภาวะ” ที่
            กำหนดให้ดำเนินการวัดส่งเสริมสุขภาพและธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์แห่งชาติ เพื่อเป็นกรอบและแนวทางการส่งเสริมสุขภาวะ
            พระสงฆ์ทั่วประเทศ ซึ่งกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุขมีบทบาทในการการส่งเสริมให้ประชาชนทุกกลุ่มวัยมีสุขภาพดี

            อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการส่งเสริมสุขภาพ และพระสงฆ์ก็เป็นกลุ่มเป้าหมายสำคัญที่ต้องได้รับการดูแลเสริมสร้างทักษะ
            การดำรงชีวิต การเรียนรู้และการพัฒนาตลอดช่วงชีวิต เพื่อเป็นคนไทยที่มีศักยภาพ มีคุณภาพชีวิตที่ดี สังคมอยู่ดีมีสุข จึงได้
            จัดทำโครงการพระสงฆ์กับการพัฒนาสุขภาวะขึ้น เพื่อให้พระสงฆ์มีความรอบรู้ด้านสุขภาพ ดูแลตนเองและปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
            สุขภาพได้ และสนับสนุนการดำเนินงานของกระทรวงสาธารณสุขต่อไป











                                                                                                        3 | ห น้ า
   14   15   16   17   18   19   20   21   22   23   24