Page 29 - งานนำเสนอ PowerPoint
P. 29

บทที่            บทที่          บทที่         บทที่          บทที่
                       1               2              3              4             5








      แนวทางการส่งต่อผู้ป่วยที่มีอาการทางจิตจากการใช้ยา/สารเสพติดกรณีฉุกเฉิน ส านักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข


             กระบวนการส่งต่อเริ่มตั้งแต่การแจ้งข้อมูล ญาติ หรือคนใกล้ชิด ไปยังหน่วยบริการในชุมชน เช่น หน่วยชุมชนจัดการตนเอง

      โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพต าบล แกนน าชุมชน องค์การบริหารส่วนต าบล หมายเลขฉุกเฉิน 191/1669 กู้ชีพกู้ภัยต่าง ๆ หรือหน่วยงาน
      อื่นในชุมชน เพื่อเข้าสู่กระบวนการช่วยเหลือเบื้องต้น และน าส่งผู้ป่วยเข้าสู่ระบบบริการที่ห้องฉุกเฉิน ประเมินแยกโรคและเตรียมการ
      ส่งต่อตามแนวทาง ขั้นตอนนี้ มีรูปแบบ การประเมินผู้ป่วยที่มีภาวะฉุกเฉิน (Triage)  5 ระดับ และการประเมินพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรง

      (OAS: Overt  Aggression  Scale  for  objective  rating  of verbal and  physical  aggression) 3  ระดับ เพื่อเป็นเครื่องมือ
      ช่วยประเมินพฤติกรรมความรุนแรงของผู้ป่วย เรื่องส าคัญส าหรับแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไปและบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับในการส่งต่อผู้ป่วย
      คือ การคัดแยกภาวะทางกาย หลังจากได้รับการคัดกรองโรคทางกายและประเมินความเสี่ยงโดยใช้ Triage/แบบประเมินพฤติกรรม
      ก้าวร้าวรุนแรง (OAS)
             กรณีผู้ติดยาเสพติดที่เจ้าพนักงาน ป.ป.ส. หรือพนักงานฝ่ายปกครองหรือต ารวจตรวจพบหรือสงสัยว่าเสพยาเสพติด วัตถุออก

      ฤทธิ์ต่อจิตและประสาท หรือสารระเหย ที่มีพฤติกรรมที่อาจก่อให้เกิดอันตรายแก่ผู้อื่นหรือสังคมที่เกิดจากโรคทางจิตและประสาท หรือ
      อาการที่เกิดจากฤทธิ์ของยาเสพติดที่ใช้ จะประสานแจ้งศูนย์คัดกรองระดับต าบล หรือหากเป็นกรณีฉุกเฉิน เร่งด่วน จะส่งต่อไปที่
      สถานพยาบาลยาเสพติด (รพช.รพท.รพศ.) ที่ใกล้ที่สุด เพื่อด าเนินการคัดกรอง ประเมิน ช่วยเหลือ และ/หรือ ส่งต่อตามแนวทางเดียวกัน

             หากพบว่าผู้ป่วยมีภาวะทางกาย ซึ่งมีความจ าเป็นต้องรับการส่งต่อมาที่โรงพยาบาลสังกัดส านักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขที่
      มีศักยภาพสูงขึ้น เช่น โรงพยาบาลชุมชนจ าเป็นต้องส่งต่อมาที่โรงพยาบาลทั่วไป หรือโรงพยาบาลประจ าจังหวัด กรณีผู้ป่วยไม่มีภาวะ
      ทางกายผิดปกติหรือมีแต่อยู่ในระดับที่ควบคุมอาการได้ อาจมีการประเมินความผิดปกติที่เกี่ยวข้อง เช่น การประเมินความผิดปกติทาง
      จิตเวช อาการเมาสารหรือภาวะเป็นพิษจากยา หรือสารเสพติดหากผู้ป่วยมีความผิดปกติทางจิต ส่งต่อไปยังโรงพยาบาลที่มีความพร้อม
      ในการดูแลสังกัดส านักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขที่สามารถรับผู้ป่วย (Admit) ในระยะสั้น

             กรณีที่จ าเป็นต้องส่งต่อผู้ป่วยไปยังโรงพยาบาลสังกัดกรมสุขภาพจิต โดยพิจารณาเกณฑ์ในการส่งต่อที่มีความจ าเพาะในแต่ละ
      เขตสุขภาพ หากเข้าเกณฑ์การส่งต่อสามารถประสานส่งข้อมูลที่จ าเป็น เช่น ผลการคัดกรองภาวะทางกายไปยังศูนย์ส่งต่อของ
      โรงพยาบาลสังกัดกรมสุขภาพจิตที่เป็นโรงพยาบาลปลายทาง แต่ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการเมาสารหรือภาวะเป็นพิษจากยาหรือสารเสพติด

      อาจส่งไปที่โรงพยาบาลสังกัดส านักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข เช่นโรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป






























                                                   แนวทางการด าเนินงานการบ าบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด
                                                   ตามประมวลกฎหมายยาเสพติด                             24
   24   25   26   27   28   29   30   31   32   33   34