Page 21 - แนวทางการพัฒนาการจัดระบบบริการสุขภาพ
P. 21

ความเป็นมาและแนวคิดวัดส่งเสริมสุขภาพ

                    แนวความคิดเรื่องวัดส่งเสริมสุขภาพ (Health Promoting Temples) จากบ้านน่าอยู่ เมืองน่าอยู่อนามัยดี

            ชีวีสดใส ถึงองค์ประกอบของเมือง โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ สถานที่ทำงานน่าอยู่ น่าทำงาน
            นำพาไปสู่วัดส่งเสริมสุขภาพเพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิต และพัฒนาที่ยั่งยืนของครอบครัว ชุมชน และสังคมไทย
                    สุขภาพดี เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของคนไทยทุกคน เข้าถึงการมีสุขภาพดี ได้อย่างแท้จริงและเท่าเทียมกันโดยรัฐมีหน้าที่
            กำหนด กรอบนโยบาย ระบบ โครงสร้าง กลไก กติกา กำกับดูแล สร้างโอกาส และสนับสนุนให้ประชาชนได้รับสิทธิ์ของ
            สุขภาพดีอย่างแท้จริง ทั่วถึงและเสมอกัน

                    สุขภาพ หมายถึง สุขภาวะที่สมบูรณ์ และมีดุลภาพทั้งกาย ใจ สังคมและจิตวิญญาณ จึงไม่เป็นเพียง แต่การรักษาโรค
            แต่สุขภาพเป็นวิถีชีวิตของครอบครัว ชุมชน และสังคมที่พัฒนาอย่างสมดุล ระหว่างเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และ
            สิ่งแวดล้อม

                    การส่งเสริมสุขภาพ ยึดแนวคิดการดำเนินงาน ด้วยการส่งเสริมนโยบายสาธารณะ สุขภาพสร้างสรรค์สิ่งแวดล้อม
            ที่เอื้อต่อสุขภาพ เพิ่มความสามารถของชุมชน พัฒนาทักษะส่วนบุคคลและการปรับให้บริการสุขภาพ ที่เน้นการมีสุขภาพดี
            ไม่ใช่รักษาโรค

            ความหมาย
                    วัดส่งเสริมสุขภาพ หมายถึง วัดที่มีการบริหารจัดการวัดให้เอื้อโอกาสในการส่งเสริมสุขภาพ และพัฒนาอนามัย

            สิ่งแวดล้อมของประชาชน และชุมชน

            คุณสมบัติของวัดส่งเสริมสุขภาพ  “5 ร. ”
                    1. ร่วมพัฒนา ด้วยการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วม ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมรับผิดชอบทั้งฝ่ายบรรพชิตและฝ่าย
            ฆราวาส ส่งเสริมความเป็นกัลยาณมิตรต่อกัน
                    2. ร่มรื่น สะอาดด้วยอาคารสถานที่ บริเวณลานวัด ลานใจและสภาพแวดล้อมในวัดที่ถูกหลักสุขภาพอนามัย

                    3. ร่มเย็น สงบด้วยการเทศนา แสดงธรรม ปฏิบัติธรรมเผยแพร่ ธรรมประสานใจทั้งพระสงฆ์ และฆราวาส
                    4. ร่วมสร้างสุขภาพ ด้วยการดูแลสุขภาพของพระสงฆ์ สามเณร บุคลากรในวัดและประชาชน ด้วยกิจกรรมที่เอื้อ
            ต่อการดูแลส่งเสริมรักษาสุขภาพชุมชน
                    5. ร่วมจิต(วิญญาณ) ด้วยการดำรงรักษา สืบสานศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น รวมทั้งการอนุรักษ์

            ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม



            เกณฑ์การประเมินวัดส่งเสริมสุขภาพ แบ่งเป็น 3 ระดับ

                    1.  ระดับพื้นฐาน คือ มีผลรวมคะแนนการประเมินคุณภาพ ตั้งแต่ 70 - 79 คะแนน
                    2.  ระดับก้าวหน้า คือ มีผลรวมคะแนนการประเมินคุณภาพ ตั้งแต่ 80 - 89 คะแนน

                    3.  ระดับยั่งยืน คือ มีผลรวมคะแนนการประเมินคุณภาพ ตั้งแต่ 90 คะแนนขึ้นไป






                                                                                                        5 | ห น้ า
   16   17   18   19   20   21   22   23   24   25   26