Page 32 - รพ.บุษราคัม
P. 32
เรื่องเล่า...โรงพยาบาลบุษราคัม
“สาเหตุที่เราไม่สามารถทำเหมือนกับโรงพยาบาลอื่น ๆ ได้ก็เพราะว่ามันเป็น
การยุ่งยากมากเลย หากพยาบาลของเราต้องทำงานเอกสารด้วย แล้วก็ต้องใส่ชุด PPE เข้าไป
ดูแลผู้ป่วยเองด้วย อย่าลืมว่าชุด PPE ชุดหนึ่งใช้เวลาใส่อย่างเดียวก็กินเวลาอย่างน้อยเป็น
10 นาทีแล้ว ไหนกว่าจะเข้าไปไล่เจาะเลือด วัดความดันผู้ป่วยอีกเป็นพันคน แล้วบางคนมี
รายละเอียดในการรักษามากกว่านั้น ชุดก็หนัก ร้อนก็ร้อน พยาบาลบางคนเข้าไปเป็นชั่วโมง
ยังไม่ได้ออกมา พอออกมาก็ต้องไปอาบน้ำทำความสะอาดตัวเพื่อป้องกันการติดเชื้อแล้ว
ก็แพร่กระจายไปสู่คนอื่นอีก เราจึงต้องแบ่งหน้าที่กัน ทีมแคร์ริ่งจัดการเรื่องเอกสารประเมิน
อาการผู้ป่วยไป ขณะที่ทีมเผชิญก็เข้าไปหาผู้ป่วยแล้วก็ให้การรักษา มันเป็นระบบการทำงานที่
เกิดประสิทธิภาพมากกว่า”
“นอกจากทีมดูแลรักษา (Caring) และทีมเผชิญ (Treatment) แล้วเราก็ยังมี
ทีมแรกรับ (Loading) ทีม CCTV หรือทีมที่มีหน้าที่คอยดูกล้องวงจรปิดโดยเฉพาะ
ทีมกู้ชีพ (MERT) ทีม Refer ก่อนที่ตอนหลังจะมีทีมวิกฤตและกึ่งวิกฤต สำหรับผู้ป่วยไอซียู
หรือผู้ป่วยที่มีอาการสีแดงเพิ่มเข้ามาอีกในภายหลัง แต่ละทีมก็จะมีหน้าที่ของตัวเองอย่าง
ชัดเจนแตกต่างกันออกไป ซึ่งเจ้าหน้าที่หรือบุคลากรทางการแพทย์ที่มาจากโรงพยาบาลต่าง ๆ
จากทั่วประเทศก็จะต้องมาทำงานอยู่ในทีมต่าง ๆ ที่กล่าวมา เราก็พยายามจัดคนให้ตรงกับ
ความสามารถที่สุด อย่างเช่น เขาเป็นพยาบาลฉุกเฉินก็จะอยู่ในทีมกู้ชีพ ซึ่งต้องทำงานใน
สถานการณ์เร่งด่วน หรือบางคนเขาเป็นแพทย์ชำนาญการในด้านเวชบำบัดวิกฤตก็จะอยู่ใน
ทีมวิกฤตและกึ่งวิกฤตดูแลผู้ป่วยไอซียู เพราะทีมพวกนี้ต้องใช้เจ้าหน้าที่เฉพาะทาง แต่อย่าง
บางทีมก็อาจเป็นงานที่พวกเขาไม่เคยทำเป็นประจำ แต่ก็ต้องใช้ทักษะในทางการแพทย์ที่มีอยู่
เช่น ทีม CCTV หรือทีมแรกรับ (Loading) ถ้าไม่มีความสามารถทางการแพทย์เลย
เวลาดูกล้องเขาก็จะบอกไม่ได้ว่าผู้ป่วยมีอาการเป็นอย่างไร หรืออย่างการซักประวัติผู้ป่วย
โรงพยาบาลบุษราคัม กระทรวงสาธารณสุข 23