Page 26 - คู่มือช่วยเหลือผู้หญิงตั้งครรภ์ไม่พร้อม
P. 26
• คัดกรองภายในโรงพยาบาล จากการพัฒนาการด�าเนินงาน พบว่าสามารถคัดกรอง
ผู้ประสบปัญหาท้องไม่พร้อมได้จากฝ่ายต่างๆ ภายในโรงพยาบาล จากการสังเกตและ
ประเมินโดยผู้ให้บริการ โดยใช้แบบคัดกรองผู้หญิงที่เข้าข่ายท้องไม่พร้อม (ดูตารางที่ 2)
เนื่องจากผู้ประสบปัญหามักไม่กล้าบอกปัญหาโดยตรงแก่เจ้าหน้าที่ แผนกต่างๆ
เหล่านี้ได้แก่ ฝากครรภ์ สูตินรีเวช จิตเวช สังคมสงเคราะห์ และคลินิกวัยรุ่น เป็นต้น
รวมทั้งแผนกประชาสัมพันธ์ ผู้ป่วยนอกต่างๆ และแผนกอุบัติเหตุฉุกเฉิน ที่เป็น
ด่านหน้าในการรับผู้ป่วยทั่วไปของโรงพยาบาลด้วย
ความไม่พร้อมของการตั้งครรภ์ อาจเกิดหลังจากที่ผู้ประสบปัญหาท้องไม่พร้อมได้ผ่าน
การคลอดบุตรแล้ว โดยอาจต้องการความช่วยเหลือในการเลี้ยงดูบุตรที่เกิดมา หรือมี
แนวโน้มในการทิ้งเด็กได้ รวมทั้ง มีผู้ใช้บริการจ�านวนหนึ่งที่มารับบริการติดเชื้อใน
กระแสเลือดที่หอผู้ป่วยนรีเวช อันเกิดจากการแท้งที่ไม่ปลอดภัยจากการยุติการตั้งครรภ์
ที่ไม่ส�าเร็จ โดยที่ตัวอ่อนในครรภ์ยังมีชีวิตรอดอยู่ หรือ หากพบว่าไม่รอด ผู้ป่วยแท้ง
ไม่ปลอดภัย ก็ยังต้องได้รับบริการปรึกษาและคุมก�าเนิดที่มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกัน
การท้องไม่พร้อมในอนาคต
• คัดกรองภายนอกโรงพยาบาล ผู้ประสบปัญหาท้องไม่พร้อม อาจได้รับการส่งต่อมาจาก
สายด่วน 1300 ศูนย์ช่วยเหลือสังคม หรือ จากหน่วยงานอื่นๆ ที่เป็นเครือข่ายการท�างาน
ร่วมกับทางโรงพยาบาล โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพต�าบล สถานศึกษาต่างๆ ได้แก่
โรงเรียนประถมขยายโอกาส โรงเรียนมัธยม โรงเรียนอาชีวศึกษา บ้านพักเด็กและ
ครอบครัวประจ�าจังหวัด ส�านักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด เป็นต้น
การเข้าสู่ระบบบริการ อาจมาจากสายด่วนสุขภาพที่มีอยู่ของโรงพยาบาลเอง หรือ จาก
สายการแพทย์ฉุกเฉินศูนย์นเรนทรที่มีการประสานงานให้ความช่วยเหลือตามนโยบาย
ของแต่ละโรงพยาบาล หรือจากการท�างานเชิงรุกในด้านสุขภาพต่างๆ ของฝ่ายเวชกรรม
สังคม เป็นต้น
คู่มือการช่วยเหลือผู้หญิงตั้งครรภ์ไม่พร้อมของศูนย์พึ่งได้ 23