Page 30 - งานนำเสนอ PowerPoint
P. 30

บทที่            บทที่          บทที่         บทที่          บทที่
                       1               2              3              4             5






             ผู้ป่วยที่พ้นจากภาวะวิกฤตฉุกเฉินด้านยาเสพติด (ภาวะทางกายและทางจิต) รวมทั้งพ้นจากภาวะ การเจ็บป่วยทางกายที่ต้องรับ
      การรักษาเฉพาะเช่น การผ่าตัด การให้เคมีบ าบัด หรืออยู่ระหว่างการติดตามเฝ้าระวังการเปลี่ยนแปลงใกล้ชิด เช่น การบาดเจ็บของศีรษะ
      (Head  injury) ความดันโลหิตสูง โรคเบาหวานที่อยู่ระหว่างการปรับระดับยา ภาวะซีดหรือเกล็ดเลือดต่ าในระดับที่ต้องให้เลือด หรือ
      เกล็ดเลือด แต่พบว่ามีประวัติการเสพติดเรื้อรัง มีปัญหายุ่งยากซับซ้อน เคยรักษาหรือพยายามเลิกยาเสพติดแล้วไม่ประสบผลส าเร็จ

      มีความเสี่ยงสูงต่อการกระท าความผิดหรือเกิดอาการรุนแรงซ้ า ไม่สามารถอยู่ในชุมชนได้ และแพทย์พิจารณาว่าควรส่งต่อเพื่อรับการบ าบัด
      ฟื้นฟูระยะยาวแบบผู้ป่วยใน (Residential rehabilitation  program) ให้ส่งต่อไปโรงพยาบาล/สถาบันเฉพาะทางสังกัดกรมการแพทย์
      ได้แก่สถาบันบ าบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี และโรงพยาบาลธัญญารักษ์ภูมิภาคอีก 6 แห่ง ในจังหวัด
      แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ ขอนแก่น อุดรธานี สงขลา และปัตตานี ตามแนวทางการรับและส่งต่อผู้ป่วยยาเสพติดของกระทรวงสาธารณสุข
      หรือข้อตกลงร่วมกันในพื้นที่เขตสุขภาพ
             หากผู้ป่วยได้รับการบ าบัดรักษาจนพ้นจากระยะการบ าบัดด้วยยาจากสถานพยาบาลของส านักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
      (รพช. รพท. รพศ.) และมีความเสี่ยงสูงต่อการกระท าความผิดหรือเกิดอาการรุนแรงซ้ าไม่สามารถอยู่ในชุมชนได้ หรือให้การฟื้นฟู
      แบบผู้ป่วยนอกแล้วไม่ประสบผลส าเร็จ และแพทย์พิจารณาว่าควรส่งต่อเพื่อรับการบ าบัดฟื้นฟูระยะยาวแบบผู้ป่วยใน (Residential
      rehabilitation  program) อาจพิจารณาส่งผู้ป่วยไปยังสถานฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด หน่วยงานนอกสังกัดกระทรวงสาธารณสุข

      ได้แก่ กระทรวงมหาดไทย กองทัพบก กองทัพเรือ กองทัพอากาศ ส านักงานต ารวจแห่งชาติ หรือสถานฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด
      ในชุมชน เช่น วัด มัสยิด หรือสถานฟื้นฟูเอกชนต่าง ๆ ทั้งนี้ ควรเป็นการบูรณาการ ประสานความร่วมมือภายในจังหวัดและเขตสุขภาพ
             ก่อนการน าส่งผู้ป่วยควรค านึงถึงอันตรายและความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับผู้ป่วย ญาติ และบุคคลากรในระหว่างการส่งต่อ
      และเมื่อผู้ป่วยได้รับการบ าบัดฟื้นฟูตามกระบวนการแล้ว จะมีการวางแผนจ าหน่าย (Discharge) หรือส่งผู้ป่วยกลับ (Refer back) โดยมี
      การติดต่อประสานงานจากโรงพยาบาลปลายทางกลับสู่โรงพยาบาลต้นทาง และตรวจสอบและเตรียมความพร้อมก่อนกลับ เพื่อการดูแล
      ต่อเนื่อง เช่น ครอบครัวมีความพร้อมในการดูแลผู้ป่วย การสนับสนุน/ช่วยเหลือของชุมชน ภาคประชาสังคม หรือองค์กรปกครอง
      ส่วนท้องถิ่น เป็นต้น










































     25     แนวทางการด าเนินงานการบ าบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด
            ตามประมวลกฎหมายยาเสพติด
   25   26   27   28   29   30   31   32   33   34   35