Page 20 - แนวทางการพัฒนาการจัดระบบบริการสุขภาพ
P. 20

วัตถุประสงค์
                    1. เพื่อสนับสนุนการประเมินคัดกรองสุขภาพพระสงฆ์
                    2. เพื่อพัฒนาศักยภาพพระคิลานุปัฏฐาก (พระอาสาสมัครส่งเสริมสุขภาพประจำวัด – พระ อสว.) มีความรู้ในการ

            ดูแลสุขภาพอนามัยของตนเอง และให้คำแนะนำ ดูแลพระสงฆ์ภายในวัดและชุมชนได้
                    3. เพื่อพัฒนาระบบข้อมูลวัดส่งเสริมสุขภาพและพระคิลานุปัฏฐาก
                    4. เพื่อสนับสนุน ส่งเสริมให้พระสงฆ์มีความรอบรู้ด้านสุขภาพ (Health Literacy) ได้รับการดูแลส่งเสริมสุขภาพ
            ตามหลักพระธรรมวินัย และสามารถขยายผลสู่การพัฒนาสุขภาวะของชุมชน

                    5. เพื่อสนับสนุน ส่งเสริมการจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในพระสงฆ์กลุ่มเสี่ยง
                    6. เพื่อสร้าง/พัฒนา และขยายเครือข่ายการขับเคลื่อนนวัตกรรมการส่งเสริมสุขภาพของพระสงฆ์ สามเณร
            โดยชุมชนตามบริบทของพื้นที่


            ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

                   1. พระสงฆ์และสามเณรได้รับการประเมินคัดกรองสุขภาพและพระสงฆ์และสามเณรกลุ่มเสี่ยงได้รับการ
                      ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ พัฒนาทักษะ กาย ใจ

                   2. วัด ได้รับการยกย่องสรรเสริญ เป็นวัดส่งเสริมสุขภาพและเป็นการสร้างแรงจูงใจให้กับวัดอื่นๆ พัฒนาวัด
                        ให้เป็นวัดส่งเสริมสุขภาพ

                   3. มีวัดส่งเสริมสุขภาพสู่วัดรอบรู้ด้านสุขภาพ (Health Literate Temple)
                   4. มีวัดต้นแบบ/ Best Practice ในการส่งเสริมสุขภาพและเฝ้าระวังในพระสงฆ์และสามเณรที่มีพฤติกรรมเสี่ยง

                        ด้านสุขภาพ
                   5. เกิดความร่วมมือระหว่างภาคีเครือข่ายการดำเนินงานด้านการส่งเสริมสุขภาพพระสงฆ์ในระดับพื้นที่

                        และเป็นแบบอย่างในการดำเนินงานวัดส่งเสริมสุขภาพ























                                                                                                        4 | ห น้ า
   15   16   17   18   19   20   21   22   23   24   25