Page 22 - คู่มือช่วยเหลือผู้หญิงตั้งครรภ์ไม่พร้อม
P. 22

ตั้งครรภ์ไม่พร้อม 2) การพัฒนาเพศศึกษาในระบบการศึกษาขั้นพื้นฐาน 3) แนวทางการปัองกัน

               และช่วยเหลือปัญหาทางเพศของเด็กและวัยรุ่น และ 4) แนวทางการจัดการศึกษาทางเลือกเพื่อ
               เด็กก้าวพลาด ทั้งนี้เพื่อเป็นกรอบแนวทางให้สถานศึกษาในสังกัดส�านักงานคณะกรรมการศึกษา
               ขั้นพื้นฐาน ด�าเนินการพัฒนาปรับปรุงการจัดการเรียนรู้เพศศึกษาและพัฒนาคุณภาพระบบการ

               ดูแลช่วยเหลือและการคุ้มครองนักเรียนให้มีความเข้มแข็งเหมาะสม  และเน้นย�้าให้สถานศึกษา
               บูรณาการภาระงานที่เกี่ยวข้องกับระบบดูแลช่วยเหลือและคุ้มครองเด็กนักเรียนต่อไป



                    3) นโยบาย OSCC ศูนย์ช่วยเหลือสังคม

                    ในปี  2556  ประเทศไทยได้มีนโยบายการจัดระบบบริการแบบบูรณาการเพื่อช่วยเหลือ
               กลุ่มเป้าหมายผู้ประสบปัญหาทางสังคม ภายใต้ชื่อ OSCC ศูนย์ช่วยเหลือสังคม โดยมีประเด็น

               ปัญหาที่ ดูแล 4 ประเด็น ได้แก่ 1) การกระท�าความรุนแรงต่อเด็ก สตรี (รวมถึงผู้สูงอายุ และ
               ผู้ด้อยโอกาส) 2) ปัญหาท้องไม่พร้อม/คุณแม่วัยใส 3) การใช้แรงงานเด็ก และ 4) การค้ามนุษย์
               และได้ก�าหนดหลักเกณฑ์การให้บริการของ OSCC ศูนย์ช่วยเหลือสังคม ว่าจะต้องมีจุดรับแจ้งเหตุ
               ที่เข้าถึงได้ง่าย  มีระบบการประสานแจ้งเหตุ  การตรวจสอบและคัดแยกระบุปัญหา  การส่งต่อ

               การติดตามประเมินผล และการเฝ้าระวังไม่ให้เกิดเหตุต่อไป  มีกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศ
               และการสื่อสาร พัฒนาระบบสารสนเทศและข้อมูลในขั้นตอนการให้บริการต่างๆ และกระทรวง
               การพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เป็นหน่วยงานหลักในการบูรณาการกับหน่วยงานต่างๆ
               ทั้งนี้  ตามนโยบาย  OSCC  ศูนย์ช่วยเหลือสังคม  กระทรวงสาธารณสุขเป็นหน่วยงานหลัก

               รับผิดชอบต่อปัญหาท้องไม่พร้อม
                    ช่องทางการรับแจ้งเหตุ 4 ช่องทางได้แก่ การเดินเข้ามาขอรับบริการโดยตรง การใช้โทรศัพท์

               ผ่าน call center หมายเลข 1300 การขอรับบริการผ่านทางเว็บไซต์ ของศูนย์ช่วยเหลือสังคม
               (www.osccthailand.go.th)  และการขอรับบริการผ่านทางระบบโทรศัพท์มือถือ  (Mobile
               Application)  ซึ่งจะรับเรื่องและลงบันทึกข้อมูลพื้นฐาน  ลงใน  OSCC  Application  หลังจาก
               คัดกรองปัญหาและพบว่าเป็นการตั้งครรภ์ไม่พร้อม จะประสานส่งต่อไปยังศูนย์พึ่งได้ของโรงพยาบาล
               เพื่อซักประวัติ ส่งประเมินอายุครรภ์ และให้การปรึกษาทางเลือก โดยการตัดสินใจของผู้มารับ

               บริการจะมี 2 กรณี  คือ 1) ตั้งครรภ์ต่อ และ 2)  ยุติการตั้งครรภ์ โดยศูนย์พึ่งได้จะมีบทบาท
               ท�างานในลักษณะสหวิชาชีพ เพื่อประสานกับหน่วยงานต่างๆ ด�าเนินการช่วยเหลือตามทางเลือก
               ที่สอดคล้องกับสภาพปัญหาต่อไป ดังนั้น จะเห็นได้ว่า ศูนย์พึ่งได้มีบทบาทโดยตรงในการด�าเนินงาน

               ตามแนวนโยบายนี้ค่อนข้างชัดเจน
                    ในภาพรวมของนโยบายของประเทศไทย  แนวทางการป้องกันดูแลท้องไม่พร้อม  สามารถ
               แบ่งออกเป็น  3  ระยะหลักๆ  โดยในคู่มือช่วยเหลือผู้หญิงตั้งครรภ์ไม่พร้อมของศูนย์พึ่งได้เล่มนี้

               จะเน้นแนวทางการดูและในระยะที่ 2 และ 3






                                                          คู่มือการช่วยเหลือผู้หญิงตั้งครรภ์ไม่พร้อมของศูนย์พึ่งได้  19
   17   18   19   20   21   22   23   24   25   26   27