Page 30 - รายงานผลการปฏิบัติราชการตามคำรับรองการปฏิบัติราชการ รอบ 6 เดือน
P. 30
รายงานผลการปฏิบัติราชการตามคำรับรองการปฏิบัติราชการ พ.ศ. 2565 รอบ 6 เดือน
ของกองบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข 17
รอบ 6 เดือน
รายงานผลการปฏิบัติราชการตามคำรับรองการปฏิบัติราชการ (รายตัวชี้วัด)
❑ รอบ 12 เดือน
ตัวชี้วัดที่ 1.3.1 ระดับความสำเร็จในการพัฒนาโรงพยาบาลให้มีบริการรับยาที่ร้านยา โดยใบสั่งยาอิเล็กทรอนิกส์
(e-prescription)
ผู้กำกับดูแลตัวชี้วัด : ผู้จัดเก็บข้อมูล :
1. นายแพทย์กรกฤช ลิ้มสมมุติ 1. นายจารุวัฒน์ บุษราคัมรุหะ หัวหน้ากลุ่มงานพัฒนาระบบสนับสนุนบริการ
ผู้อำนวยการกองบริหารการสาธารณสุข 2. นางสาวไพรำ บุญญะฤทธิ์ เภสัชกรชำนาญการพิเศษ
2. นางสาววรนัดดา ศรีสุพรรณ
รองผู้อำนวยการกองบริหารการสาธารณสุข
โทรศัพท์: 0 2590 1628 โทรศัพท์มือถือ : นางสาวไพรำ บุญญะฤทธิ์ 08 9525 0075
คำอธิบาย :
บริการรับยาที่ร้านยา หมายถึง การจัดบริการทางเลือกให้ผู้ป่วยของโรงพยาบาลสามารถรับยา
ตามใบสั่งแพทย์ได้ที่ร้านยาใกล้บ้าน
ใบสั่งยาอิเล็กทรอนิกส์ (e-prescription) หมายถึง ใบสั่งยาที่มีวิธีการส่งข้อมูลในรูปแบบข้อมูล
อิเล็กทรอนิกส์เกี่ยวกับยาและข้อมูลในใบสั่งยาระหว่างแพทย์ผู้สั่งใช้ยาและเภสัชกรผู้จ่ายยา
โรงพยาบาลที่มีบริการรับยาที่ร้านยา โดยใบสั่งยาอิเล็กทรอนิกส์ (e - prescription) หมายถึง
โรงพยาบาลที่มีการพัฒนาระบบเชื่อมโยงใบสั่งยาอิเล็กทรอนิกส์ (e-prescription) ประกอบด้วยข้อมูลยาและข้อมูล
ที่เกี่ยวข้องในใบสั่งยา อาจอยู่ในรูปแบบใบสั่งยาใหม่ หรือใบสั่งยาแบบเติมยา (refill) รวมทั้งสามารถเชื่อมโยง
กับฐานข้อมูลกลาง (สปสช.) ได้ (อาจมีการพัฒนาต่อยอดให้มีการบันทึกบริการทางเภสัชกรรมในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์
(e - pharmacy service) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเชื่อมโยงการดูแลผู้ป่วยอย่างต่อเนื่องระหว่างร้านยาซึ่งเป็นหน่วยบริการ
ปฐมภูมิ และโรงพยาบาลแม่ข่าย
ระดับความสำเร็จในการพัฒนาโรงพยาบาลให้มีบริการรับยาที่ร้านยา โดยใบสั่งยาอิเล็กทรอนิกส์
(e - prescription) หมายถึง กระบวนการพัฒนาให้โรงพยาบาลที่มีบริการรับยาที่ร้านยาสามารถส่งข้อมูลใบสั่งยา
อิเล็กทรอนิกส์เชื่อมโยงจากโรงพยาบาลไปสู่ร้านยาในโครงการได้
ข้อมูลผลการดำเนินงาน :
ระดับ การดำเนินงานในแต่ละระดับ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565
1 ประชุมคณะทำงานฯ/ประชุมหารือ ขับเคลื่อนการดำเนินงานเพื่อพัฒนาระบบรับยา ที่ร้านยา
2 กำหนดชุดข้อมูลพื้นฐาน (minimum dataset) ของผู้ป่วยสำหรับแลกเปลี่ยนระหว่าง
โรงพยาบาล และร้านยา และจัดทำแนวทางการพัฒนา e - prescription (ผ่านระบบข้อมูล
กลางการจ่ายยาตามใบสั่งแพทย์ของ สปสช. หรือระบบข้อมูลภายในเครือข่ายบริการ
ของโรงพยาบาลแม่ข่าย)
3 ชี้แจงแนวทางการพัฒนา e - prescription ให้กับโรงพยาบาลที่มีระบบรับยาที่ร้านยา